ประวัติย่อ CV ขอบอกว่าครบครับ อ่าน 299

"ประวัติย่อ" นี้ มีชื่อเรียก เป็นภาษาอังกฤษ ได้หลายคำ คือ

- Personal data
- Cirriculum vitac เรียกต่อๆ ว่า CV
- bio-data
- data sheet และคำที่ใช้กันบ่อยก็คือ
- Resume

 

อนึ่ง คำว่า "Resume" นี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุปหรือย่อ ฉะนั้นเวลาเขียน จะใช้การสะกดแบบ ฝรั่งเศส หรือแบบภาษาอังกฤษ ก็ได้ด้วยกันทั้ง 2 แบบครับ ปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่าๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จากข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อมกับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่า ผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไรไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น

 

1. If you are interested, please send application in English with resume, detailed with your experience and qualifications together with one recent photo to............
(ถ้าท่านสนใจ โปรดส่งจดหมายสมัคร เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยประวัติย่อและรายละเอียด เกี่ยวกับประสบการณ์และคุณวุฒิ พร้อมกับทั้งรูปถ่ายหนึ่งรูปไปยัง......)

 

2. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to............
(โปรดยื่นจดหมายสมัครงาน พร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนวประวัติย่อ และรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่...........)

 

3. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to..............
(โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)

 

4. Please address your application with fulll resume, salary expected, recent photograph, and telephone number to...............
(โปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ รูปถ่ายปัจจุบัน และหมายเลขโทรศัพท์ไปยัง.........)

 

5. Interested person please send application with full resume, salary required and a recent photo to .........)
(ผู้ที่สนใจโปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ และรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)

 

6. Please apply in person or in handwriting in English with full resume giving details of working experience, qualifcations, contacting place and telephone number, and send a copy of transcript, ID Card, House Registration together with one recent photo to..........
(โปรดสมัครด้วยตนเอง หรือส่งจดหมายสมัครงาน เขียนด้วยลายมือเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งประวัติย่อ ซึ่งให้รายละเอียด เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน คุณวุฒิ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และส่งสำเนาผลการศึกษา บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปยัง...)

 

7. Please apply in writing giving full resume and recent photo to........
(โปรดเขียนจดหมายสมัครงานด้วยลายมือตนเอง พร้อมทั้งให้ข้อมูลเต็มในประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง.......)
 


 

รายละเอียดในประวัติย่อ (Details in resume) Resume เปรียบเสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี (a good door opener) กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับ ใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษว่า ใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วย รายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบ ที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

 

  • ลักษณะของ Resume ที่ดี

     

  • ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A 4 (หรือประมาณ 8"X12") และเป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และตรงต่อประเด็นจริงๆ เท่านั้น

     

    อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ก็ไม่ควรย่อว่า 6/1/90 ควรเขียนคำเต็มเช่น January 1, 1990 ส่วนคำอื่นๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง

     

    ในกรณีที่ระบุงานอดิเรก (Hobbies) เข้าไว้ด้วย ก็ควรระวังว่า งานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้น มีความเหมาะสมกับงาน ที่เราสมัครหรือเปล่า เช่น ถ้าสมัครเป็นพนักงานทำบัญชี (Book Keeper) ถ้ามีงานอดิเรกประเภท ที่ต้องใช้ความละเอียด อย่างเช่น เย็บปักถักร้อย (Sewing & Kniting) ก็จะดีหรือเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant) ถ้าชอบว่ายน้ำ ก็ดีเพราะยามฉุกเฉินจะได้ช่วยผู้โดยสารได้

     

    รูปแบบของประวัติย่อ (Resume Style) ที่จริงแล้ว Resume นี้ มีหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้ยกมาให้ดูเพียง 2 แบบเท่านั้น เพราะไม่ต้องการให้เกิดการสับสน และเลือกเอาเฉพาะแบบ ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น


     

    ส่วนประกอบของประวัติย่อ

     

    1. หัวเรื่อง (Heading) ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)

    2. จุดมุ่งหมาย (Objective) จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้

    3. การศึกษา (Education) เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษาจบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษาชั้นสูงสุด ไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุดระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ มีอะไรบ้าง อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณีที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น

       

      Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา) ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษาและวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้

    4. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมาก ในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณา เกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสม กับงานในหน่วยงาน ของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรระบุงาน ที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งาน ที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน ก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น

    ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงาน ที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่นๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียด ที่สำคัญของงาน ที่เคยทำคือ

     

    1. วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment)
    2. ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company's name and address)

    ส่วนประกอบของประวัติย่อ (ต่อ)

    สมมติเหตุการณ์ว่า ในกรณีที่เราไม่สามารถ ส่งรายชื่อบุคคลอ้างอิงได้ทันที ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เราก็สามารถพูดต่อรองกับนายจ้างได้ โดยใช้สำนวนภาษาอังกฤษ แบบใดแบบหนึ่งดังนี้ครับ

    สำนวนที่ใช้ในการต่อรองมีมากมาย เช่น

    1. Present employers know of my intention to take new position. Specific references will be provided* on request.

       

    2. References will be supplied* on request.

       

    3. Complete references on request.

       

    4. Full references be sent on request.

       

    5. Complete references will be supplied on request.

       

    6. References Will be sent upon request.

       

    7. Detailed resume will be sent on request.

       

    8. Full references will be forwarded on request.

       

    9. Will be provided on request.

       

    10. Upon request.

       

    11. References covering both education and experience will be supplied on request.

       

    12. Referrences on request.

       

    13. Full resume will be forwarded on request.

       


    การใช้รูปถ่ายในการสมัครงาน...

    ในการสมัครงานนั้น เราอาจจะแนบรูปถ่าย ไปพร้อมกับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) หรือแปะติดกับประวัติย่อ (Resume) เลยก็ได้ ซึ่งอาจดูได้จากรูปแบบประวัติย่อ ที่จะกล่าวถึงต่อไป

     

    1. ใช้รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว (หรือขนาดพาสปอร์ต)

       

    2. เขียนชื่อนามสกุลไว้หลังรูป เพื่อป้องกันการสับสนทุกครั้ง

       

    3. ควรใช้รูปถ่ายหน้าตรง ขาวดำ หรือสี ไม่สวมแว่นดำ (แต่ถ้าเป็นแว่นสายตาสีไม่ทึบก็ไม่ต้องถอดแว่นออกก็ได้)

       

    4. ควรใช้รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และอย่าใช้รูปอัด โดยไม่ได้ทำจากฟิล์มของจริง ซึ่งจะทำให้รูปดูซีด ไม่มีชีวิตชีวา

       

    5. ควรส่งรูปถ่ายให้ตรงกับ ความต้องการของนายจ้าง และถูกกาลเทศะ มีผู้สมัครงานบางคนส่งรูปถ่ายเต็มตัว แต่งกายนุ่งน้อยห่มนิด ไปสมัครก็มี ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ผู้สมัครเองก็ควรใช้วิจารณญาณ วิเคราะห์ดูให้เหมาะสม


     

    7 องค์ประกอบสำคัญของประวัติย่อ

    เนื้อหาของ ประวัติย่อ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว จะเขียน Resume ให้ดีได้ยาก

    ส่วนประกอบของประวัติย่อ

    1. หัวเรื่อง (Heading) ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)

       

    2. จุดมุ่งหมาย (Objective) จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้

       

    3. การศึกษา (Education) เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษา จบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษา ชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุด ระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ มีอะไรบ้าง อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณี ที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศ ที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)

       

      ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษา และวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียน เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้

       

    4. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควร ระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น

       

      ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงานที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่นๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียด ที่สำคัญของงานที่เคยทำคือ

       

      • วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment)
      • ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company''s name and address)

    5. คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications) เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น

       

    6. รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details) รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย

       

      • Sex = เพศ
      • age = อายุ
      • Date of birth = วันเดือนปีเกิด
      • height = ความสูง
      • weight =น้ำหนัก
      • health = สุขภาพ (ใช้ good health หรือ Excellent)
      • address = ที่อยู่
      • Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม
      • religion = ศาสนา
      • Military status = สถานภาพทางทหาร
      • Place of birth = สถานที่เกิด
      • nationality = สัญชาติ
      • race = เชื้อชาติ

      และในส่วนนี้อาจจะเพิ่มงานอดิเรก (Hobbies) เข้ามาอีกก็ได้ถ้ามี เช่น ว่ายน้ำ (Swimming) ไต่เขา (Hiking) หรือสะสมแสตมป์ (Stamp-collecting) เป็นต้น

    7. บุคคลอ้างอิง (References) บุคคลที่เป็นนายจ้างเก่าของเรา จะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคลอ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควรอ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น

     

    คะแนน:
    ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)