การสร้างกราฟิกคาน ตอนที่ 1 สรกานต์ ศรีตองอ่อน ความนำ หลังจากที่เรากำหนดสเกลของโปรแกรมให้เป็นพิกัดโลกแล้ว ต่อไปการสร้างกราฟิกคาน ซึ่งในที่นี้หมายถึง FBD ของคาน ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่จะต้องคิดละเอียดนิดนึง เช่น มีคานยื่นหรือไม่ เป็นต้น จึงคงต้องนำเสนอหลายตอนหน่อย ซึ่งบทความนี้มีลักษณะเป็นชุดต่อเนื่องกันไป คงจะต้องเขียนตามตั้งแต่ต้นนะครับ แนวคิด การแสดง FBD ของคาน ใช้เป็นรูปสี่เหลี่ยมต่อเนื่องกันไปเป็นช่วงๆ โดยใช้คำสั่ง Line(พิกัดมุมบนซ้าย) - (พิกัดมุมล่างขวา), QBColor(รหัสสี), B ขีดเส้นบอกระยะแนวนอน โดยวัดจากปลายคานด้านซ้ายไปถึงปลายคานด้านขวา ใช้คำสั่ง Line(X,Y) - (X+ความยาวรวมของแต่ละช่วงคาน,Y) ขีดเส้นบอกระยะแนวดิ่ง โดยจำนวนเส้นเท่ากับ จำนวนช่วงคาน (N)+1 ใช้คำสั่ง Line(X,Y+0.5) - (X,Y-0.5) โดยที่ 0.5 หมายถึง ลากเส้นจาก Y ขึ้นและลงอีกแนวละ 0.5 m ตำแหน่งในการบอกค่าความยาวแต่ละช่วงคาน จะเซ็ตให้อยู่กึ่งกลางของแต่ละช่วงเสมอ (ดูรายละเอียดจากโปรแกรม) การโปรแกรม จากโปรแกรมเดิม สร้าง Sub เพิ่ม ชื่อว่า PlotBeam แล้วพิมพ์คำสั่งดังรูป ใน Sub นี้ สมมุติว่าพล็อต 3 ช่วงคาน มีความยาวตามในโปรแกรม ซึ่งน่าจะลองเปลี่ยนค่าแล้วสังเกตการแสดงผลดูนะครับ ส่วนคำสั่งอื่นๆ เป็นคำสั่งทั่วไปนำไปใช้ได้เลย การเรียกใช้ Sub PlotBeam เรียกที่เหตุการณ์ Form_Activate โดยพิมพ์คำสั่งต่อท้ายดังรูป เมื่อรันโปรแกรม จะแสดงผลดังรูป หมายเหตุ - คำสั่งตอนนี้ยังไม่ได้พิจารณากรณีความยาวรวมของคานเกินกรอบจอภาพ - กรณีแสดงที่รองรับ (support) ประกอบในกราฟิกคาน จะพบความซับซ้อนขึ้นในแง่ว่าเป็นคานยื่นหรือไม่ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อไป |