การสร้างกราฟิกคานตอนที่ 2 อ่าน 3,052

การสร้างกราฟิกคานตอนที่ 2

สรกานต์ ศรีตองอ่อน 

ความนำ

   ตอนนี้ เราจะเขียนกราฟิก FBDของคานให้ครอบคลุมทั้งในกรณีที่มีและไม่มีช่วงปลายยื่นแต่ที่รองรับจะถือว่าเป็นแบบยึดหมุน(pin) ทั้งหมดก่อนยังไม่รวมกรณีที่เป็นแบบยึดแน่น(fixed)

   ถึงตอนนี้ คงต้องบอกก่อนว่าคำสั่งพื้นฐานในแต่ละภาษานั้นมีอยู่แต่แนวคิดในการสร้างงานนั้นอาจแตกต่างกันได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมนำเสนอขอให้ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ได้อาจมีแนวทางอื่นที่ดีกว่านะครับ

 

แนวคิด

  • ชนิดของคานมีผลต่อการกำหนดค่าเริ่มต้นและค่าสุดท้ายของการวนลูปเพื่อแสดงกราฟิก โดยการกำหนดโครงสร้างข้อมูลควรกำหนดเป็น Array ในที่นี้ผมใช้ปลายยื่นซ้ายคือลำดับที่ 0 ปลายยื่นขวาคือลำดับที่ N+1 ดังรูป

         

  • ชนิดของคานมีผลต่อการกำหนดตำแหน่งที่รองรับ

  • การแสดงกราฟิกจึงต้องกำหนดตัวแปรเพื่อบอกถึงชนิดของคาน

            

การโปรแกรม

   โปรแกรมตัวอย่างจะใช้การกำหนดจำนวนช่วงคานเท่ากับ3กำหนดค่าความยาวและชนิดของคานเป็นค่าทดสอบในตัวโปรแกรมโดยกำหนดมาให้ทั้ง 4รูปแบบคือ คานไม่มีช่วงยื่น,ปลายยื่นซ้าย, ปลายยื่นขวาและปลายยื่นทั้งสองข้างลองสลับรูปแบบแล้วสังเกตการแสดงผลนะครับ(ให้กำหนดการแสดงผลชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดที่เหลือก็ใส่สัญลักษณ์ \'(comment)ไว้หน้าคำสั่งเป็นการไม่ให้โปรแกรมรันคำสั่งบรรทัดนั้น)

1.  จาก SubPlotBeam เดิมแก้ไขเพิ่มเติมชุดคำสั่งดังนี้

 

2. เมื่อรันโปรแกรมจะแสดงผลดังรูป (สังเกตว่าเริ่มต้นผมกำหนดBeamType = 4 หมายความว่าคานปลายยื่นทั้งสองข้างขอให้ลองกำหนด BeamTypeแบบอื่นดูนะครับ)

 

หมายเหตุ

-คำสั่งตอนนี้ยังไม่ได้พิจารณากรณีความยาวรวมของคานเกินกรอบจอภาพซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อไป

 

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)