ลักษณะจดหมายสมัครงานที่ดี อ่าน 1,697
1. เอกสารการสมัครงาน
เอกสารสมัครงานที่ผู้สมัครจะส่งทางไปรษณีย์ไปยังสถานประกอบการเพื่อพิจารณาควรจะประกอบด้วย จดหมายนำสำหรับสมัครงาน (Application Letter) และประวัติย่อ (Resume) รวมทั้งเอกสารสำคัญต่าง ๆ อาทิ
- ปริญญาบัตร
- ประกาศนียบัตร
- ทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ใบผ่านงาน
- เอกสารทางทหาร
- อื่นๆ |
|
|
|
2. สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Resume
เอกสารสมัครงานประกอบด้วย จดหมายนำสำหรับสมัครงาน (Application Letter) และประวัติย่อ (Resume) รวมทั้งเอกสารสำคัญต่าง ๆ ในส่วนนี้เป็นส่วนของการแนะนำ การเขียนประวัติย่อ (Resume) ซึ่งเน้นแบบตามลำดับเวลา โดยเริ่มเขียนจากปัจจุบันแล้วย้อนกลับไปอดีต ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด
หัวข้อที่ต้องมี
|
1. วัตถุประสงค์ ตำแหน่ง ขอบเขตลักษณะงานที่ต้องการ |
2. ข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์, หมายเลขโทรศัพท์ |
3. ประสบการณ์ เรียงจากปัจจุบันย้อนไปอดีต |
4. วุฒิการศึกษา เรียงจากหลังสุดไป |
5. กิจกรรมนอกหลักสูตร, งานสังคม, กิจกรรมชุมชน |
6. ความสามารถพิเศษ, งานอดิเรก |
7. ความสำเร็จ, จากประสบการณ์การทำงาน, ในระหว่างเรียน, ผลงาน, ทุนการศึกษา |
8. ข้อมูลส่วนบุคคล, งานอดิเรก, บุคลิก ลักษณะเด่นที่มีประโยชน์ต่องาน |
9. ผู้รับรอง/ บุคคลอ้างอิง |
10. รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว แต่งกายสุภาพ เหมาะสม
|
ข้อควรจำในการเขียน Resume
|
1. เขียนอย่างตรงไปตรงมา ตามความจริง |
2. ให้ข้อมูลอย่างเจาะจงรัดกุม |
3. เน้นจุดแข็ง จุดเด่น ข้อดีที่ตรงกับคุณสมบัติ ที่ตำแหน่งคนนั้น ๆ ต้องการ |
4. ใช้กระดาษขาวคุณภาพดี A4 ไม่เกิน 2 แผ่น |
5. ใช้เครื่องพิมพ์คุณภาพดี |
6. ตัวหนังสือพอดี มีขนาดตัวหลากหลาย เน้นข้อความ |
7. ระวังตัวสะกด การเว้นวรรคตอน |
8. ถ่ายเอกสารเก็บไว้ อ่านทวนก่อนสัมภาษณ์ |
9. ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องวงเล็บ ชื่อสกุลภาษาไทยด้วย
|
ข้อไม่ควรทำในการเขียน Resume
|
1. อย่าเขียนยาวเยิ่นเย้อ หรือสั้นเกินไป |
2. อย่าโกหก หรือถ่อมตนเกินควร |
3. อย่าระบุเงินเดือนที่เก่า ถ้าไม่กำหนดไว้ |
4. อย่าเขียนด้วยลายมือ ถ้าไม่กำหนดไว้ |
5. อย่าใช้กระดาษสี หรือมีหัวจดหมาย |
6. อย่าส่งเป็นสำเนาที่ซีดจาง อ่านยาก |
7. อย่าระบุว่าทำไมออกจากงานเก่า |
8. อย่าลืมระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ |
9. อย่าลอก Resume จากตำราทั้งหมด |
10. อย่าเขียนตลก พร่ำเพรื่อ |
|
3. ข้อที่ต้องระวังในการกรอกใบสมัคร
ถ้ารู้จักวิธีที่ถูกต้องในการกรอกใบสมัคร รวมทั้งให้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์มากที่สุด จะทำให้มีโอกาสมากในการผ่านการคัดเลือกในรอบแรก ได้เข้าไปสู่รอบต่อไป กรอกใบสมัครจึงต้องให้ความสำคัญ และระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้
ลายมือ
ถ้าเป็นการสมัครงานทางจดหมายคงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้เพราะใช้พิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์แทนลายมือได้ แต่สำหรับการกรอกใบสมัคร ข้อที่ต้องระวังในเรื่องลายมือ คือ
- ต้องเขียนให้อ่านง่าย บางคนลายมือสวยแต่อ่าน
- ตั้งใจเขียน คนที่ตั้งใจเขียนใบสมัครแสดงถึงความจริงจังในการมาสมัครงาน และแสดงว่าเป็นคนปราณีต มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน
- เวลากรอกใบสมัคร ไม่ต้องรีบจนเกินไป อาจทำให้เขียนผิด ต้องมีการขูดฆ่าขีดลบจึงทำให้ใบสมัครไม่เรียบร้อย |
ความละเอียดรอบคอบ
การให้ข้อมูลที่ผิดพลาดในใบสมัครทำให้เสียโอกาสที่จะได้ทำงาน จึงต้องระมัดระวังทำความเข้าใจคำสั่งก่อน แม้ว่าจะมีความผิดพลาดในการกรอกใบสมัคร แต่ถ้าตรวจดี ๆ ก็จะพบและแก้ไขได้ก่อนที่จะส่งใบสมัคร |
พยายามให้ข้อมูลให้มากที่สุด
การสัมภาษณ์ เป็นโอกาสดีที่จะแสดงความสามารถหรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาความเหมาะสมของผู้สมัคร ส่วนของช่องการศึกษาที่ให้กรอกข้อมูลว่าจบการศึกษาวุฒิอะไร และจบจากสถาบันไหน การจัดทำเอกสารประกอบสมัครอย่างดี มีข้อมูลที่น่าสนใจ และมีความตั้งใจทำอย่างพิถีพิถัน ก็ทำให้ได้รับการพิจารณาเรียกมาสัมภาษณ์ |
|
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)