ลักษณะจดหมายสมัครงานที่ดี อ่าน 9,325

1. เอกสารการสมัครงาน
      เอกสารสมัครงานที่ผู้สมัครจะส่งทางไปรษณีย์ไปยังสถานประกอบการเพื่อพิจารณาควรจะประกอบด้วย จดหมายนำสำหรับสมัครงาน (Application Letter) และประวัติย่อ (Resume) รวมทั้งเอกสารสำคัญต่าง ๆ อาทิ

        - ปริญญาบัตร
        - ประกาศนียบัตร
        - ทะเบียนบ้าน
        - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
        - ใบผ่านงาน
        - เอกสารทางทหาร
        - อื่นๆ

   
2. สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Resume
      เอกสารสมัครงานประกอบด้วย จดหมายนำสำหรับสมัครงาน (Application Letter) และประวัติย่อ (Resume) รวมทั้งเอกสารสำคัญต่าง ๆ ในส่วนนี้เป็นส่วนของการแนะนำ การเขียนประวัติย่อ (Resume) ซึ่งเน้นแบบตามลำดับเวลา โดยเริ่มเขียนจากปัจจุบันแล้วย้อนกลับไปอดีต ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด
หัวข้อที่ต้องมี
1. วัตถุประสงค์ ตำแหน่ง ขอบเขตลักษณะงานที่ต้องการ
2. ข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์, หมายเลขโทรศัพท์
3. ประสบการณ์ เรียงจากปัจจุบันย้อนไปอดีต
4. วุฒิการศึกษา เรียงจากหลังสุดไป
5. กิจกรรมนอกหลักสูตร, งานสังคม, กิจกรรมชุมชน
6. ความสามารถพิเศษ, งานอดิเรก
7. ความสำเร็จ, จากประสบการณ์การทำงาน, ในระหว่างเรียน, ผลงาน, ทุนการศึกษา
8. ข้อมูลส่วนบุคคล, งานอดิเรก, บุคลิก ลักษณะเด่นที่มีประโยชน์ต่องาน
9. ผู้รับรอง/ บุคคลอ้างอิง
10. รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว แต่งกายสุภาพ เหมาะสม

ข้อควรจำในการเขียน Resume
1. เขียนอย่างตรงไปตรงมา ตามความจริง
2. ให้ข้อมูลอย่างเจาะจงรัดกุม
3. เน้นจุดแข็ง จุดเด่น ข้อดีที่ตรงกับคุณสมบัติ ที่ตำแหน่งคนนั้น ๆ ต้องการ
4. ใช้กระดาษขาวคุณภาพดี A4 ไม่เกิน 2 แผ่น
5. ใช้เครื่องพิมพ์คุณภาพดี
6. ตัวหนังสือพอดี มีขนาดตัวหลากหลาย เน้นข้อความ
7. ระวังตัวสะกด การเว้นวรรคตอน
8. ถ่ายเอกสารเก็บไว้ อ่านทวนก่อนสัมภาษณ์
9. ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องวงเล็บ ชื่อสกุลภาษาไทยด้วย

ข้อไม่ควรทำในการเขียน Resume
1. อย่าเขียนยาวเยิ่นเย้อ หรือสั้นเกินไป
2. อย่าโกหก หรือถ่อมตนเกินควร
3. อย่าระบุเงินเดือนที่เก่า ถ้าไม่กำหนดไว้
4. อย่าเขียนด้วยลายมือ ถ้าไม่กำหนดไว้
5. อย่าใช้กระดาษสี หรือมีหัวจดหมาย
6. อย่าส่งเป็นสำเนาที่ซีดจาง อ่านยาก
7. อย่าระบุว่าทำไมออกจากงานเก่า
8. อย่าลืมระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
9. อย่าลอก Resume จากตำราทั้งหมด
10. อย่าเขียนตลก พร่ำเพรื่อ


3. ข้อที่ต้องระวังในการกรอกใบสมัคร
       ถ้ารู้จักวิธีที่ถูกต้องในการกรอกใบสมัคร รวมทั้งให้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์มากที่สุด จะทำให้มีโอกาสมากในการผ่านการคัดเลือกในรอบแรก ได้เข้าไปสู่รอบต่อไป กรอกใบสมัครจึงต้องให้ความสำคัญ และระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้
ลายมือ
     ถ้าเป็นการสมัครงานทางจดหมายคงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้เพราะใช้พิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์แทนลายมือได้ แต่สำหรับการกรอกใบสมัคร ข้อที่ต้องระวังในเรื่องลายมือ คือ
   - ต้องเขียนให้อ่านง่าย บางคนลายมือสวยแต่อ่าน
   - ตั้งใจเขียน คนที่ตั้งใจเขียนใบสมัครแสดงถึงความจริงจังในการมาสมัครงาน และแสดงว่าเป็นคนปราณีต มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน
   - เวลากรอกใบสมัคร ไม่ต้องรีบจนเกินไป อาจทำให้เขียนผิด ต้องมีการขูดฆ่าขีดลบจึงทำให้ใบสมัครไม่เรียบร้อย
ความละเอียดรอบคอบ
     การให้ข้อมูลที่ผิดพลาดในใบสมัครทำให้เสียโอกาสที่จะได้ทำงาน จึงต้องระมัดระวังทำความเข้าใจคำสั่งก่อน แม้ว่าจะมีความผิดพลาดในการกรอกใบสมัคร แต่ถ้าตรวจดี ๆ ก็จะพบและแก้ไขได้ก่อนที่จะส่งใบสมัคร
พยายามให้ข้อมูลให้มากที่สุด
     การสัมภาษณ์ เป็นโอกาสดีที่จะแสดงความสามารถหรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาความเหมาะสมของผู้สมัคร ส่วนของช่องการศึกษาที่ให้กรอกข้อมูลว่าจบการศึกษาวุฒิอะไร และจบจากสถาบันไหน การจัดทำเอกสารประกอบสมัครอย่างดี มีข้อมูลที่น่าสนใจ และมีความตั้งใจทำอย่างพิถีพิถัน ก็ทำให้ได้รับการพิจารณาเรียกมาสัมภาษณ์
คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)