โปรแกรม KUslope 2.0 (For WinXP) เป็นโปรแกรมวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโปรแกรม RE5 โดยคุณ ชูเลิศ จิตเจือจุนเป็นผู้พัฒนาในการควบคุมดูแลของ รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง KuSlope เป็นโปรแกรมที่ใช้วิธี Simplified Bishop ในการคำณวน
|
รายละเอียดของโปรแกรม: โปรแกรม KUslope (manual เป็นภาษาไทยครับ)
โปรแกรมวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินโดยวิธี Simplified Bishop โดยการวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานของลักษณะผิวการเคลื่อนพัง เป็นส่วนโค้งของวงกลม มีความสามารถในการคำนวณ หาจุดที่มี ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยต่ำสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นโปรแกรมวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโปรแกรม RE5 โดยคุณ ชูเลิศ จิตเจือจุนเป็นผู้พัฒนาในการควบคุมดูแลของ รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง KuSlope เป็นโปรแกรมที่ใช้วิธี Simplified Bishop ในการคำนวน โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- การวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานของลักษณะผิวการเคลื่อนพัง เป็นส่วนโค้งของวงกลม
- สามารถกำหนดชั้นดินที่แตกต่างกันได้หลายชั้น (Multi Layer)
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของความดันน้ำ ได้โดยกำหนด Piezometric Surface หรือ Pore Water Pressure Ratio
- มีความยืดหยุ่นในการควบคุมรัศมี และจำนวนวงกลมที่คาดว่าจะพัง
- มีความสามารถในการคำนวณหาจุดที่มี ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยที่ต่ำที่สุด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้โปรแกรม KUslope เป็นส่วนหนึ่งในโครงการระบบผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดิน ซึ่งจะสามารถนำไปเชื่อมต่อกับ โปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ KUXslope ได้ต่อไป
ประวัติและที่มาของโปรแกรม KUslope
การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ความมั่นคงของลาดดินนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำโปรแกรม REAME (Rotational Equilibrium Analysis of Mutilayered Embankments) ของ Huang(1957) มาพัฒนาต่อเป็นช่วงระยะเวลาดังนี้
- พ.ศ. 2530 ได้มีการพูดคุยสอบถามกันระหว่าง ดร.วรากร กับ คุณสมพร ทำให้เกิดเป็นโปรแกรม ชื่อ RE ที่เขียนด้วย Interpreted Basic
- พ.ศ. 2531 -2352 ดร. วรากร ได้พัฒนาต่อบน Complied Basic เป็น RE1-RE3
- พ.ศ. 2533 สุเทพ ทำการพัฒนาบนภาษา Pascal โดยปรับปรุงเรื่องการแสดงผล และความเร็วในการคำณวน ใช้ชื่อโปรแกรมว่า RE4
- พ.ศ. 2535 สามารถ ได้พัฒนาโปรแกรมบนภาษา C เป็น RE5 ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นหลายส่วนอาทิ เช่น สามารถบันทึกข้อมูลแล้วนำกลับมาแก้ไขได้ เพิ่มความรวดเร็วในการวิเคราะห์ แต่โปรแกรม RE5 ก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ เช่น Failure Surface ตัดกับส่วนที่เป็นน้ำในลักษณะผิวโค้ง ไม่สามารถคำณวนในกรณีที่มีเส้นผิวน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ไม่สามารถหาค่าอัตราส่วนปลอดภัยโดยการกำหนดจุดศูนย์กลางและรัศมี เป็นต้น
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์/ โทรสาร 0-2579-2265
โทรศัพท์ 0-2942-8555 ต่อ 1313, 1139
|
|
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)