STD064 การออกแบบอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารพิเศษ และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหว รุ่นที่ 12 อ่าน 8,523

จบการอบรม

หัวข้อ: การออกแบบอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารพิเศษ และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหว รุ่นที่ 12 จบการอบรม
รหัสหัวข้อ: STD064
ผู้บรรยาย-วิทยากร: ศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
ผู้ช่วยบรรยาย / อื่นๆ: -
ค่าอบรม: 5,000 บาท ลดเหลือ 4,500 บาท ลดพิเศษ
เปิดรับสมัคร: 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 26 ตุลาคม 2561
วันที่อบรม/สัมมนา: 27 ตุลาคม 2561 เวลา 08:30 น. (ถึง / ช่วงเวลา)
28 ตุลาคม 2561 เวลา 17:00 น.
จำนวนวันที่อบรม: (18 ชม.) 2
รายละเอียด: เริ่มอบรมวันเสาร์ที่ 27 ต.ค. 2561 และ วันอาทิตย์ที่ 28 ต.ค. 2561
สถานที่อบรม: ห้องภาณุมาศ ชั้น 10 โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ คลิกดูแผนที่
ที่นั่งทั้งหมด (Max): 99 ที่นั่ง
ที่นั่งถูกจองแล้ว: 56 ที่นั่ง รายชื่อผู้เข้าร่วมการอบรม คลิกตรวจสอบรายชื่อ (ผู้ที่ชำระเงิน / จอง หรือในกรณีฟรีคือผู้ที่ถูกอนุมัติแล้ว)
เหลือที่นั่งว่างตอนนี้: 43 ที่นั่ง
สิทธิประโยชน์:
ระดับของหลักสูตร ขั้นพื้นฐาน ขั้นใช้งานจริง ขั้นสูงสุด
 
   


ชมรูปบรรยากาศการอบรมได้ที่นี่

การวางแผนและบริหารโครงการก่อสร้างด้วยระบบ BIM โดย Navisworks รุ่นที่ 1 (6 - 7 ต.ค.61)  การออกแบบอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารพิเศษ และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหว รุ่นที่ 12 (27 - 28 ต.ค.61)

อบรมการออกแบบอาคารสูง และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหว รุ่น 12 (Facebook)
 

 
 


อบรมที่ =>  ห้องภาณุมาศ ชั้น 10 โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ

ตอนนี้ปิดรับสมัครแล้วครับ.....

 



เล่มที่ใช้ในการอบรมครั้งนี้...

เอกสารคู่มืออ้างอิง + คู่มือปฏิบัติการ + คู่มือการทำงาน

คู่มืออบรมปกแข็งอย่างดี 1 เล่ม + VDO บรรยาย + VDO เพิ่มเติม +

(Special Editon V.12...จัดทำพิเศษ คู่มืออบรม.. คุณภาพแบบ Textbook)




 
 

 

 

 

ถ้ายังไม่เป็นสมาชิก.........ต้องสมัครสมาชิกด้วยนะครับ

(สมัครสมาชิก......กรุณาคลิกที่นี่)
 

 


วัตถุประสงค์ และ เหตุผล :

เพื่อให้วิศวกร นิสิต นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจทั่วไป สามารถเข้าใจถึงการออกแบบโครงสร้างอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารต้านทางแรงแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง และกล้าที่จะเลือกใช้อย่างถูกวิธี โดยเน้นการสอนแบบสมัยใหม่ เน้นทฤษฎีและการนำไปใช้โดยสามารถลงมือทำงานภาคปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึงการสอนครั้งนี้เน้นการสอนตามมาตรฐานและข้อกำหนดของวิศวกรรมสถาน และส่วนการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวนั้นภายใต้กฎกระทรวงฉบับที่ 49 โดยเสนอวิธีการคำนวณแรงเฉือนที่ฐานอาคารตามข้อกำหนดของ Uniform Building Code (UBC)  โดยการเรียนรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการสอน โดยการจัดการอบรมครั้งนี้ทางทึมงาน TumCivil.com ได้จัดทำหนังสือคู่มือตำราของวิทยากรให้ด้วยซึ่งเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่อบรมเพื่อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดและได้เป็นคู่มือตำราอ้างอิง

"รศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป เป็นหนึ่งในกูรูเรื่องการออกแบบโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว และ ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว .. และล่าสุดท่านยังได้รับเกียรติให้เสนอ ผลงานทางวิชาการชื่อ "Desing Spectra Based on Constant-Damage Concept" ในการประชุมใหญ่นานาชาติทางวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา ในระดับภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 7 ที่จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น"

         ในการออกแบบอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหวนั้น ถือว่าเป็นความรู้ที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบชิ้นส่วนองค์อาคารต่างๆโดยเชื่อมองค์ความรู้เข้าด้วยกัน โดยการออกแบบอาคารดังกล่าวนอกจากจะออกแบบให้รับน้ำหนักทางดิ่งได้แล้ว ยังต้องมีการออกแบบให้สามารถต้านทางแรงกระทำทางด้านข้างได้ด้วย และผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีความเข้าใจหลักการในการออกแบบอาคารอย่างถูกต้องและเพียงพอ โดยการอบรมในครั้งนี้จะประกอบด้วยการออกแบบให้รับแรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกซึ่งใช้ในการออกแบบอาคารทั่วไป และแรงกระทำทางด้านข้างเนื่องจากแรงลมและแรงแผ่นดินไหว ซึ่งในต่างประเทศวิธีการออกแบบให้รับแรงกระทำด้านข้างนี้นิยมกันมากในหลายประเทศ และเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของวิศวกรไทยให้เรียนรู้และเข้าใจในการออกแบบดังกล่าวได้ ทาง TumCivil.com จึงได้จัดหลักสูตรนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองและเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ดังกล่าว

        แรงแผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีความซับซ้อนในการเกิด ซึ่งทำให้คาดการณ์ขนาดความรุนแรงและระยะเวลาในการเกิดได้ยาก ในการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง ขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกำนิดแผ่นดินไหว ระยะห่างจากแนวรอยเลื่อนไปยังตัวอาคาร ระยะเวลาการสั่นของพื้นดิน ความถี่ของคลื่นแผ่นดินไหว และสภาพชั้นดินของที่ตั้งอาคาร หากกล่าวโดยลักษณะของแรงกระทำต่ออาคาร พฤติกรรมของแรงแผ่นดินไหวกระทำต่ออาคารแตกต่างจากแรงลม เนื่องจากแรงลมเป็นแรงดันกระทำที่ตัวอาคารโดยตรง แต่แรงแผ่นดินไหวเป็นแรงกระทำที่ฐานอาคาร ผลักให้ฐานอาคารมีการเคลื่อนที่ไป เป็นผลให้เกิดแรงเฉื่อยจากภายในมวลของโครงสร้าง ส่งแรงผลักอาคารกลับมา จึงทำให้โครงสร้างสั่นไหว ขนาดการสั่นของโครงสร้างนี้ขึ้นอยู่กับค่ามวล สติฟเนส ความหน่วงของโครงสร้าง และอัตราเร่งที่ฐานจากแรงแผ่นดินไหว เป็นหลัก นอกจากนี้ ขนาดการสั่นของโครงสร้างยังขึ้นอยู่กับคาบการสั่นธรรมชาติของโครงสร้าง และคาบการสั่นของคลื่นแผ่นดินไหวรวมทั้งคาบการสั่นของชั้นดินอีกด้วย ดังนั้นวิศวกรผู้ออกแบบอาคารจึงจำเป็นต้องมีความรู้ลักษณะของแรงแผ่นดินไหว และพฤติกรรมของโครงสร้างต่อแรงแผ่นดินไหวอย่างพอเพียง

        โครงสร้างอาคารที่ดีจะต้องมีกำลังความแข็งแรงเพียงพอเพื่อป้องกันการพังทลายขององค์อาคาร มีค่าสติฟเนสขององค์อาคารรับแรงด้านข้างเพียงพอเพื่อป้องกันการโยกไหวตัวที่มากเกินไป มีรูปทรงที่มั่นคงเพื่อป้องกันการพลิกคว่ำเนื่องจากโมเมนต์ของแรงกระทำด้านข้าง และมีค่าความเหนียวที่เพียงพอเพื่อให้สามารถโยกไหวตัวไปมาได้เนื่องจากแรงกระทำในลักษณะกลับไปมา การออกแบบโครงสร้างเหล่านี้ วิศวกรผู้ออกแบบจะต้องกำหนด วิเคราะห์และคำนวณ รวมทั้งเลือกระบบโครงสร้างอาคารอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจจะใช้ โครงข้อแข็ง โครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือน โครงสร้างค้ำยัน หรือโครงสร้างผสมโครงข้อแข็ง-กำแพงรับแรงเฉือน อย่างใดอย่างหนึ่ง โครงสร้างเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการรับแรงแผ่นดินไหวที่แตกต่างกัน การเลือกประเภทของโครงสร้างว่าจะใช้แบบใด จึงควรมีความรู้ในพฤติกรรมของโครงสร้างแต่ละแบบอย่างเพียงพอ

        นอกจากนี้ รูปแบบและลักษณะของโครงสร้างอาคารก็เป็นสิ่งสำคัญต่อกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหว รูปแบบอาคารที่ดีควรมีลักษณะสมมาตรทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มีการจัดวางตำแหน่งระบบโครงสร้างต้านทานแรงด้านข้างอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการบิดตัวของอาคารเนื่องจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างตำแหน่งของแรงกระทำและแรงต้านทานแผ่นดินไหว มีการออกแบบขนาดและจัดวางตำแหน่งเสาและผนังกำแพงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการวิบัติแบบชั้นอ่อน เป็นต้น ดังนั้น การออกแบบโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหวจึงเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความรู้และทักษะพิเศษแตกต่างจากการออกแบบอาคารทั่วไป

        ซึ่งการอบรมนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวในประเทศไทย โดยจะเน้นเฉพาะแนวความคิด หลักการที่สำคัญ ผลกระทบ ข้อกำหนดต่างๆ กฎกระทรวง พร้อมทั้งตัวอย่างการออกแบบที่เข้าใจง่ายและถูกวิธีพร้อมทั้งสามารถนำไปใช้งานได้


ตารางเวลา และหัวข้อบรรยาย :

 
  การออกแบบอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารพิเศษ และ อาคารต้านทานแผ่นดินไหว รุ่นที่ 12
 
 
 วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2561
 
 - 7.00 – 8.00 น.   -  ลงทะเบียน / รับเอกสารอบรม + DVD + บัตรป้ายชื่อ

  - 8.30 – 10.30 น.

  -  หลักการออกแบบอาคาร การออกแบบเบื้องต้นตรวจสอบความมั่นคง การวิเคราะห์โครงสร้าง
  -  การพิจารณาโครงสร้าง การกำหนดวิธีการออกแบบตามมาตรฐาน
  -  การจัดน้ำหนักบรรทุก น้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้าง
  -
 การวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างรับแรงลม แรงแผ่นดินไหว
 
     << พักเบรค 15 นาที >>

  - 10.45 – 12.15 น.

  -  การออกแบบพื้นชนิดต่างๆ
  -  การออกแบบพื้นไร้คาน Flat Slab
  -  การออกแบบเสา
 
     << พักทานอาหารกลางวัน >> (แจกคูปองให้กับผู้อบรม)

 - 13.15 – 14.45 น.


  -  การออกแบบโครงข้อแข็ง
  -
 การออกแบบโครงสร้างรับแรงเฉือน Shear wall
  -
 การออกแบบโครงสร้างผสม
 

     << พักเบรค 15 นาที >>

  - 15.00 – 17.00 น.

  -  การออกแบบผนัง Precast
  -
 การออกแบบฐานรากอาคาร
  -
 การออกแบบฐานรากรับเครื่องจักร
  -
 ระบบฐานรากอาคาร Mat Foundation, เสาเข็ม
 
    -  พักผ่อนตามอัธยาศัย พบปะพูดคุย สอบถามปัญหากับวิทยากร

 * กำหนดการและเวลา อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของผู้อบรม
 
 
  
 
 วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2561
 
 - 7.00 – 8.00 น.   -  ลงทะเบียน

  - 8.30 – 10.30 น.

  -  ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่ออาคาร และ ความรู้พื้นฐานของแผ่นดินไหว
  -  พลศาสตร์ของโครงสร้างสำหรับแรงแผ่นดินไหว
 
     << พักเบรค 15 นาที >>

  - 10.45 – 12.15 น.

  -  อิทธิพลของรูปแบบอาคารต่อกำลังต้านทานแผ่นดินไหว
  -  ระบบโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
  -  ข้อกำหนดและการออกแบบอาคารตาม มยผ.
 
     << พักทานอาหารกลางวัน >> (แจกคูปองให้กับผู้อบรม)

 - 13.15 – 14.45 น.


  -  ตัวอย่างการคำนวณ ตาม มยผ.
  -
 การออกแบบความแข็งแรงของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  -  ตรวจสอบโมเมนต์พลิกคว่ำ
 

     << พักเบรค 15 นาที >>

  - 15.00 – 17.00 น.

  -  ตัวอย่างการออกแบบความแข็งแรงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  -  สรุปเทคนิคการคำนวณและออกแบบอาคาร
 
    -  พักผ่อนตามอัธยาศัย พบปะพูดคุย สอบถามปัญหากับวิทยากร

 * กำหนดการและเวลา อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของผู้อบรม
 

 

วิทยากร / ผู้บรรยาย :

รศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป (V22)
• ผู้แต่งตำราหนังสือ การออกแบบอาคาร Building Design
• รองศาสตราจารย์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีปทุม
• อนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
• กรรมการพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

จัดโดย :

ศูนย์อบรมและสัมมนาทางวิศวกรรม (TumCivil.com Training Center)  และ บ.ยูโลจี กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จก.

สิ่งที่จะได้รับวันอบรม :

  • คู่มืออกกแบบอาคารสูง อาคารต้านแผ่นดินไหว ปกแข็งอย่างดี 1 เล่ม

  • ใบรับรองการอบรมโดยวิทยากร

  • VDO การสอนระหว่างในห้องเรียน 1 ชุด / 1 ท่าน

  • อาหารกลางวัน อาหารว่าง และ กาแฟ พร้อมของว่างตลอดการอบรม

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม :

  • วิศวกรโยธา วิศวออกแบบ วิศวกรโครงสร้างที่สนใจหาความรู้เพิ่มเติม

  • วิศวกรจบใหม่ที่ต้องการเสริมความเชื่อมั่นในการออกแบบ

  • วิศวกรที่ต้องการทบทวนความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมในการออกแบบ

สอบถามเพิ่มเติม :

คุณตั้ม หรือ [email protected] (กรณีนิติบุคคล)

 


 

 

ถ้ายังไม่เป็นสมาชิก.........ต้องสมัครสมาชิกด้วยนะครับ

(สมัครสมาชิก......กรุณาคลิกที่นี่)
 


 


สัญลักษณ์และคุณภาพเพิ่มเติมสำหรับรายการนี้







 


ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)