กว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ในความเห็นของหลายๆท่าน อ่านดูซิครับ อ่าน 7,387

กว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ (นำมาจากหลายๆที่ครับ เพื่อให้ดูความเห็นแต่ละท่าน)

Warning: ข้อความต่อไปที่ท่านได้อ่าน อาจให้ความรู้สึกในด้านลบ ถ้าท่านไม่ต้องการอ่าน กรุณากด Back หรือ ปิด หน้าต่าง browser ของท่าน

ในระยะนี้ผมได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับหลักสูตรการอบรม Computer Programmer ที่ ทางรัฐบาลร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ เป็นผู้จัด ในส่วนตัวผมมีมุมมองบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ในฐานะที่เป็น programmer คนหนึ่ง

เท่าที่ผมทราบ หลักสูตรนี้ เพื่อการอบรมโปรแกรมเมอร์ ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ประกอบด้วยการอบรมอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือน เสียค่าใช้จ่าย ประมาณ 25,000 บาท และมีบางแห่งที่เสียค่าใช้จ่ายถึง 50,000 บาท ถ้าเราคิดในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่มากพอสมควร ผมสังเกตเห็นหลายท่านที่มีความสนใจ post กระทู้ ใน www.pantip.com ขอความเห็นว่า จะไปเรียนดีหรือไม่ ?

ผมอยากให้คุณลองคิดดูว่า โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งๆ (ผมหมายถึง โปรแกรมเมอร์ จริงๆ ที่เขียนโปรแกรมแบบใช้งานได้จริงๆ ไม่ใช่ประเภท เปิด VB แล้วแปะ components ลูกเดียว ถ้าไม่มี components ก็เขียนโปรแกรมไม่ได้) มันเป็นกันได้ง่ายขนาดนี้เชียวหรือ ? เท่าที่ผมเห็น ทั้งคนใกล้ตัว และ คนไกลตัว แทบทุกคน กว่าที่จะเขียนโปรแกรมได้จริงๆ แล้วใช้เวลาเป็นปี หลายปี บางทีอาจถึง 10 ปี ด้วยซ้ำ เพราะว่าการเขียนโปรแกรม มันไม่ใช่แค่เป็น ศาสตร์ ที่นำมาสอนกันตามแบบแผนได้ แต่มันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และ เปลี่ยนเร็วมาก และ ที่สำคัญที่สุดคือ การเขียนโปรแกรม มันเป็นงานศิลปะ ที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน หาประสบการณ์ไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ให้เข้ากับเทคโนโลยี แล้ว เวลาแค่ 6 เดือน ซ้ำยังไม่ใช่ 6 เดือนเต็มๆ แต่เป็น แค่ประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ แค่นี้ จะทำให้คนๆ หนึ่งเขียนโปรแกรมเป็นได้หรือ

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า สติปัญญามนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ต่างกันมาก ดังนั้น ถ้าคนๆ หนึ่งทำได้ (ผมหมายถึง เป็นโปรแกรมเมอร์ได้) คนอื่นๆ ก็น่าจะทำได้ไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ทำให้ความสามารถ ของคนแต่ละคนต่างกัน ผมคิดว่า มันน่าจะเป็น ความสนใจ ความตั้งใจจริง ต่างหาก ที่เป็นจุดสำคัญ

ในกรณีที่คุณต้องการไปเรียน courses เหล่านี้จริงๆ ผมคิดเอาว่า คุณคงอยากเป็นโปรแกรมเมอร์จริงๆ ดังนั้นผมอยากให้คุณลองคิดเหตุผลแบบโปรแกรมเมอร์ดูสักนิดนึงก่อน (คิดแบบ if then else) ดังนี้

1. คุณมีความตั้งใจจริงหรือไม่ ?

ถ้าใช่ ไม่ว่าจะไปเรียนหรือไม่ คุณก็สามารถเป็นโปรแกรมเมอร์ได้

ถ้าไม่ใช่ ไม่ว่าคุณจะไปเรียน หรือ ไม่เรียน คุณก็เป็นโปรแกรมเมอร์ไม่ได้หรอกครับ อย่าไปเสียเงินฟรีๆ เลยครับ

2. ถ้าคุณตั้งใจจริงแล้ว เงิน 25,000 ถึง 50,000 บาทนี้ให้อะไรคุณได้มากกว่าการไปเรียน courses เหล่านี้หรือไม่

คุณลองคิดง่ายๆ แค่ ถ้าคุณไม่มีเครื่องที่จะใช้ศึกษา ถึงคุณจะตั้งใจจริงคุณก็คงทำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น เงินจำนวนนี้สามารถทำให้คุณมีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองได้ เพื่อที่คุณจะได้ใช้มันในการเรียนรู้ของคุณ

หรือถ้าคุณมีคอมพิวเตอร์แล้ว เงินเป็นหมื่นๆ นี้ คุณสามารถนำไปซื้อหนังสือดีๆ ได้เป็นสิบๆ เล่ม ถ้าคุณเลือกหนังสือดีๆ แล้ว มันจะเป็นแหล่งความรู้ที่มีค่ามหาศาลแน่นอน และ คุณยังสามารถใช้เงินจำนวนนี้ เป็นค่าใช้จ่ายในการ Online บน Internet ของคุณได้อีก

3. ทีนี้ถ้าคุณคิดว่า การอ่าน Text book สักเล่ม เป็นเรื่องที่คุณไม่อยากทำอย่างยิ่ง

เท่าที่ผมเห็น หนังสือภาษาไทยในบ้านเรา จะมีเฉพาะเรื่องพื้นฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เท่านั้น ที่เป็นการประยุกต์ใช้ขั้นสูง จะหาได้น้อยมาก เท่าที่ผมเคยประสบมา เมื่อเราอ่านหนังสือพื้นฐานไปจนเข้าใจดีแล้ว (อ่านหนังสือพื้นฐานจบหลายเล่ม จนไม่รู้จะอ่านอะไรแล้ว) แต่เราก็ยังไม่สามารถเขียนโปรแกรมอย่างที่ต้องการได้สักที ผมเข้าใจเอาว่า เราขาดหนังสือที่ดีในการ ประยุกต์ใช้พื้นฐานที่มีอยู่ ซึ่งหนังสือ Text book มีเรื่องประเภทนี้ให้เลือกอ่านเป็นพันๆ เล่ม และ เหตุผลอีกอย่างที่คุณควรทำความคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ (สไตล์ อเมริกัน) ตั้งแต่วันนี้ สาเหตุง่ายๆ ก็เพราะว่า ภาษานี้ เป็นภาษาสากล และ เทคโนโลยีส่วนใหญ่มีที่มา จากที่นี่ เอกสารในเชิงเทคนิค ส่วนใหญ่จึงเป็นภาษาอังกฤษ (สไตล์อเมริกัน)

ตัวผมเองไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ ผมมองว่า ภาษาอังกฤษ เป็น ภาษาที่ง่าย และ มีประโยชน์ ที่สุดในโลกยุคปัจจุบันนี้

บทความนี้ ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำคุณแต่อย่างใด แต่ผมมุ่งหวังจะให้คุณใช้เหตุผล (ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว) ในการตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง สำหรับตัวผมเองแล้ว ผมชอบที่จะเขียนโปรแกรม ไม่ใช่เพราะมันเป็นงาน หรือ เป็นสาขาที่ผมเลือกเรียน แต่เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผม เหมือนกับการดูโทรทัศน์ ฟังเพลง งานอดิเรกอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนอื่นๆ และผมศึกษาด้วยตัวเองมา (แทบจะ) ตลอด ตั้งแต่แรก ผมคิดว่าประสบการณ์ที่ผมได้รับมา น่าจะมีโอกาสถ่ายทอดให้คนอื่นบ้าง เผื่อมันจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา ดังนั้น ถ้าเห็นใครกำลังพยายาม หัดเขียนโปรแกรม อย่างจริงจัง ผมอยากจะช่วยเขาเท่าที่จะเป็นไปได้

จุดสำคัญของการเขียนโปรแกรมในทัศนะของผม คุณต้องมีความรู้พื้นฐาน 3 อย่าง

1. Concept พื้นฐานของคอมพิวเตอร์, ว่าเครื่องคอมทำอะไรได้ หรือ ไม่ได้ ตลอดไปจนถึงเรื่องทางเทคนิคอย่าง สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ที่คุณต้องการจะใช้เขียนโปรแกรม

2. OS (Operation System) ระบบปฏิบัติการ คืออีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องเข้าใจ ถ้าคุณจะเขียนโปรแกรมบน DOS คุณก็ต้องเข้าใจ DOS หรือ ถ้าคุณจะเขียนโปรแกรมบน Windows คุณก็ควรใช้ Windows ได้ เป็นต้น

3. ภาษา ที่คุณจะใช้

ถ้าคุณมีความรู้พื้นฐานเหล่านี้ดีแล้ว ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรมอะไร ด้วยภาษาอะไร คุณก็เพียงศึกษา เรื่องที่คุณต้องการเพิ่มเติม แล้วคุณจะไม่รู้สึกเลยว่า การเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องยาก

แล้วจะศึกษาเรื่องพื้นฐาน 3 เรื่องข้างต้นจากไหน อย่างไร ? สำหรับขั้นตอนในการศึกษา เท่าที่ผมเห็นคนที่เขียนโปรแกรมมา ส่วนใหญ่ จะคล้ายๆ กันคือ

1. เริ่มจากเลือกภาษาสักภาษาหนึ่ง อาจเป็น BASIC, Pascal, หรือ C ทำการเขียนโปรแกรมง่ายๆ บน OS ที่ไม่ซับซ้อน หาหนังสือขั้นพื้นฐานมาอ่านสักเล่ม จะเป็น ไทยหรือเทศก็ได้ ทำความเข้าใจกับการเขียนโปรแกรมให้ดี

2. เมื่อหัดเขียนโปรแกรมไปได้สักพัก คุณจะเริ่มรู้ว่าคอมพิวเตอร์มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และ เราจะหลีกเลี่ยงข้อจำกัดเหล่านั้น ตลอดจนเขียนโปรแกรมให้เป็นอย่างที่เราต้องการได้อย่างไร คุณจะเริ่มเข้าใจเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น คุณอาจจะหาหนังสือประเภท สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมของ EGA/VGA card หรือ สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์ มาอ่าน เพื่อเสริมความเข้าใจของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือประเภทนี้รวดเดียวจบ แต่ค่อยๆ อ่านไปเรื่องๆ พร้อมกับศึกษาไปเรื่อยๆ คุณจะเข้าใจมากขึ้นเอง

3. เมื่อคุณต้องการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้น คุณก็หาหนังสืออ้างอิงเกี่ยวกับ OS ที่คุณใช้มาอ่าน หนังสือประเภทนี้ได้แก่ MS-DOS Reference, Windows API Desktop เป็นต้น ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจแล้วใช้ประสิทธิภาพของ OS นั้นๆ ได้เต็มที่


บทความนี้เป็นเพียงความเห็นต่างๆที่เรานำมาให้ท่านดูครับ อย่าคิดมากครับ เพราะได้นำมาจากหลายๆที่รวบรวมมาให้ดูและได้คิดครับ โดยเฉพาะโปรแกรมในงานด้านวิศวกรรมของคนไทยที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงครับ


คําแนะนําจากผู้อ่านบทความนี้

ผมเห็นด้วยกับบทความนี้ครับ และผมเห็นว่าท่านอาจาย์ที่สอนการเขียนโปรแกรม ควรจะหัดให้เด็กฝึกเขียนโปรแกรมพื้นฐานเช่นใน DOS ไม่ใช่อะไรๆ ก็ลากมาแปะๆๆๆ แล้วส่ง ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะให้มีการศึกษาการทำงานของชิ้นส่วนของโปรแกรม ที่ลากแล้วแปะว่ามันทำงานอย่างไรจะดีกว่านะครับ
from : น.ศ.

เห็นด้วยกับบทความดังกล่าวครับ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีการ Follow กรณีผู้ที่ศึกษาไปเกิดมีปัญหา ควรจะมีแหล่งที่จะตอบปัญหาให้ หรือเป็นที่ปรึกษาต่อไป เนื่องจากการเป็น Programmer ต้องใช้เวลาเป็นปี หรือหลาย ๆ ปี จึงจะมีประสบการณ์ที่จะทำงานจริง ๆ ได้
from : GeorgeYSCmenthai

เห็นด้วยครับ หลายหน่วยงานควรที่จะมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะโปรแกรมเมอร์ไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ ต้องผ่านการศึกษา ผ่านประสบการณ์ ผ่านขั้นตอนวิธีคิด หรือ อัลกอริทึมที่มีเหตุผล มีแนวความคิดใหม่ ๆ และที่สำคัญคือจะต้องรู้จักเอื้อเฟื่่อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น โดยการสอน ถ้าเราเป็น คนอื่นเป็น มีการช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็คงจะดี คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ จริยธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล การติดสินใจที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับนักโปรแกรมเมอร์ยุคใหม่ ครับ
from : โปรแกรมเมอร์ยุคใหม่

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ การที่จะเขียนโปรแกรมมาซักอย่างไม่ใช่แค่ศึกษาในห้องเรียนทำตามอาจารย์หรือตามหนังสือที่มี อยู่ทั่วๆไปตามท้องตลาด แต่โปรแกรมเมอร์ควรมีความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการเช่นเดียวกับ ศิลปะ
from : นศ.คอมฯคนหนึ่ง

ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากเขียนโปรแกรมได้ แต่ไม่ได้คิดจะเอาดีทาง โปรแกรมเอร์ แค่อยากจะประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะอย่าง อ่านแล้วก็เห็นด้วยหากจะว่าไปแล้วหลักสูตรเหล่านี้มีเยอะมากแต่ขากการติดตามและ สนับสนุน สรุปคือ สูญปล่าว ? แต่คงไม่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนตัวคิดว่ามันเป็นกระแสครับ และคนตกงานกันมาก มันเลยออกมาในรูปแบบ ทำตามกระสังคม IT
from : เน็ท ยูสเซอร์

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ขนาดผมใช้คอมมา 5-6 ปี ก่อนที่จะเรียนด้วยซ้ำ จบออกมายังเขียนโปรแกรมได้แค่โปรแกรมฐานข้อมูลเล็กๆน้อยๆ เพื่อนบางคนจบออกมายังsetupโปรแกรมไม่ได้เลย อาศัยที่ว่าเพื่อนช่วยทำโปรเจคท์ให้หรือไม่ก็จ้างเอา ปีทั้งปีก็เรียนแต่ fox กับ pascal ไม่เคยเรียนอะไรตามยุคสมัยเลย ครั้นจะเรียนvisual นักศึกษษกับอาจารย์ก็พอๆกัน บางทีนักศึกษากับรู้มากกว่าอาจารย์ด้วยเพราะอาจารย์จบมานานแล้ว เรียกว่าเรียนกันแบบขอไปที อยากให้โปรแกรมเมอร์ที่เก่งๆของเมืองไทยทำหนังสือหรือนิตยสารอะไรก็ได้ที่มีเนื้อหาทางการเขียนโปแกรมโดยเฉพาะขอเน้นว่าเนื้อหาต้องเป็นแบบมืออาชีพนะครับและไม่ใช่เขียนเข้าใจคนเดียว เพราะตามที่อ่านหนังสือหลายเล่ม บางคนเขียนแบบเข้าใจคนเดียว รู้เรื่องคนเดียว หรือแปลจากต่างประเทศยิ่งอ่านแล้วยิ่งงง บางเล่มแทบอยากจะเขียนแทนด้วยซ้ำด้วยเนื้อหาที่ทำให้เด็กประถมอ่าน
from : คนจบคอมฯราชภัฏสกล

เห็นด้วยกับความคิดของคุณครับ ผมเองเคยเขียน ASM,Paccal,C,Dbase,Clipper,VB มาจนสุดท้ายจะพบปัญหาหลักที่คล้ายๆกันทุกภาษาที่ใช้ คือ เรื่องอัลกอลิทั่ม ส่วนเรื่องความสามารถของภาษา ไม่ใช่ประเด็นหลัก ภาษาอะไรก็ได้เขียนออกมามันก็ทำงานได้เหมือนกัน แต่จะเร็ว-ช้า หรือ สุดช้า ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของภาษาและความต้องการของระบบงาน สมัยก่อนผมเคยใช้ Dbase เขียนโปรแกรมบางอย่างที่ไม่ใช่ Database และ เขาไม่ใช้กันกัน ส่วนใหญ่จะใช้ ASM,Pascal,C กัน แต่ผมพยายามฝืนใช้ Dbase แบบคนหัวรั้น สุดท้ายมันก็ทำงานได้ (แต่สุดช้าๆๆๆๆ) แต่ผมต้องคิด อัลกอลิทั่มของโปรแกรมที่สร้าง จนหัวปั่น ในแง่คิดของผมผมคิดว่า ไม่ว่าภาครัฐ หรือ เอกชน น่าจะมุ่งเน้นหลักสูตรการเรียนคอมพิวเตอร์ ในเรื่องการ คิดอัลกอลิทั่มเป็นหลัก (ออกแบบ-แก้ปัญหา) เพราะมันนำไปใช้ได้แทบทุกภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม ส่วนการเรียนการเขียนโปรแกรม ภาษาต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่ยาก บางภาษาผู้ใช้เพียงจดจำคำสั่งเพียงไม่เกิน 15คำสั่งก็พอนำมาเขียนเป็นโปรแกรมใช้งานได้แล้ว (แต่ถ้าจะให้โปรแกรมวิ่งเร็ว-แก้ไขง่าย-อ่อนตัว ก็ต้องศึกษาคำสั่งที่เหมาะกับงานเพิ่มเติม) แม้กระทั้งตอนที่ผมจับ VB เวลาส่วนใหญ่กว่า 80% ที่ผมเสียเวลากับการพัฒนาโปรแกรมก็คือ การออกแบบโครงสร้าง และ อัลกอลิทั่ม ครับ และเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะเรียน หรือถ่ายทอดกันได้ในระยะเวลาอันสั้น คงต้องใช้เวลาและการฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ เช่นเราไม่เคยเล่นกีตาร์มาก่อน ต่อให้มีอาจาร์ยเก่งๆ มาสอนในระยะเวลาสั้นๆ นั้นอาจได้ในเรื่องของหลักการ แต่สำคัญคือ ความคุ้นเคย+ความชำนาญ จนสิ่งเหล่านี้มันรวมตัวกันเป็นนิสัย จนอาจผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณ หากฝึกหนักมาก ....
from : อดีตโปรแกรมเมอร์

เห็นด้วยกับความคิดของคุณครับ ผมเองเคยเขียน ASM,Paccal,C,Dbase,Clipper,VB มาจนสุดท้ายจะพบปัญหาหลักที่คล้ายๆกันทุกภาษาที่ใช้ คือ เรื่องอัลกอลิทั่ม ส่วนเรื่องความสามารถของภาษา ไม่ใช่ประเด็นหลัก ภาษาอะไรก็ได้เขียนออกมามันก็ทำงานได้เหมือนกัน แต่จะเร็ว-ช้า หรือ สุดช้า ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของภาษาและความต้องการของระบบงาน สมัยก่อนผมเคยใช้ Dbase เขียนโปรแกรมบางอย่างที่ไม่ใช่ Database และ เขาไม่ใช้กันกัน ส่วนใหญ่จะใช้ ASM,Pascal,C กัน แต่ผมพยายามฝืนใช้ Dbase แบบคนหัวรั้น สุดท้ายมันก็ทำงานได้ (แต่สุดช้าๆๆๆๆ) แต่ผมต้องคิด อัลกอลิทั่มของโปรแกรมที่สร้าง จนหัวปั่น ในแง่คิดของผมผมคิดว่า ไม่ว่าภาครัฐ หรือ เอกชน น่าจะมุ่งเน้นหลักสูตรการเรียนคอมพิวเตอร์ ในเรื่องการ คิดอัลกอลิทั่มเป็นหลัก (ออกแบบ-แก้ปัญหา) เพราะมันนำไปใช้ได้แทบทุกภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม ส่วนการเรียนการเขียนโปรแกรม ภาษาต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่ยาก บางภาษาผู้ใช้เพียงจดจำคำสั่งเพียงไม่เกิน 15คำสั่งก็พอนำมาเขียนเป็นโปรแกรมใช้งานได้แล้ว (แต่ถ้าจะให้โปรแกรมวิ่งเร็ว-แก้ไขง่าย-อ่อนตัว ก็ต้องศึกษาคำสั่งที่เหมาะกับงานเพิ่มเติม) แม้กระทั้งตอนที่ผมจับ VB เวลาส่วนใหญ่กว่า 80% ที่ผมเสียเวลากับการพัฒนาโปรแกรมก็คือ การออกแบบโครงสร้าง และ อัลกอลิทั่ม ครับ และเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะเรียน หรือถ่ายทอดกันได้ในระยะเวลาอันสั้น คงต้องใช้เวลาและการฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ เช่นเราไม่เคยเล่นกีตาร์มาก่อน ต่อให้มีอาจาร์ยเก่งๆ มาสอนในระยะเวลาสั้นๆ นั้นอาจได้ในเรื่องของหลักการ แต่สำคัญคือ ความคุ้นเคย+ความชำนาญ จนสิ่งเหล่านี้มันรวมตัวกันเป็นนิสัย จนอาจผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณ หากฝึกหนักมาก ....
from : อดีตโปรแกรมเมอร์

บอกได้อย่างไม่อายค่ะว่ากว่าจะจับจุดได้บางจุดในการเขียนโปรแกรมใช้เวลาเกือบสองปี มันไม่ง่ายเลยที่จะเขียนโปรแกรมดี ๆ และสวยงาม
from : นักเรียนคอมฯ

แบะ แบะ
from : นายดำเกิง

เห็นด้วยทุกประการ เมื่อไหร่เมืองไทยจะมีคนคิดเป็นอย่างนี้มาก ๆ นะ เดี๋ยวนี้วังเวงเหลือเกิน
from : ทองหยอด

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อคิดเห็นและแนวความคิดดังกล่าว ผู้จัดอาจเข้าใจว่า user และ programmer คืออันเดียวกันมั่ง และที่สำคัญในการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ ก็มีการทิ้ง dos กันหมดแล้ว ในอนาคต เราจะได้ทรัพยากรด้านนี้มาจากไหนละครับ ถ้ามาทำงานแบบฉาบฉวยกันเช่นนี้
from : สมศักดิ์ บัวเผื่อน

ครับผมเห้นด้วยกับบทความครับ เพราะว่าสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นผู้สอนมักจะไม่ปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน
จึงทำให้ผู้ัรียนนั้นไม่สามารถพัฒนาความคิดแก้ปัญหาด้วยดัวเองได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีเลยแก่นักศึกษาครับ
from : ในฐานะนักศึกาา

ครับผมเห้นด้วยกับบทความครับ เพราะว่าสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นผู้สอนมักจะไม่ปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน
จึงทำให้ผู้ัรียนนั้นไม่สามารถพัฒนาความคิดแก้ปัญหาด้วยดัวเองได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีเลยแก่นักศึกษาครับ
from : ในฐานะนักศึกาา

ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไหร่นะครับ
มองต่างมุมกันครับ โดยเฉพาะเรื่อง การลาก
Component มาแปะครับ มันเป็น IDEA ที่วิเศษมาก
ผมเห็นว่ามันจำเป็นที่สุดสำหรับ การเป็น Programmer
มืออาชีพเลยก็ว่าได้ครับ

ผมเห็นที่เมืองนอกคุยกันแต่เรื่อง Component หรือ Third Party
ครับ ไม่ค่อยมาถกกันเรื่อง Base ของภาษา
เพราะการทำโปรแกรมใหญ่ ๆ มันต้องอาศัย Component เหล่านี้
ช่วยแก้ปัญหาหลาย ๆ ด้านครับ ยังไงคุณก็ต้องพึ่งมัน
ผมเห็นว่าถ้าคุณใช้มันเป็น ควบคุมมันได้ มันก็ไม่แตกต่าง
จากที่คุณเขียนเองเท่าไหร่หรอกครับ และ
บริษัทที่เขียน Component ก็จะมีโอกาสโตได้เหมือน ๆ กัน
ถ้าคนไทยสามารถเขียน Component เหล่านี้ได้
ผมคนหนึ่งแหล่ะ ที่ชอบอุดหนุน
ขอให้ Programmer ไทยจงเจริญ

เมื่อก่อนเคยคิดว่าตัวเองเป็น Programmer ครับ
แต่ปัจจุบันนี้ขอเปลี่ยนตัวเองเป็น มนุษย์ Cell ครับ
(Digital Cell:รับตกแต่ง Cell ที่เป็น Digital ทุกชนิด)

ผมอ่านบทความของคุณรู้สึกว่าการเป็น Programmer
นั้นต้องการใช้ความอดทนเฉพาะ ตัวบุคคลมาก
ผมอยากให้มองถึงการทำงานเป็นทีมครับ
โปรแกรมเมอร์ ไทยนี่ทำงานร่วมกันเป็นทีมยาก
มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง
ทุกอย่างต้องเริ่มด้วยตนเองถึงจะสามารถผลักดันได้
(ไม่รู้ว่าใครสอนว่าการ Debug ของคนอื่นเขา
ยากกว่าการเริ่มเขียนใหม่ ผมเถียงขาดเลยครับ)




from : PEGASUS

โปรแกรมเมอร์ ที่เน้น component ผมว่าในอนาคตเราจะตกเป็นทาส ของบริษัทที่ผลิตตัวนั้น เหมือนกับคนที่กินมาม่า แล้วไม่รู้จักทำอาหารกินเอง เช่นกัน หากเอาแต่ตัดแปะ ไม่มีทางรู้ถึงขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ การเน้นอัลกอลิทึมนั้นเป็นการดี มีนักษึกษา
(เพื่อนที่เรียนด้วยกัน ) ไม่ถึงครึ่ง ที่สามารถเขียนโปรแกรมที่ซ้อนได้
ภาษาแต่ละภาษาผมคิดว่าความยากง่ายไม่ต่างกัน แต่ถ้ามัวแต่ใช้ของสำเร็จรูป เชื่อเลยถึงแม้ว่าจำเป็นสำหรับระบบใหญ่ๆ แต่ถ้าเกิดบักขึ้นมา คุณคิดหรือว่า จะสามารถแก้ไขด้หมด


from : [email protected]

ความจริง visual programming ผมว่าก็ไม่ได้เสียหายอะไรนะ คือในอเมริกานี่ visual basic programmer มีมากที่สุด และเงินเดือนโดยเฉลี่ยมากที่สุดด้วย เหตุผลก็คือ การพัฒนาโปรแกรมด้วย visual basic ใช้เวลาน้อยกว่า

ความจริงผมเป็น C/C++ programmer ครับ เคยใช้ visual basic เขียนโปรแกรมเล็กๆ เมื่อประมาณ 4 ปีก่อนนู่น ก็รู้สึกว่าง่ายดี (ต้องใช้ให้ถูกงานนะครับ) ผมไม่คิดว่ามันจะเกี่ยวกับการเป็นทาสใครที่ไหน เพราะถ้าจะคิดยังงั้นจริงๆ มันก็ทาสหมดล่ะครับ ไม่ว่าคุณจะใช้ภาษาอะไร ผมมองว่ามันเป็นเครื่องมือมากกว่า คงไม่มีใครใช้มีดหั่นผักไปตัดต้นไม้นะครับ เลือกใช้ให้เป็นดีกว่า

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจจากกระทู้นี้ ก็คือ อะไรคือหลักสำคัญในการเขียนโปรแกรม โดยส่วนตัวผมว่า คุณภาพของ source code ครับสำคัญที่สุด คุณภาพที่ว่านี้คือ โค้ดต้องเข้าใจง่ายและกระชับ โค้ดที่ดีไม่จำเป็นต้องสั้นที่สุดหรือเร็วที่สุดเสมอไป บางทีถ้าสั้นจนอ่านไม่เข้าใจ จะเป็นปัญหาในระยะยาว คือโค้ดนั้นมันจะเป็น dead code คือไม่มีใครเข้าใจได้ หรือแม้แต่ตัวผู้เขียนเองมาดูเองก็อาจจะงง โค้ดพวกนี้อายุสั้น และไร้ค่า ไม่นานก็โดนโละทิ้งไป

โปรแกรมเมอร์ไทย (รวมทั้งตัวผมเองเมื่อก่อน) ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ความสำคัญกับ source code เท่า binary code คือมักจะสนใจที่ผลลัพธ์แต่เพียงอย่างเดียว จนบางครั้งลืมที่จะเสียเวลาคิด algorithm ที่ง่าย และ clean กว่าวิธีที่ใช้อยู่ คือเรียกว่างานเผา อันนี้เป็นความแตกต่างอย่างมาก กับโปรแกรมเมอร์ต่างชาติ อย่างคน อเมริกันหรืออังกฤษ ที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องกระบวนการคิดมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ หัวหน้าผมเป็นคนอังกฤษ ผมเองมีปัญหามากตอนที่มาทำงานกับเขาใหม่ๆ เพราะเขาไม่เข้าใจว่าทำไมผมเขียนโค้ดได้ห่วยกว่าที่เขานึกไว้ (เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมากแล้วครับ) จุดนี้ผมเคยบ่นให้อาจารย์ไพรัช (ธัชยพงษ์) ฟัง ตอนที่พบกันโดยบังเอิญที่ Seattle อยากให้โปรแกรมเมอร์ไทยให้ความสำคัญกับ design มากกว่ารูปแบบ
from : kingkong

เรื่องที่ยากของการเขียนโปรแกรม ผมว่าเป็นเรื่องของอัลกอริทึ่ม ส่วนภาษานั้น ผมว่ามันเหมือนกัน สำหรับเรื่องของ component ผมว่าเป็น idea ที่ดีมาก
แต่อยู่ที่ว่าเราจะสร้างสรรค์เอง หรือว่าเอาแต่ของคนอื่นมาใช้ ในความคิดผม ผมว่าการเขียนโปรแกรมบน windows นี่ยากกว่าบน DOS อีก เพราะเราทำอะไรได้ไม่เต็มที่
หมายถึงควบคุมอะไรต่างๆ ได้ไม่เต็มที่เหมือน DOS (ถ้าเราไม่คิดแค่การแปะทุกอย่างลงบนฟอร์ม) การจะทำให้การ interface เป็นธรรมชาตินี่ยากพอสมควร (แต่ทุกคนทำได้ครับ)
ผมเป็นคนหนึ่งที่เขียนโปรแกรม และยังเขียนอยู่ แต่แนวความคิดที่ผมเขียนไม่เหมือนคนอื่นเท่าไหร่ อยากให้คนเขียนโปรแกรมคนไทยหลายๆ คน เป็นกบฎ หมายถึง เปลี่ยนแนวความคิดเดิมๆ
เพื่อที่จะได้สร้างสรรค์งานกันในแบบใหม่ๆ
เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ
from : Kaman Rider, [email protected]

อย่าหวังมากสิครับว่าการที่เราทำจะได้ตามที่หวังครับ
การเขียนโปรแกรมแบบวิชวลนี่ง่ายครับแต่เราคงต้อง
อาศัยเครื่องมือแต่ให้มานะครับแต่เขาก้อเปิดทางให้เราสรา้งเองครับ
อยู่ที่เราต่างหากการเขียนโปรแกรมบนวินโดว์ืน อัลกอรอทึมที่แตกกต่างกับ
อัลกอรอทึมแบบโครงสร้างบ้างนะครับ คิดว่า ส่วนตัวผมทำโปรแกรมจะทำที่
ความสามารถของมันแล้วมาเปลี่ยน interface นะึครับ ี่
from : นักศึกษาคอม2

¼Á¤Ô´ÇèÒ¤ÇÒÁ¤Ô´ÊÃéÒ§ÊÃäìà»ç¹ÊÔ觷Õè
ÊӤѭÁÒ¡¡ÇèҹРà·èÒ·Õèä´éÂÔ¹ä´é¿Ñ§ÁÒÊèǹ
ãË­è¾Ç¡¤Ø³ÁÕ¤ÇÒÁÊÒÁÒö¹Ð·Õè¨ÐÊÃéÒ§ÊÃäì
¼Å§Ò¹·ÕèäÁèá¾éµèÒ§ªÒµÔä´é
áµèà¾ÃÒоǡ¤Ø³äÁèÃÇÁµÑǡѹ¨ÃÔ§æ¨Ñ§æ
ÅͧãËéà¡è§á¤èä˹¶éÒäÁèÁÕ¤ÇÒÁ¤Ô´ÊÃéÒ§ÊÃäì
ÅèСç ÊÔ觷Õè¾Ç¡¤Ø³¾Ñ²¹Ò ¡çäÁèä´éÃѺ¤ÇÒÁʹã¨
from : ह

อืม แล้วอีกอย่างคุณไม่ควรมาเสียเวลาคิดอัลกอริทึมใหม่
หรอก สิ่งเหล่านี้มีแบบแผนที่ดีในtextแล้ว
แล้วกับการที่คุณคิดว่าการลากcomponentมาแปะๆนั้นไม่ใช่
โปรแกรมเมอร์ คุณจึงต้องสร้างcomponentขึ้นมาใหม่งั้นเหรอ
ถ้าอย่างงั้นคุณก็ควรที่จะเขียนไบนารีโค้ดขึ้นเองซะด้วยเลยดีมั้ย
จึงจะสมควรเป็นโปรแกรมเมอร์น่ะ
แล้วบั๊กน่ะมันไม่เกิดเพราะcomponentหรอกครับเชื่อเถอะ
เราไม่ต้องไปแก้ในอัลกอริทึ่มของมันหรอก
แต่ถ้าคุณที่สร้างเองก็ไม่แน่อีกอย่างคุณอย่ามานั่งกังวล
เกี่ยวกับอัลกอริทึ่มของcomponentเลยไม่ยากอะไรเลยครับ
จริงๆและไม่ใช่ประเด็นที่ต้องถกด้วยครับ แล้วคุณเจ้าของกระทู้
ที่บอกว่าโปรแกรมเมอร์กว่าจะเป็นได้ใช้เวลานานนั่นผมว่า
ก็จริง แต่ถ้าสมมติว่ามีอยู่คนหนึ่งเค้าศึกษาเล่นๆและก็สร้าง
โปรแกรมธรรมดาแต่กลับโด่งดังไปทั่วโลกด้วยลักษณะเด่นเฉพาะตัวและเค้าก็เป็นแค่ภาษาเดียวคือvbแต่กลับมีอีกคนหนึ่งเรียกตัว
เองว่าโปรแกรมเมอร์เชี่ยวชาญหลายภาษาแต่ก็รับงานตามใบสั่ง
บริษัท ไม่เคยที่จะสร้างสรรค์โปรแกรมใหม่ๆ คุณอยากจะเป็นแบบไหนล่ะเป็นแค่ คนเก่งที่คอยแต่จับผิดคนอื่นแต่ไร้ความคิดสร้างสรรค์ไร้ผลงานก็แล้วแต่คุณ หรือจะเป็นคนเก่งที่มีความคิดสร้างสรรคด้วย

from : เคน

เห็นด้วยกับ อดีตโปรแกรมเมอร์ ความคิดนี้เข้ามาก ทุดความเข้าท่าหมดเลยครับ แต่ความคิดของ อดีตโปรแกรมมอร์ มีเหตุผล แต่อยากให้เป็นกลางนะครับ เิดินสายกลางเข้าไว้ ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

from : นาทครับผม (พุทธโปรแกรมเมอร์)

เห็นด้วยบางส่วนแล้วกันนะคะ คิดว่าคอร์สที่จัดขึ้นมา น่าจะเรียกว่าเป็นคอร์สเริ่มต้นสำหรับผู้ที่สนใจจะเป็นโปรแกรมเมอร์มากกว่า ถ้าจะเป็นโปรแกรมเมอร์จริงๆก็คงต้องใช้เวลาศึกษาพัฒนาความคิด การเขียนโปรแกรมให้มากกว่านี้หน่อย ก็ไม่ทราบนะคะว่าหลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆคิดว่าคนที่จบมาน่าจะสามารถเขียนโปรแกรมง่ายๆได้ แต่ยังไม่เก่งพอที่จะทำงานจริง เพราะเวลาทำงานจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นมีหลากหลายและบางปัญหาก็ซับซ้อน ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ก็อยากให้ใจกว้างกันนิดนึง และอยากให้คนที่เปิดการอบรมคิดอะไรมากกว่านี้หน่อยว่าความจริงมันเป็นยังไง จบแล้วสามาถรทำงานได้จริงเหรอ เอาใบวุฒิที่ได้ไปสมัครงานแล้วเค้ารับแน่เหรอ ถ้ามันเป็นมืออาชีพกันได้ง่ายๆ เรียนแค่6เดือนแล้วไปสมัครทำงานได้เลยจริงๆ ดิฉันก็คงจะลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปเรียนด้วยอีกคน แหม..จะมานั่งเสียเวลาทำไมล่ะคะตั้ง4ปีน่ะ
เรื่องcomponentก็เหมือนกัน ใครจะใช้ ก็ใช้ไปเถอะค่ะ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เพราะอะไร ถ้าจะใช้เพราะลดเวลาในการคิดและเขียนโปรแกรมมันก็โอเค แต่ถ้าใช้เพราะไม่รู้จะเขียนcodeยังไงเนี่ย ก็ไม่ดีนะคะ ถ้าจะใช้แก้ขัดไปก็ได้ แต่ควรจะฝึกให้ตัวเองเขียนเป็นบ้าง จะได้รู้เข้าใจมากขึ้น และเก่งขึ้นด้วย
คุณเป็นโปรแกรมเมอร์นะคะ คุณต้องสร้างโปรแกรมให้คนอื่นใช้ ถ้าคุณจะรักแต่การตัดแปะcomponentอย่างเดียว คุณก็น่าจะเป็นuserมากกว่า

from : น.ศ.วิทย์คอมคนนึง

ตอนนี้เขามีมีดให้คุณใช้แล้วคุณก็ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสิ คุณไม่จำเป็นต้องรู้วิธีการตีเหล็กไม่ใช่หรือ แต่ที่คุณต้องรู้ก็คือใช้มีดอย่างไรให้ได้งานตามที่คุณต้องการ
from : ตัวเล็ก

หลายอย่างที่คุณพูดมาผมเชื่อว่า เป็น เช่นนั้น แต่การทำเช่นนี้ เราอาจจะได้คนที่มีพรสวรรค์ในการเขียนโปรแกรมก็ได้ มีหลายคนครับที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการคิดให้เป็นขั้นตอน แต่จนเขาได้ลองมาศึกษาดูเขาอาจจะรู้ว่า เนี่ยเป็นสิ่งที่เขาทำได้ ผมเห็นด้วยกับการพยายามให้คนมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการ เก็บเงินเขาแพงๆ ถ้าใครที่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมอยากแนะนำให้ หาหนังสืออ่าน จะยืนอ่านตามร้านหรือ ซื้อก็ตาม ผมว่าถ้าสนใจจริงๆก็จะทำได้เช่นกัน ผมไมได้จบคอมแต่ผมก็เป็น โปรแกรมเมอร์ได้ ผมเคยฟังรุ่นพี่ที่ทำงานเล่าให้ฟังว่า เคยมายามที่บริษัทเก่าของเขาเป็น โปรแกรมเมอร์ด้วย คุณคิดดูก็แล้วกัน เป็นยามมาก่อนเป็น โปรแกรมเมอร์ อย่าคิดว่ายากเลยครับ ค่อยๆคิดให้เป็น ขั้นตอน เมื่อเป็นตรงนี้แล้ว ค่อยมาดูว่าคำสั่งอะไรใช้ทำอะไร แล้วคุณจะรู้ว่า โปรแกรมเมอร์ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ผมเริ่มจาก Basic, Pascal, C, Clarion, VB, Delphi, VC, ASM,HTML, ASP, PHP, Perl, CodeWorrior, WML และ OS ที่เล่น ก็ตั้งแต่ Fujisu, Dos3-7 Win, Unix Palm, CE Mobile โดยผมใช้ทั้งหมดนี้ในการทำงาน ดังนั้นผมเชื่อว่า ก็เป็นไปได้ที่หลายคนจะทำได้ดีกว่าผมแน่นอน
from : Remargorp

**** ไม่เห็นด้วยเท่าไรครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า \\"ลาก ๆ แปะ ๆ\\" อะไรนั่น ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ป่านนี้ทุกคนก็เป็น Programmer หมดแล้ว โปรแกรมที่เขียนจาก VB หลายดีๆ ก็มีหลายโปรแกรมนะครับ ******
**** แต่ผมเห็นด้วยกับเรื่องการอบรมแสนแพงที่คุณกล่าวมา ตอนนี้ผมเขียนโปรแกรม VC++ ,VB , C,Pascal เป็นแล้วเงินที่ใช้ < 5,000 , เงิน 25,000 มันทำอะไรได้มากกว่าการไปนั่งอบรมนะครับ

from : # ToTMaNgKoK

ผมได้เขียนโปรแกรมก็มีความสุขแล้ว ครับ อย่ามาเถียงกันเลยกะเรื่องไร้สาระ ถ้ามีใจรักที่จะเขียนๆให่ได้ตามที่ฝันก็พอแล้วนี่ครับ ผมเองยังตามฝันที่ฝมคิดไว้มา 5 ปี ยังทำให้ความฝันเป็นจริงไม่ได้เลยยนะครับ คำว่าโปรแกรมเมอร์ เนี่ยนะ ใครๆ ก็เรียกตัวเองได้ทั้งนั้น....แต่ผลงานที่ออกมาหละมีให้เห็นไหม.... ไปแล้วครับไปทำต่อดีกว่า อ่านแล้วสงสารจริงๆเลย
from : น้องบีทำเกมส์มา5ปีแล้วแต่ยังไม่เสร็จ

อืม...อ่านดูหลายคนแล้ว บางเรื่องมันนอกประเด็นนะ การจะเป็น โปรแกรมเมอร์ นี่นะมันไม่ง่ายหรอกนะ ไม่ใช่ว่าไปนั่งอบรมมาสัก ครึ่งปีแล้วมาเขียนโปรแกรมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรอกนะ มันต้องอาศัยเวลาพอสมควรจีงจะเขียนโปรแกรมมาใช้งานได้สักอัน 1 โธ่แค่ตนักวิเคระห์ความต้องการของ User ก็จะบ้าตายแล้ว สมัยนี้หาโปรแกรมเมอร์จริงแล้วยากนะ ผมว่า ถ้าเป็น Developer เอ้อ อันนี้มีเยอะ..... ทำไมต่างชาติเขามี Application ใหม่ๆ ออกมาเรื่อย ก็เพราะเขามีเวลาพัฒนานะสิ เพราะว่าความเจริญเขากระจายอยู่ทั่วทุกเมือง ลองคิดดูสิคุณอยู่กรุงเทพฯใช้เวลาไปกลับที่ทำงานไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง คิดดูสิเวลา 2 ชั่วโมงนี้ถ้าใช้สำหรับฝึกเขียนโปรแกรม มันจะมีค่าขนาดไหน ยกตัวอย่างนี้มาเพื่อให้เห็นว่าต่างชาติเขามีเวลาในการฝึกฝนการเขียนโปรแกรมอย่างมากทำให้เขาเก่ง เพราะว่าส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาหลังเลิกงานมาศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยตนเอง สรุปว่าอยากเก่งก็หมั่นฝึกฝนหน่อย อยากเป็นต้องใช้ฝีมือและความอุตสาหะหน่อย ขอบคุณครับ
from : Developer มั้ง

เคยไปเรียน database มาไม่ได้อะไรเลย โอเค อาจจะสอนวิธีโดยรวมฐานข้อมูล แต่สอน Access ซึ่งทำอะไรไม่ได้เลย สำหรับตอนนี้ ตั้ง 20,000 เสียดายเงินมาก
from : น.ส.คอมปี4ค่ะ

จากการอ่านบทความนี้ โดนใจผมมากจริงๆ เพราะผมก็คิดเช่นนี้เหมือนกัน ผมเห็นหลายคนเรียนตั้งหลายคอร์ส หลายปี ต่อให้จบระดับปริญาตรี ก็ตาม ยังเขียนโปรแกรมให้ดีจริงๆ ยากมาก ทุกวันนี้ผมมีความคิดว่า โปรแกรมเมอร์ที่ดี และมีประสิทธิภาพนั้นต้องใช้เวลาในการศึกษาและเรียนรู้ และที่สำคัญคือ อัลกอริทึมในการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพ บางคนบอกว่าไม่จำเป็น เพราะเดี๋ยวนี้การเขียนโปรแกรมเป็นแบบ วิชชวล ทำอะไรๆก็สะดวกไปหมด นั่นก็จริงอยู่ ถ้าคิดแบบนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมคิกว่าอยู่ในระดับ User มากกว่า และที่สำคัญ ต้องเขียนโปรแกรมตามแนวทางของ OOP ด้วย ทุกวันนี้งานที่ผมพัฒนาให้หน่วยงาน ผมก็กำลังพยายามปรับเปลี่ยนอยู่ ซึ่งก็อาจจะใช้เวลาพอสมควร
ผมไม่ได้มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์นะครับ ผมจบแค่ ปวส. เป็นช่างเทคนิค แต่งานที่รับมอบหมายก็เขียนโปรแกรมล้วน ก็พอไปได้ มีอะไรที่ต้องศึกษาอีกมากมายครับ สรุปผมเห็นด้วยกับบทความนี้ครับ
from : ทอง ครับ

ผมเคยอ่านบทความที่ไหนสักแห่งแต่จำไม่ได้ ท่านบอกว่า หากจะเปรียบการเขียนโปรแกรม กับหนังกำลังภายในแล้ว ตัวภาษาที่ใช้คือ อาวุธ และตัวเราเองคือจอมยุทธ์นั่นเอง ฉะนั้นแต่ละจอมยุทธ์จึงใช้อาวุธไม่เหมือนกัน บางคนได้ฉายา \\"กระบี่ไร้เทียมทาน\\" เพราะเขาถนัดการใช้กระบี่ที่หาใครเทียบได้ หรือ \\"มีดบินจอมพิฆาต\\" เพราะใช้มีดบินได้เยี่ยมยอดในยุธทจักร แต่รู้ไหมว่ากว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นจอมยุทธ์ที่ผงาดในยุทธจักรได้ เขาเหล่านั้นต้องผ่านการฝึกฝนวิชาที่เขาชอบอย่างหนักหนาเอาเลยทีเดียว
เหมือนกันครับ คุณลองหาอาวุธที่ตนถนัดและชอบสักอย่างซิ แล้วฝึกมันให้ได้ชนิดที่ว่า \\"กระบี่กับใจเป็นหนึ่งเดียว\\" ผมรับรองว่าใครก็เทียบคุณยากเหมือนกัน

from : คิดด้วยคนครับ

ผมก็เป็น โปรแกรมเมอร์ คนนึ่ง ที่ยังเขียนเกมบน DOS แต่ไม่รู้ว่าทำไมบางคนถึงเข้าใจว่ามันโบราณ และก็หนังสือที่เป็น พื้นฐานกับ ที่เป็นPeal จริงๆ นั้นต่างกันนะครับ
ปจุบันผมก็ยังเขียน โปรแกรมบน DOS อยู่ซึ่งพื้นฐานของมันช่วยเราได้มาก อย่าว่าแต่ทำเกมดีๆ ได้เลย ครับ สร้างเครื่องเกมยังไหวเลยครับ
from : ฺBA

ถ้าจะหวัง กับสิ่งที่อยู่รอบ นะครับเราต้องสู้ด้วยตัวเองไม่ชอบอย่าฝืนครับ ตอนนี้ อยู่ปี3 รับงานเรื่อยครับคิดว่าทำไมจะทำไม่ได้ ถ้าใจรักครับ ยอมโง่เพื่อ ที่จะฉลาด แต่ว่า การที่ลากแปะนั้นมันไม่ดีแต่เราทำได้มะ ไม่ได้อย่าว่า เลย เห็นมะเขาว่าอย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก เรียนคอมถ้าไม่ไฝ่รู้เองยากครับ อัลกอริทึมนี่สำคัญครับ ถ้าได้ โปรแกรมไหนก้อไม่ยากครับ ถ้าคุณไม่รู้เรื่องในที่เรียนแสดงว่าคุณไม่ทุ่มเทให้มันนะ
from : โจ

ผมรู้สึกว่า บางคนที่โพสต์ไว้ยังไม่รู้จักคำว่า Algorithm เลย
นี้คือหัวที่แท้จริงของการเป็นโปรแกรมเมอร์ครับ ไม่ว่าคุณจะใช้อะไรทำ ไม่ว่างานจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม พื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความคิดของคนที่เรียนมาโดยตรงอย่างผมกับคนที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรงก็จะมีความคิดที่ต่างกัน แน่นอนครับ กว่าผมจะ IMplement ได้สักอย่างก็แสนเหนื่อยนัก ไม่ได้โค๊ดเหนื่อยน่ะครับ แต่ออกแบบเหนื่อยต่างหาก มีอะไรหลายอย่างที่คนที่ไม่ได้เรียนอย่างที่ผมเรียนมา 4 ปีจะเข้าถึงได้
from : ปอบ

ว่างกันนักหรือ
ไปทำงานซะไป
from : คนทำงาน

ขอโทษนะครับ ผมไม่ได้เรียนมาทางคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่ผมว่าความคิดความเข้าใจพื้นฐานหรือว่า Concept เป็นสิ่งสำคัญ ผม จบสาขาอื่นมา แต่มาทำงานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความรู้อะไรเท่าไหร่ก็เลยลำบากนิดนึงผมไม่กล้าเรียกตัวเองว่าโปรแกรมเมอร์หรอกครับ เพราะไม่ถึงขั้นนั้นจริงๆ แต่ในสาขาที่ผมจบมานะ ถ้าใครไม่เข้าใจความคิดพื้นฐานก็หมดท่าเลย ได้แต่ท่องจำสูตรไปวันๆ ไม่ได้สาระอะไรเลย ผมก็คิดว่าการเป็นโปรแกรมเมอร์คงเช่นดียวกันมั้งครับ
ขอบคุณ อัตตา อัตตา
from : ไอ้มอม

ผมว่ามันก็ใช่นาแต่ เวลาสมัครงานเขาถามหาใบรับรอง ใบประกาศฯ นี่สิ สำหรับคนเรียนไม่จบอย่างผมเนี่ยมัน กลืนมิเข้าคายมิออกเลยนาท่าน
from : คนที่กำลังจะไปเรียน

ผมก็ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ครับ แต่มีใจรักทางด้านคอมพิวเตอร์ ทุกวีนนี้ผมก็เขียนโปรแกรมในดอสบนเครื่อง8088 กับ 486 sx อาศัยว่ากล้าลองและมีเวลาให้ผมก็พอที่จะใช้ปาสคาล และ เพิลได้บ้างเล็กน้อย เรียนเองจากหนังสือในห้องสมุด แล้วก้ซื้อบ้าง ไม่ต้องใช้เงินเป็นหมื่นผมก็พอที่จะดัดแปลงเครื่องทำวงจรระบบวัดและควบคุมเครื่องจักรได้เอามาใช้ในงานเกษตรของผม ถึงผมจะไม่รู้ว่าไอ้ อัลกอริทึม คืออะไรแต่ผมก็ภูมิใจในภูมิปํญญาของผมครับ ถึงอึผมจะกองไม่สวยแต่ผมก็ใช้รดผัก ( ไปขายให้คุณกิน ) ได้ แล้วอึคุณที่รู้จัก อัลกอริทึมล่ะ เป็นประโยชน์กับสังคมและตัวคุณเองบ้างรึยัง
from : ตามมีตามเกิด

ท่านโปรแกรมเมอรืทั้งหลายครับ เท่าที่ผมสังเกตดูนะ
ท่านไม่ค่อยจะยอม นำเสนอคามรู้ที่เป็นประโยชน์
ต่อคนที่ต้องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเลยนะ
ยากนะที่จะมีคนที่มีความรู้เขาจะมอบความรู้ที่เขากว่าจะได้มันมาก็แสนยาก ถ้าบอกคนอื่นแล้วกลัวเขาจะได้
เปรียบเหรอ ทั้งๆที่ถ้าเขาได้รู้เขาจะประหยัดเวลาในการ
ศึกษาไปมาก ทำให้ประเทศเรามีการพัฒนายิ่งขึ้น
ช่วยๆกันนะครับผม
from : sss

การเป็นโปรแกรมเมอร์หรือครับ ผมว่าง่ายมากครับ
เรียนรู้การเขียนโปรแกรมจากสถาบันไหนสถาบันหนึ่ง หรือ ศึกษาด้วยตัวเองจนเขียนงานออกมาได้สักงานหนึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมเมอร์แล้ว เพราะคุณเขียนโปรแกรมได้แล้ว
แต่คุณจะเป็น มืออาชีพได้หรือเปล่านำมาประกอบเลี้ยงชีพตัวเองได้หรือไม่ สามารถพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับกับสาธรณชนได้หรือเปล่า เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ผมเรียนโปรแกรมภาษา RPG ใช้เวลา 2 ปี หลังจากจบออกมาก็พัฒนาโปรแกรมระบบงานร้านค้าได้ในเวลา 1 ปี โดยใช้โปรแกรม Basic Interpreter ผมถามว่า 3 ปี สำหรับ 1 ระบบงาน เขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่ไม่ได้เรียนมา เริ่มจากที่ไม่รู้อะไรเลย เนี่ยยากไหมครับ

แต่บอกได้เลยว่าผมยังไม่เก่งทั้งหมด ยังไม่เป็นมืออาชีพ
เมื่อเริ่มต้นเรียนผมมีการศึกษาพัฒนาที่ต่อเนื่องทำให้ไปได้เร็ว แต่เมื่อแก่ตัวไปก็พัฒนาได้ช้าเพราะงานรับผิดชอบมีสูงขึ้น

เพราะฉนั้นถ้าคุณอยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหมั่นทำ แล้วจะเป็นมืออาชีพได้ครับ สำหรับโปรแกรมเมอร์ ผมว่าเป็นง่ายนิดเีดียวครับ

//// ปล
การเขียนโปรแกรมมีหลายวิธีครับ เขียนขึ้นเอง หรือ ใช้คอมโปแนนซ์ ที่คนอื่นเขียนไ้ว้แล้วก็ได้ครับ ไปผิดกติกาการเป็นโปรแกรมเมอร์ อยู่ที่ว่าคุณอยากรู้มากขึ้นหรืออยากได้งานเร็วขึ้น ก็เลือกกันเอาเองแล้วกันครับ
สำหรับผมเลือกงานครับ ได้เงินชัวร์ดี เร็วด้วย ไม่เหนื่อย เมื่อมีเวลาว่างก็มาพัฒนาคอมโปแนนซ์ของตัวเองขึ้นมาใช้เองครับ
from : Hack

ผมว่า OS Window ของ MS มัน bug เยอะไม่น่าใช้
ผมว่า เพื่อนหันมาเล่น linux หรือ unix ตัว free ก็ได้นะครับ
เช่น FreeBSD ก็ได้นะ น่าใช้มาก ระบบ พวกนี้ไม่ค่อยมีไวรัส
แต่จะมี พวก หนอน อินเตอร์เน็ต (worms) นิดหน่อย
แต่ก็ไม่ร้ายแรง ผมว่าเราหันมา พัฒนาโปรแกรมบน linux หรือ
unix กันเถอะครับ อีกอย่าง linux ก็ เป็น freeware ด้วย
ใช้กันฟรี ๆ ไงครับ ว้า แต่ทำไปก็ไม่ได้ตังดิ อิอิ
แล้วแต่จะคิดนะครับ !!!! ู^_^
from : นศ พายัพคนหนึ่ง

ประเด็นเรี่องหลักสูตรการอบรมการเขียนโปรแกรมในปัจจุบัน นั้นอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้างตามที่มีผู้รู้ได้กล่าวมาแล้ว ผมก็เห็นด้วยกันกับทุกคนภายในเงื่อนไชหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ส่วนตัวผมมองว่าการที่คนไทยมีความสนใจในการเขียนโปรแกรมก็เป็นสิ่งดี ทำให้คนไทยอาจได้มีโอกาสหาทางที่จะสร้างโปรแกรมดีๆไว้ใช้ และช่วยจุดประกายให้ผู้ที่อาจมีความสามารถด้านนี้แอบแฝงอยู่ได้มีโอกาสได้มีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม ซึ่งเขาอาจจะสามารถใช้ความรู้เพียงพื้นฐานนั้นพัฒนาความสามารถจนสามารถเขียนโปรแกรมในขั้นสูงได้ และผมก็เห็นด้วยกับคนส่วนใหญ่ที่เห็นว่า จ่ายค่าการศึกษาเกินจริงไม่ถูกต้องและไม่คุ้มค่า ซึ่งคนไทยปัจจุบันก็ลำบากพออยู่แล้วในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ผมจึงหวังว่าน่ามีชมรมหรือกลุ่มที่อาจพอมีความรู้หรือเพื่อนๆช่วยกันให้คำแนะนำหากใครที่มีความเพียรในการช่วยเหลือตัวเองเช่นต้องการความรู้หรือแก้ไขปัญหาเป็นวิทยาทาน
from : Mr.comz

อืม ผมว่าใครถนัดอย่างไหน ก็ใช้อย่างนั้น อะไรก็ตามถ้าเราทำด้วยใจรัก ทุ่มเท ให้เวลากับมัน ไม่ได้หวังเพียงเพื่อเงินทอง เราก็จะทำได้ดีครับผมเชื่ออย่างนั้น อีกอย่างตอนนี้คนไทยก็มีโอกาสดีมากอยู่แล้วที่ได้ใช้โปรแกรมถูกแสนถูก ใช้โอกาสนี้เรียนรู้และฝึกฝนตัวเองกันครับ ผมไม่ได้เรียนทางนี้ ไม่ได้เป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นแค่ user กิ๊กก๊อก แต่เขียนนั่นเขียนนี่เล่น ศึกาษานั่นศึกษานี่เล่น เพราะชอบครับ แต่ผมเชื่อตามความคิดของคุณนะ เพราะผมก็ไม่อยากเสียเงินเรียนโดยไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าหรือปล่าว ก่อนที่ผมจะซื้อหนังสือสักเล่มผมยังต้องศึกษาก่อนจาเวบต่างๆ พอเป็นแนวทางในเรื่องนั้นๆ พอเวลาเราไปซื้อหนังสือเราจะเลือกสิ่งที่ต้องการได้อย่างคุ้มค่า 555 บอกทำไมเนี่ย มาสนุกกันเถอะเรา 555
from : ]|-_-|[

ผมว่า ในความรู้สึกส่วนตัว เข้าไปเรียน ให้คนอื่นสอนให้ น่าจะทำความเข้าใจได้มากกว่าการที่นำหนังสือมาอ่านเองน่ะครับ เพราะเคยเอาหนังสือ java มาอ่าน แต่เขียนไม่ได้สักโปรแกรม แต่พอเข้าไปเรียน แล้วเข้าใจมากขึ้น แล้วยังเขียนโปรแกรมได้ด้วยน่ะครับ เลยมีความรู้สึกว่าที่เราอ่านมานั้นไม่ได้ช่วยเลย รู้งี้มาเรียนแต่แรกดีกว่า
from : แหะๆ

เรื่องขอเรื่องคืออยากรู้หลายอย่าง ถ้าไปเรียนหมดสงสัยจนแน่ 5 5 5 พอศึกษาไปสักพักจะรู้เองแหละครับว่าจารอดปล่าว 5 5 5 ถ้าไม่รอดก็ต้องศึกษาจากผู้รู้ หนังสือ สุดท้ายก็ไปเรียน ยังไงก้เอาเหอะ ถ้าอยากรู้ก็หมั่นศึกษา 5 5 5 ผมมาอีกทำไมเนี่ย
from : ]|-_-|[

จริงๆแล้วหนังสือในประเทศไทยมีน้อยที่เขียนบทความลึกซึ้ง อยากอ่านการเขียนการฟฟิกขั้นสูงก็จะต้องไปศึกษาเองทั้งนั้น ถึงมีก็แพงมาก และก็เคยไปดูที่ร้านขายหนังสือต่างประเทศอิจฉาเขามากเพราะมีทั้งนิตยสารที่บอกทุกอย่างไม่มีเม้มทั้งการเขียน 3D program และยังมีนิตยสาร สำหรับhacker เพราะเขากล้าที่จะทำเขถึงได้นำเราทุกครั้ง ถ้าคนไทยเขียนแบบนี้บ้างก็จะมี โปรแกรมเมอร์ดีๆที่ไม่ใช้ component เกิดใหม่อีกเพียบ
from : ว่าน

ใช่ๆ เห็นด้วย เน๊าะ เม้มๆ 5 5 5 ส่วนนึงคงเป็นเ้พราะวิชาความรู้อ่ะ ก็ต้องหวงกันหน่อย เดี๋ยวทำมาหากินลำบาก 5 5 5 ขืนเป็นกันหมดก้แย่จิ 5 5 5 แต่จริงๆ เน๊าะ หนังสือบางเล่มอ่านแล้วงง ว่าฉันซื้อมาทำไมเนี่ยหาอ่านเอาตามเวบก็ได้ 5 5 5 บางเล่มก้แปล help โปรแกรมขายกันเห็นๆ 5 5 5 ก็มี www.thaidev.com นี่แหละที่เป็นที่พึ่งได้ แถมฟรี 5 5 5 รุ่งๆ เน้อ
from : ]|-_-|[

การถกกันในเรื่องที่เป็นประโยชน์แบบนี้มีประโยชน์มากครับไม่ว่าคุณจะมีความคิดเห็นยังงัยคุณทุกคนเป็นคนที่มีคุณค่ามาก และจะนำความเจริญมาสูประเทศชาติเราครับ
from : Chin

สวัสดี ครับ ทุกๆ คน
ผมได้อ่าน ความคิดเห็น ทุกคนปกติ ไม่เคยอ่าน เพราะเจอแต่ด่ากันแต่พออ่าน บทความนี้แล้วกลับได้ความคิดรัฐที่จัดสอน นะ เขาคงหวังว่าในผู้อบรมทั้งหมด ขอแค่สักคน เป็น แบบ บิลเกตต์ ก็ ประสบผลสำเร็จแล้ว ผมขอบคุณ ทุกคน ที่ให้ความเห็นมาครับ ทำให้ผมเข้าใจโปรมแกรม ขึ้นเยอะ เมื่อก่อน 4 บท อ่าน ครึ่งปี ไม่รู้เรื่องเลยเพราะอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีทีอบรม ต้องศึกษาเอง ปัจจุบันนี้ สามารถ เขียนโปรมแกรม เล็กๆ ได้ แล้ว ยิ่งมาอ่านบทความ ของแต่ละคน ทำให้หูตาสว่าง ขึ้นมาก ขอบคุณทุกท่าน ครับ
from : วิโรจน์

อืมมมม... ผมว่ายังไงก็ต้องอัลกอริทึม และโครงสร้างการเขียนโปรแกรมน่ะแหละที่สำคัญ ชนิดตัวแปร เงื่อนไขการตัดสินใจ การวนรอบการทำงาน นี่สิหัวใจหลัก ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนไปใช้ภาษาโปรแกรมตัวใด คุณต้องเจอกับมันแน่
ผมมองว่าไลบรารี คอมโปเนนท์ หรือคอนโทรลก็แล้วแต่ ก็คือเครื่องมือช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมเพราะผ่านการทดสอบและใช้มาแล้วเขาถึงนำมาให้เราใช้ แต่ถึงยังไงคุณๆ ที่ยึดติดกับเครื่องมือเหล่านี้ก็ไม่สามารถทำทุกอย่างได้จากเครื่องมือพวกนี้ ผมไม่เชื่อว่าจะมีไลบรารี คอมโปเนนท์ หรือคอนโทรลที่เหมาะกับเราในทุกๆ ด้าน อย่างการแปลงตัวเลขเงินไปเป็นคำพูดภาษาไทยเช่น หกร้อยห้าสิบบาท ฝรั่งที่ไหนจะมาทำให้คุณ ถ้าคุณไม่เข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมจริงๆ แล้วคุณอาจต้องเขียนโค้ดเป็นหลายร้อยบรรทัด ขณะที่คนที่เข้าใจหลักการ อาจเขียนแค่ไม่กี่สิบบรรทัด...
สำหรับผมขอเรียกทุกท่านที่เข้าใจในหลักการและสามารถรังสรรค์โปรแกรม ไลบรารี คอมโปเนนท์ หรือคอนโทรลขึ้นมาได้ด้วยตัวเองว่า \\"โปรแกรมเมอร์\\" ครับ ส่วนท่านที่ต้องพึ่งพาไลบรารี คอมโปเนนท์ หรือคอนโทรลในการสร้างโปรแกรมอย่างมาก ผมขอเรียกว่า \\"ผู้พัฒนา(Developer)\\" ครับ
from : donga

ผมว่าหัวใจของ Programmer คืออัลกอลิทั่ม
ไม่ว่า machine code จนถึง Visual ทั้งหลาย
ใครก็ตามที่มีความ จำว่าตัวเองกำลังอยู่จุดใหน
ของโปรแกรม กำลังทำอะไร และจะเขียนอะไรต่อไป
มีโครงคร่าวๆอยู่ในหัว ก็เป็น Programmerได้ทั้งนั้น
และ Programmer ที่ดี วัดกันที่ ประสิธิภาพ
ของ อัลกอลิทั่มที่ใช้ และเวลาในการเขียนเท่านั้นเอง
from : [email protected]

สวัสดีครับ....ในความคิดเห็นของผม...ผมว่าการเขียนโปรแกรมให้สามารถที่ทำงานได้นั้นเป็นเรื่องที่สามารถที่จะทำได้ในช่วงเวลาอันสั้น....แต่การที่จะเขีนยโปรแกรมแล้ว...ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ในการเรียนรู้....เราอาจจะให้คนสองคนลองเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อทำการคำนวนอย่างนึง.....โปรแกรมของคนแรกอาจจะใช้เวลาในการคำนวน 10 วินาที.....ของคนที่สองอาจจะใช้ 2 นาที....ทำไมโปรแกรมเมอร์คนแรกถึงเขียนโปรแกรมที่สามารถคำนวนได้เร็วกว่าคนที่สอง? เพราะว่าเค้าเลือกใช้ algorithm ที่คำนวนได้เร็ว.....คำนวนในสิ่งที่จำเป็น.....นี่คือโปรแกรมเมอร์ที่เราต้องการให้สร้างโปรแกรมขึ้นมาให้พวกเราใช้....
ภาษาต่างๆที่มีใช้ในการเขียนโปรแกรมมีอยู่มากมาย.....แต่ละภาษาก็มีจุดเด่นและจุดด้อยในตัวของมันเอง.....ขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมเมอร์จะเลือกภาษาไหนให้เหมาะกับงานของเขา......
บางท่านอาจจะมองว่าการเป็นโปรแกรมเมอร์นั้นเหมือนจะงานประเภท one-man-show ....ถ้ามองเพียงผิวเผินก็อาจจะดูเหมือนอย่างนั้น......การสร้างโปรแกรมใหญ่ๆขึ้นมาซักโปรแกรม.....คงจะไม่สามารถทำได้ด้วยคนเพียงคนเดียว.....แต่โปรแกรมเมอร์ต้องมารวมตัวกัน....ปรึกษากัน...ทำปัญหาใหญ่หนึ่งปัญหาให้กลายเป็นปัญหาย่อยๆหลายปัญหาก่อน....และการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมนั้นก็ไม่ได้เริ่มต้นที่ได้ปัญหามาแล้วก็เริ่มเขียนโค้ด.....แต่เริ่มจากการที่ต้องทำความเข้าใจกับปัญหาก่อน.....ไม่ใช่โค้ดไปทำความเข้าใจไป....
from : [email protected]

ผมว่าอะไร มันก็ไม่ยากหรอกครับ
ขอให้รักมัน ก็พอ รักคอมพิวเตอร์ รักการเขียนโปรแกรม
อย่างผมก็เขียน internet programming มา 4 ปี แล้ว ส่วนใหญ่เขียนฟรี เพราะชอบมัน.

เขียนไปเถอะครับ ก่อนตายคุณต้องเก่งขึ้นแน่นอน
ทำด้วยมือ คิดด้วยสมอง
เก่งแน่นอน
from : eezman

ผมจบ ตรี Major Math minor com
ตอนนี้ต่อ โท คอมอยู่ จะจบแล้ว
มีความเห็นเรื่อง component ดังนี้

1. โปรแกรมที่ผมเขียนส่วนมากไม่ใช่ Business เป็นการคำนวณเป็นการแปลสัญลักษณ์มากกว่า คือ Data ต้องเปิด Text file อ่านบรรทัด ตัด comma เปิด ปิด วงเล็บเอง ใช้ C/C++ เขียน ซึ่งตรงนี้ผมบอกได้เลยว่า Data Structure และ Algorithms เป็นหัวใจที่สุด ผมใช้ Borland C++ 3.1 ใช้ class ที่เป็น stack, queue, list, dictionary, association จะมองว่าพวกนี้เป็น component ก็ได้ แต่เป็น NON-VISUAL การที่เราจะไป implement พวกนี้เองมันเหนื่อย งานเสร็จไม่ทันหรอก แต่ถ้าจะให้เขียนเองต้องทำได้ ส่วน interface ก็ใช้ OWL
อีกอย่างเรื่อง portable ถ้าเราใช้ BC++ 3.1 นะ แล้วจะ port ไป Linux ก็ต้องเขียนใหม่ และ Tools ที่ผมว่านั้น Borland เขาทิ้งไปจตั้งหลายปีแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องมาหา tools ตัวใหม่ที่ชื่อว่า STL ดังนั้นการใช้ \\"COMPONENT\\" ซึ่งมันก็คือ UNIT ใน pascal หรือคือ library หรือจะตั้งชื่ออะไรก็ตามเหอะ ไม่ผิด แต่อย่าให้มันคุมเรา ถ้า tools มันล้าสมัย คุณต้องหาทางออกได้ (เช่นกรณีผมเป็นต้น)

2. หลังๆนี้ผมมารับ Job ทำ Database ทั้วไป เห็นเลยว่าการใช้ Component พวกรับค่า field การต่อ Database นั้นทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นเยอะ ไม่งั้นไม่ทันกิน แน่เลย อิ อิ

\\"เขียนโปรแกรมเหมือนสร้างบ้าน component เหมือน อิฐกึ่งสำเร็จรูป coding เพียวๆเหมือนใช้ อิฐ อันเดียว ไปคิดเองว่าควรจะทำอย่างไร ถ้าวันหนึ่ง component หามาไม่ได้ freeๆ หรือไม่ตรงกับความต้องการ \\"
from : [email protected]

เรื่องที่ยากของการเขียนโปรแกรม ผมว่าเป็นเรื่องของอัลกอริทึ่ม ส่วนภาษานั้น ผมว่ามันเหมือนกัน สำหรับเรื่องของ component ผมว่าเป็น idea ที่ดีมาก

from : gayji

ถ้าการเป็น programmer เป็นได้ง่ายๆ ใช้เวลาแค่ช่วงสั้นๆ Programmer ก็คงจะไม่ขาดแคลน(หมายถึงคนที่ทำงานได้จริงๆ) หรอก จริงไหม

from : jay-ka

ถ้าการเป็น programmer เป็นได้ง่ายๆ ใช้เวลาแค่ช่วงสั้นๆ Programmer ก็คงจะไม่ขาดแคลน(หมายถึงคนที่ทำงานได้จริงๆ) หรอก จริงไหม

from : jay-ka

เห็นด้วยที่บอกว่า แพงมาก กกกกกกกกกกก.
บ้า หรือ เปล่า 4-5 หมื่น
from : non

ผมว่าเป็นโครงการเอาเงินที่ไปกู้มาจากต่างประเทศมาทำให้เหมือนมีโครงการรองรับเช่น โครงการฝึก Programmer นี้ ก็คงต้องรู้แล้วละว่ามีการกินกัน(เงิน) จากรํฐแน่นนอน ลองเอาไปคิดดีๆ ซิ (น่าสนสารคนไทยน่ะกว่าจะใช้เงินกู้เสร็จก็ 3 - 4 ชาติ)
from : Topi

เท่าที่อ่านมาก็ฟังได้ทุกคนครับ.. แต่ผมก็ขอเสนอแนะบ้างว่า เราเองต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินว่าจะไปเรียนในหลักสูตรนั้น ๆ หรือไม่ ก่อนไปก็ควรพิจารณาว่าสถาบันนั้นเน้นผลิตอะไร, ปริมาณ หรือว่าคุณภาพ แล้วคุณก็พิจารณาตัวคุณว่าคุณกำลังต้องการอะไร ถ้าต้องการกระดาษแผ่นหนึ่งโดยที่หวังว่าจะไปหาประสบการณ์จริงก็ทำได้ แต่ก็เสี่ยงว่าจะมีใครจ้างคุณหรือเปล่านั้นแหล่ะสำคัญ

from : Sak

รวม ๆ จากการอัดอั้นที่อ่านมาครับ
รำคาญพวกที่ชอบอวดตัวและ ดูถูกผู้อื่น
ต้องการให้กำลังใจ (ไม่สิ ต้องบอกว่าอธิบายสิ่งที่เป็นความคิดของผม)

ผมไม่คิดว่า การ เปิดโรงเรียนสอนเป็นสิ่งไม่ดี
และไม่คิดว่า ถ้าไม่เรียนจะไม่สามารถเป็นโปรแกรมเมอร์ได้
และคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด ของงานด้านโปรแกรมเมอร์ คือระบบงาน ถ้าคุณไม่รู้ระบบมันก็ไม่ต่างกับช่างที่ใช้เป็น ลูกมือ
อย่าว่าจะทำงานอะไรเลยครับ แค่บอกให้ทำยังทำไม่ถูกเลย เอาเป็นว่าคุณรู้จักคำว่า Dr Cr ไหม หรือ ระบบการติดตามหนี้เป็นอย่างไร
ระบบภาษีเป็นอย่างไร ถ้าคุณไม่รู้ bussiness พวกนี้คุณก็ไม่สามารถเป็น programmer จริง ๆ ได้เหมือนกัน
เพราะ programmer ต้องหา solution (ไอ้ algorithm ที่คุณเรียกกัน) มาแก้ไขปัญหา ซึ่งจริง ๆ ตอนคุณเรียนพวก
สัญญานไฟจราจร หรือ link list หรือ ฯลฯ มันก็เป็น bussiness ที่คุณเริ่มเรียนทั้งนั้น แล้วถ้าต่อไปคุณไม่รู้ระบบเพิ่มเติม
คุณจะทำอะไรได้

เหมือนพวกที่คิดว่าสิ่งที่เรารู้จะสำคัญมาก ถามจริง ๆ เถอะ ถ้า
ผมอยากบอกว่า ถ้าคุยมีความคิด ทำอะไรด้วยการไตร่ตรอง คิดหน้าคิดหลัง ก็เป็น algorithm ที่ดีแล้ว

ผมไม่รู้เหมือนกันว่า ผมจะเขียนมาทำไม
ผมอยากบอกแค่เพียงว่า งานบน computer นี้มันก็เหมือนงานทั่วไปละครับ ไม่ยาก ไม่ง่าย
หรือจะมองเป็นภาษาพูดเลยก็ว่าได้ครับ ถ้าคุณมีปัญหาพูดภาษาคนได้คุณก็เป็น programmer ได้เหมือนกัน

แต่ถ้าคุณต้องการเป็น programmer หรือเป็นคนที่มีความสามารถ คุณต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเองครับ
ดู ๆ ไป ยิ่งไม่ต่างกับงานอาชีพอื่นๆ เลย
from : inlove

ผมว่าของแบบนี้มันอยู่ที่ Algorithm น่ะเพราะถ้าคุณมีความรู้ด้าน Syntax มากเท่าไรแต่ไม่มีกระบวนการคิดที่จะเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องให้ได้โปรแกรมที่ดีที่สุดทุกอย่างก็จบเห่ มิหนำซำ้ไอ้ Algorithm คำนี้มันไม่ใช่จะครอบคลุมเฉพาะด้านการ Programming เท่านั้นยังจะนำไปใช้ในการคิดการทำงานด้านอื่นๆในชีวิตประจำวันของเราอีกด้วยนะครับ ในเรื่องของความพยายามนั้นผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ \\" ต้องแลก \\" ขอบตาอันหมองคลำ้เหมือน Panda และ หน้าตาอันซูบซีด หมองคลำ้เหมือนคนติดยาไปกับการศึกษาการเขียนโปรแกรมเหมือนกันซึ่งบางคนอาจจะมองว่ามันไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้ผมก็ตอบได้ว่าใช่ แต่ผมเป็นแบบนี้อยากจะเป็นแบบนี้ก็ต้องแลกในความคิดผมไม่สิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง ผมเคยเขียนโปรแกรมส่งอาจารย์โดยไม่ได้หลับนอนนั่งอยู่หน้า Computer ตลอด 2 วัน 3 คืน อันที่จริงไปลอกของคนอื่นเอาก็ได้แต่ผมไม่ทำ เพราะสิ่งเหล่านี้เข้าไปอยู่ในสายเลือดผมซะแล้ว


from : ชายผู้นี้

ทำเอาตูเหนื่อยเลย อ่านจนตาลายไปหลดแล้ว...Algorithm สำคัญสุด
from : ิbabies

เห็นด้วยครับกับการที่มีพื้นฐานที่ดี กับการเขียนภาษาคอมฯ ได้หลายภาษา มีอัลอกรีทึ่มที่ดีครับ แต่ เรากำลัง เป็นพวก \\"ลัทธิบูชาความยาก หรือเปล่าครับ\\" เพราะสมัยก่อนไม่มี โปรแกรมพวก component พวกนี้ โปรแกรมเมอร์สมัย นั้น ก็เลยต้องลำบากกับการที่ตัวเองต้อง ลองผิด ลองถูกกับ การหาความรู้ เป็นระยะเวลานานๆ แล้ว พวกเขา ก็คิดเสียดายที่จะปรับตัว กับมัน เสียดายที่จะทิ้งมันไป เพราะอาจจะคิดว่า เมื่อสมัยก่อนที่หามาแล้ว มันเสียเปล่าไม่ได้ใช้ ลองคิดดูนะครับ ผมไม่โต้แย้ง เลย สำหรับการมีพื้นฐานที่ดี เรื่องการเขียนโปรแกรม แต่ก็ไม่อยากจะให้ต้าน โปรแกรมสำเร็จรูป คำว่า Programmer นั้น คำที่มนุษย์ บัญญัติ สำหรับผู้ ให้กำเนิด โปรแกรมนั้น
from : ลัทธิ บูชาความยาก

ผมว่าการเขียนโปรแกรม เป็นแค่เครื่องมืออันนึงเท่านั้น ในการประกอบอาชีพโปรแกรมเมอร์ต่างหาก การเขียนโปรแกรมที่แท้จริง ถ้าเปรียบกับการวาดภาพก็คือ ไม่ว่าคนจะเรียนรู้วิธีการวาดได้ดีที่สุดในโลก คุณก็วาดภาพไม่ได้ถ้าคุณคิดไม่ออกว่าจะวาดรูปอะไร ศิลปินชื่อดังของโลก ก็อาจจะจับภู่กันไม่ถูก ก็ได้ หลักสูตรการเขียนโปรแกรม ก็คือการเขียนโปรแกรมจริงๆ ใครๆ ก็รู้ได้ครับ และเค้าก็ไม่ผิด แล้วความคิดในการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ความคิดที่ได้มาจาการสั่งสมครับ
from : คนสู้ชีวิต

จริงๆน่ะการเรียนการสอนสมัยนี้หยิบมาแบะไม่รู้ว่ามันมายังงัยเป็นยังงัยOK.วันที่เรียนทำได้แต่เวลาเอาไปใช้จริงๆหรือประยุกใช้ยังไม่ได้ไม่รู้ว่าอาจารย์กลัวเด็กจะเก่งมากไปมั้ง
from : บอย

สมัยก่อนเรานั่งรถเมล์ แต่พอมีรถไฟฟ้าเราก็นั่งรถไฟฟ้าเพื่อให้มันเร็วขึ้น เพราะมันมีการแข่งขันต้องเร่งรีบ ในอนาคตเราก็จะมีรถไฟใต้ดินอีก มันก็เป็นทางเลือกของประชาฃนที่จะใช้ ในขณะที่เราก็ไม่ได้ลืมการนั่งรถเมล์ นะ หรือ บางคนนั่งเครื่องบิน แล้วแต่นะ เฮ้ย เกียวกันหรือปล่าวเนี่ย คิดเองแล้วกัน ไม่ชอบพูดตรง ๆ แบบว่าเพี้ยนนะ
from : [email protected]

>>> ที่คุณว่า ก็มีส่วนถูกอยู่มาก แต่ ระยะเวลาไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไหร่ การเอาใจใส่ การค้นคว้า หาสิ่งใหม่ ๆ ต่างหาก
>>> จะว่าไป คุณมีไฟแช็ค แต่คุณยังจะใช้ก้อนหินทุบกันอยู่หรือ เพื่อที่จะให้ได้ไฟ้เหมือนกันหรือ
>>> ระบบต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาใหม่เรื่อย ๆ เพื่ออะไรละ ก็เพื่อจะให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
>>> ก็ถูกครับ ที่ว่า ปัจจุบัน มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย ออกมาให้ใช้ แล้วเราจำเป็นมากแค่ไหนที่จะต้องกลับไป ทำวิธีเดิม เมื่อเรามองคอนเซ็ปต์ ออก จำเป็นต้วยหรือที่จะต้อง กลับไปหาต้นเหตุของมัน
>>> จุดหมาย มีหลายทางที่จะเดินไป ให้ถึง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวก ความถนัด ของแต่ละคน จำเป็นต้วยหรือที่จะต้องไปทางเดียวกัน ( ประหยัดน้ำมันว่างั้น )
>>> ผมเชื่อว่า โปรแกรมเมอร์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องเรียนรู้โปรแกรมอะไรเลย แต่โปรแกรมเมอร์ ในอนาคต คือในการออกแบบที่สามารถใช้อิสระในความคิดที่ไม่ต้องติดไม่ต้องจำฟังก์ชั่นอะไรเยอะแยะ นั่นคืออิสระในการออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์ในอนาคตคือ ผู้ที่คิดเป็น .....
>>> โปรแกรมเมอร์ในอนาคตคือ ผู้ที่คิดเป็น ..... ย้ำ ...
>>> Mr. Way <<< [email protected]

from : ^o^

เห็นด้วยกับบทความของคุณอย่างมากเลยครับ ยิ่งเราใช้ components หรือ controls บ่อยเกินไปเราก็ไม่ต่างจากโปรแกรมเมอร์ที่พิการทักษะ(ไม่คิดที่จะสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ)หรอกครับ ในตอนนี้ผมก็ศึกษาการใช้ VB 6, VC++ ซึ่งผมอยากรู้เกี่ยวกับการสร้าง components หรือ controls ว่าสร้างขึ้นมาด้วย sourc code พื้นฐานอะไร? เออ...พี่ครับมี web หรือ หนังสือดีๆ ที่จะสอนผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไหมครับ? ถ้าเป็นไปได้กรุณา mail ไปที่ [email protected] จะขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
from : merose

อาจารย์ผมเค้าสอนไว้ว่า
program=algorithm+data structure
ครับ
from : b_rag

จากที่อ่านบทความแล้วก้อ จากคำแนะนำต่างๆ ตัวฉันเองก็เป็นนักเรียนคอมที่ค่อนข้างจะทุ่มเทให้กับการเขียนโปรแกรม เช่่นเดียวกัน คิดว่า Algorithm เป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมถ้าเรามีสิ่งนี้แล้ว ไม่ว่าจะใช้ ภาษาใด มันก็ปรับเปลี่ยนได้ไม่ยาก แต่Algorithm จะเกิดขึ้นได้ คงต้องเกิดจากการฝึกฝน
อยากทราบความหมายของ Algorithm แบบกระจ่าง ท่านใดมีความสามารถให้ความหมายได้ จะพระขอบคุณอย่างยิ่ง
[email protected]
from : เด็กคอมอาชีวนครปฐม09 [email protected]

ผมชอบความคิดตรงที่ว่าเราน่าจะอ่าน text กันได้แล้ว
ในครั้งแรกที่ผมหัดเขียนภาษา pascal (เมื่อ 4-5 ปี
ที่แล้ว) ผมเสียเงินจำนวนมากไปกับหนังสือคู่มือการ
เขียน pascal ซึ่งสุดท้ายผมได้พบกับความผิดหวัง หนังสือ
4 เล่มที่ผมทยอยซื้อมาเรื่อย ๆ ไม่ได้ให้อะไรที่แตกต่าง
กันเลย นอกจากพื้นฐานที่ผมอ่านแล้วอ่านอีก ผมอยาก
จะถามว่า ไม่มีคนไทยคนไหนคิดจะทำหนังสือออกมา
ให้ดีเลิศประเสริฐสุดไปเลยหรือไงครับ ประมาณว่าไม่ใช่
เขียนมาแต่พื้นฐานแล้วทำอะไรไม่ได้เลย เปิด help file
อ่านยังให้ผลดีกว่าซื้อหนังสือพวกนั้นอีก
คนไทยน่ะ ทำอะไรจริ งๆ จัง ๆ กันได้แล้วนะครับ ไม่ใช่ว่า
\\"ผมมีความรู้ ผมจึงเขียนหนังสือ แต่เขียนยังไงก็ช่างเถอะ
เพราะคนอ่านก็ไม่ใช่เรา เป็นใครก็ไม่รู้ มาเร็ว มาซื้อหนัง
สือของผมไปอ่านกัน\\"
เพื่อประเทศชาติของเรา มาช่วยกันพัฒนาสักยภาพ
ด้วยหนังสือที่มีคุณค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ดีกว่า
from : คน ๆนึง

Computer Language is \\"TOOL\\"

Algorithm is \\"Step of work\\"

เครื่องมือเช่น ฆ้อน สิ่ว เลื่อย จอบ

บ้านมีขั้นตอนสร้างอย่างไร

ท่านทราบดีแล้ว หากรู้จักใช้เครื่องมือ และขั้นตอน คงไม่ยาก จะใช้เครื่องมืออะไร เหมาะกับงานใด บ้านก็จะเสร็จเร็ว สวย น่าอยู่ สมบูรณ์

ส่วนท่านที่ยังไม่เข้าใจว่าอาชีพในงานคอมพิวเตอร์มีอะไร
ลองหาหนังสือเรียนคอมพิวเตอร์ ปี 1 มาอ่านใหม่ หาคำต่อไปนี้
- Information Center Manager
- System Analyst
- Database Administrator
- Programmer
1. System Programmer
OS, Compiler, Utillity
2. Application Programmer
Database, Productivity, Web, Special
- System Operator
- User
1. Specialist User
2. Advance User
3. Programming User
4. End User

แล้วท่านคิดว่าท่าน เป็นใคร เพราะแต่ละหน้าที่ มีความรู้ความชำนาญ
from : p_

Computer Language is \\"TOOL\\"

Algorithm is \\"Step of work\\"

เครื่องมือเช่น ฆ้อน สิ่ว เลื่อย จอบ

บ้านมีขั้นตอนสร้างอย่างไร

ท่านทราบดีแล้ว หากรู้จักใช้เครื่องมือ และขั้นตอน คงไม่ยาก จะใช้เครื่องมืออะไร เหมาะกับงานใด บ้านก็จะเสร็จเร็ว สวย น่าอยู่ สมบูรณ์

ส่วนท่านที่ยังไม่เข้าใจว่าอาชีพในงานคอมพิวเตอร์มีอะไร
ลองหาหนังสือเรียนคอมพิวเตอร์ ปี 1 มาอ่านใหม่ หาคำต่อไปนี้
- Information Center Manager
- System Analyst
- Database Administrator
- Programmer
1. System Programmer
OS, Compiler, Utillity
2. Application Programmer
Database, Productivity, Web, Special
- System Operator
- User
1. Specialist User
2. Advance User
3. Programming User
4. End User

แล้วท่านคิดว่าท่าน เป็นใคร เพราะแต่ละหน้าที่ มีความรู้ความชำนาญต่างกันไป แล้วแต่ความสามารถครับ
ที่สำคัญท่านต้องทำงานในหน้าที่ และ แสวงหาความรู้ในสายงานของตนให้ดีที่สุด ทำงานเป็นทีมตามบทบาท และงานที่ดี สังคมจะเจริญเอง สาธุ
from : [email protected]

เห็นด้วยจังค่ะ ทำงานด้านคอมฯค่ะ แต่ไม่ได้จบด้านคอมมา จบบัญชีด้วยซ้ำไป แต่ได้มาทำงานตรงนี้ อยากจะบอกว่าเพราะใจรัก ....เห็นเปิดสอนกันเยอะแยะน่ะค่ะ อยากจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ \\"ใจ\\" ค่ะ
from : คนทำงานหลวง

ส่วนผมแล้ว ผมคิดว่า Algorithm + Concept + Creative และก็ใจรักครับ
from : Action

เท่าที่ผมอ่านๆมาผมคิดว่า ประเด็นเจ้าของกระทู้อยู่ที่จะไปเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ดีหรือไม่ดี ตลอดจนแนวคิดการเป็นโปรแกรมเมอร์ ทำให้หลายฝ่ายถกเถียงกันใหญ่... ในฐานะที่ผมกำล้งก้าวเข้าสู่การเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม(ไม่กล้าเรียกว่าเป็นโปรแกรมเมอร์)ผมยึกหลักที่ว่า\\"ไม่ว่าปัญหาใดๆ ก็มีทางแก้ด้วยกันทั้งนั้น..และทางแก้ก็ไม่ได้มีทางเดียว...\\"
คุณลองหาคำตอบข้อนี้ดู 4+4=?
from : ^O^mega

เท่าที่ผมอ่านๆมาผมคิดว่า ประเด็นเจ้าของกระทู้อยู่ที่จะไปเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ดีหรือไม่ดี ตลอดจนแนวคิดการเป็นโปรแกรมเมอร์ ทำให้หลายฝ่ายถกเถียงกันใหญ่... ในฐานะที่ผมกำล้งก้าวเข้าสู่การเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม(ไม่กล้าเรียกว่าเป็นโปรแกรมเมอร์)ผมยึกหลักที่ว่า\\"ไม่ว่าปัญหาใดๆ ก็มีทางแก้ด้วยกันทั้งนั้น..และทางแก้ก็ไม่ได้มีทางเดียว...\\"
คุณลองหาคำตอบข้อนี้ดู X+Y = 4
คุณคิดว่า X ,Y เป็นอะไรได้บ้าง
from : ^O^mega

ต่างคนต่างความคิด ต่างอุดมการณ์
แต่ถ้ารักที่จะทำงานด้านนี้ ก็ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอกครับ ขอให้คนที่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์จงอย่าท้อแท้ละกันครับ

from : ขอด้วยคน

ความคิดเห็นของแต่ละคน มันไม่เหมือนกันหรอกครับ แต่คนที่รักด้านนี้จริง ไม่ว่าจะประสบปัญหายังไงก็จะฝ่าฟันไปได้
from : Serra

ความเป็นจริงในสภาพที่โหดร้ายอย่างปัจจุบันที่มนุษย์ได้ชื่อว่าคน\\"ไทย\\" ต้องตกเป็นทาสฝรั่งตาน้ำข้าว ตื่นเช้าขึ้นก็ต้องใช้ยาสีฟัน กินอาหารฟาสต์ฟู๊ด ฟาดพิซซ่า ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ฝรั่ง ใช้ IDEA ของฝรั่ง ให้ต่างชาติเข้าครอบงำความคิดของตน เขาสร้างอะไรมาตนก็ใช้ตามอย่าง ขาดการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ขาดความคิดอ่านอย่างเช่นปุถุชนทั่วไป คอยหาแต่ Component ใหม่ๆ โดยไม่คิดว่า คน \\"ไทย\\" ทุกวันที่มีสักกี่ % ที่สามารถเขียนโปรแกรมด้วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องใช้ Visual จะหวังการพัฒนาที่ไรัศักยภาพของตน โดยหวังพึ่งกับสิ่งที่คนอื่นสร้างให้ แล้วคิดหรือครับว่าสิ่งที่ท่านสนับสนุนต่างชาติมันเป็นการถูกต้อง เอาแค่เกิดภาวะสงคราม IT เพียงแค่นี้คนไทยก็ไม่มีศักยภาพไปเอาชนะเขาได้แล้ว เพราะ Setup โปรแกรมก็ยังไม่เป็นกันเลย ฝันไปเถอะคุณ PEGASUS ปีกหัก
from : ขอแจมด้วยคน

ผมเห็นด้วยครับ ผมเพิ่งหัดเขียนโปรแกรม vb คิดว่าที่อาจารย์พูดมาูถูกต้องครับ และผมคิดว่า อยากใหโปรแกรมเมอร์ไทย เป็น ไท คือ มีความคิดใหม่ ๆ และจินตนาการที่กว้าง เขียนโปรแกรมที่ แหวกแนวและเป็นประโยชน์ ขึ้นมาเอง ไม่ใช่เรียนแบบฝรั่ง ผมคิดว่าแต่ละคนมีความคิดของตัวเอง แต่จะมีกี่คนที่ดึงความเป็นตัวของตัวเองออกมา เพื่อเขียนโปรแกรมใหม่ ๆๆ ให้กับ สังคมไทย....
from : wittaya [email protected]

น่าคิดเนาะ...
ผมไมจำเป็นที่จะต้องซ่อมรถยนต์...แต่..ผมขับมันได้
สบาย อย่าไปปวดหมองเลยท่าน...ใช้มันให้ตรงกับงาน
ให้ได้ประโยชน์สูงสุด นั่นแหละคุ้มแล้ว
คุณเขียนCAIเพื่อทำเกมง่ายๆ ให้ลูก ใช้เวลาเท่าไร
แต่เดินเข้าร้านCOMแป๊บเดียว ลูกได้เล่น..(อันไหนคุ้มค่ากว่า..)
ให้คนอืนมีงานทำบ้างครับ...อาจารย์
from : คนยโส(ธร).....

ที่โพสต์ไว้ก็เห็นด้วยบางส่วน ไม่เห็นด้วยบางส่วน
ที่เห็นด้วยก็คือ จ่ายแพงไป ไอ้ที่บอก 50,000 นะ ผมไปเรียนมาแล้ว ก็รู้สึกว่ามันแพงจริง เพราะจบวิทย์คอมฯบางที่ไม่ถึงเลย
แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือ คุณให้อ่านหนังสือ ฝึกฝนอย่างเดียว ถ้าใจรักจริงนะ ในกรณีนี้ ถ้าคุณอ่านหนังสือ แล้วเขียนตาม ถ้าอ่านแล้วเข้าใจ ทำได้ก็ฉลุย ก็สบายไป แต่ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ติด ๆ ขัด ๆ พอมาหัดเขียนโปรแกรม เดี๋ยวบั๊ก เดี๋ยวบั๊ก มันจะเอากำลังใจที่ไหนมานั่งเขียนล่ะ
ตามความคิดผม ผมว่าก็ต้องมีคนแนะนำนะ อย่างที่ไปเรียนมา เสีย 50,000 เรียนแค่ 7 วิชา แต่เขาก็สอนดีในระดับหนึ่ง ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การหัดเขียนอัลกอริทึม ไปจนหัดเขียนโปรแกรม คล้าย ๆ กับว่าเขาฝึกหัดให้นำไปใช้งานได้เลย ก็คือได้ผล จากที่ไม่กล้าใช้คอมฯ จนเขียนโปรแกรมได้ และได้งานทำด้วย ก็เลยคิดว่าถ้าเราจะมุ่งเน้นมาด้านนี้ก็ควรจะไปหาวุฒิด้วยล่ะครับ
from : ไม่เห็นด้วย

อยากให้เขียนมาแบบที่แชร์ความรู้กันจะดีกว่า มีประโยชน์กว่า น่าสงสารคนไทยจัง ไร้สาระ
from : golf

ใช่ ต้องเริ่มจาก เบสิกก่อน text mode เขียน Code เองก่อน แล้วค่อยใช้ tools ที่อำนวยความสะดวก
from : Dorothy

เรื่องผลดีของการใช้คอมโพเนนต์ คงไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากตนเองไม่ค่อยจะมีประสบการณ์เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยคอมโพเนนต์มากนัก แต่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเอาแต่ใช้คอมโพเนนต์แบบลากแล้วก็แปะ มันก็คงจะทำให้โปรแกรมเมอร์สมัยใหม่ทำอะไรไม่ค่อยเป็นนัก นอกจากการลากมาวางแล้วแปะ โดยที่ไม่ต้องโค้ด คนที่เก่งก็น่าจะเป็นคนที่เขียนคอมโพเนนต์ให้คนอื่นใช้นั่นเอง ความคิดเห็นนี้อาจไม่ถูกก็เป็นได้ เพียงแต่ผมคิดและรู้สึกอย่างนี้มานานแล้ว คิดมาหลายหนก็ยังเหมือนเดิม
แต่สิ่งที่อยากจะแสดงความคิดเห็นมากกว่าคือ การอ่าน text book นั้น ผมแนะนำว่าถ้าอยากเขียนโปรแกรมได้เก่ง ๆ โดยมีตัวอย่างที่หลากหลายและ advance ก็ควรจะไปหา text book มาอ่าน ไม่เชื่อคุณลองไปเดินดูตามร้านหนังสือที่มี text book ขายดูแล้วเปิดดูหลาย ๆ เล่มสิ มีแต่เนื้อหาที่เกินพื้นฐานซะเป็นส่วนใหญ่ให้อ่านเยอะแยะตาแป๊ะเลย นอกจากนี้บางเล่มยังมี idea ดี ๆ ให้ลองศึกษาอีกต่างหาก ไม่ได้มีใจเป็นทาสฝรั่งนะ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วคุณลองไปหาหนังสือภาษาไทยมาอ่านซิ ก็จะรู้สึกเหมือนความคิดเห็นหลาย ๆ คนที่จะพบว่ามีแต่เนื้อหาพื้น ๆ มาก ไม่ค่อยมีตัวอย่างให้ดูเลย ถ้าเอาแต่อ่านหนังสือภาษาไทยที่ไม่ค่อยจะให้อะไรกับผู้อ่านแบบนี้อยู่ ผมว่าคนอ่านก็คงไม่ไ ปไหนนักหรอก ในขณะที่ text book โดยมากแล้วเขาจะปูพื้นให้ตั้งแต่พื้นฐานและมีตัวอย่างให้ศึกษาค่อนข้างเยอะและจะขยับขึ้นไปทีละ step จนถึง advance (แม้จะไม่ทุกเล่มก็ตาม) อยากจะเห็นหนังสือภาษาไทยที่มีเนื้อหาน่าอ่านเช่น text book ทั้งหลายเช่นกัน จะสนับสนุนเต็มที่ นอกจากนี้แม้แต่ความพิถีพิถันหรือจะเรียกว่าค

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)