land, productive |
ที่ดินที่ใช้เพาะปลูก : พื้นที่ในเขตชลประทานที่สามารถใช้เพาะปลูกได้มากที่สุด ซึ่งจะมีประมาณ 94% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเรียกว่า non-productive land ซึ่งจะเป็นถนน คันคูน้ำ บ้าน คอกสัตว์ ฯลฯ |
laterite (1) |
ศิลาแลง : เป็นดินชนิดหนึ่งมีสนิมเหล็กและมีรูพรุนทั้งตัว มักพบเป็นพืดใหญ่อยู่ใต้หน้าดินธรรมดา ศิลาแลงนี้เมื่อถูกธรรมชาติชะล้างเอาดินธรรมดาที่ปกคลุมอยู่ออกไปจนโผล่ขึ้นมาบนผิวดินและเกิดเปื่อยยุ่ยกระจายตัวออกไปกลายเป็น "ดินลูกรัง" (lateritic soil) ที่นิยมใช้ทำถนน |
maintenance (1) |
การบำรุงรักษา : กิจกรรมใด ๆ ที่ดำเนินการเพื่อรักษาระบบชลประทาน เช่น คลองส่งน้ำคลองระบายน้ำ อาคารชลประทานต่าง ๆ รวมทั้งถนน ทางลำเลียงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา |
mean annual rainfall |
ฝนเฉลี่ยรายปี : ค่าเฉลี่ยของฝนทั้งปีที่วัดได้ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งนานพอที่จะนำมาหาค่าเฉลี่ยได้อย่างถูกต้อง (15-30 ปี) |
modernization |
การปรับปรุงโครงการให้ทันสมัย : ขบวนการซึ่งใช้ปรับปรุงโครงการชลประทานเดิมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น หรือเพิ่มพูนสมรรถนะมากขึ้นจากมาตรฐานเดิม ทั้งในด้านวิศวกรรม สังคม และเศรษฐกิจ |
nappe |
น้ำที่ไหลล้นฝายโดยพุ่งเป็นแผ่นน้ำที่มีผิวหน้าทั้งด้านบนและด้านล่าง |
night-storage irrigation system |
ระบบสำรองน้ำในเวลากลางคืน : ระบบชลประทานขนาดเล็ก ที่ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกเฉพาะช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนเวลากลางคืนจะปิดท่อส่งน้ำเข้านาทั้งหมดเพื่อรับน้ำเข้าคลองส่งน้ำ สำรองน้ำไว้ในบ่อขนาดใหญ่ข้างคลอง และ/หรือแต่ละช่วงคลอง โดยมีอาคารบังคับน้ำควบคุมเก็บกักน้ำไว้จนได้ปริมาณน้ำตามความต้องการของพื้นที่เพาะปลูกในเวลาเช้า และจะเริ่มส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกตามกระบวนการดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง |
ponding method |
การตรวจวัดการรั่วซึมของน้ำในคลองชลประทานโดยการปิดกั้นคลองด้วยทำนบทั้งสองข้าง ทำให้เป็นบ่ออยู่ตรงกลาง |
porosity (1) |
ความพรุน : ค่าอัตราส่วนร้อยละระหว่างปริมาตรของช่องว่างระหว่างเม็ดดินต่อปริมาตรของก้อนดินทั้งหมด |
potential evapotranspiration |
ปริมาณการใช้น้ำสูงสุดของพืช : ปริมาณการใช้น้ำของพืชรวมทั้งการคายน้ำของพืช การระเหยของน้ำในแปลงเพาะปลูก คำนวณได้จาการใช้สูตรต่างๆ มีหน่วยเป็น มม./หนึ่งหน่วยทระยะเวลา |