ridge (1) |
สันเนิน : สันเนินซึ่งมีพื้นที่ลาดลงไปทั้งสองด้านหรือมากกว่า เหมาะสำหรับการวางแนวคลองส่งน้ำ เพราะจะทำให้สามารถส่งน้ำจากคลองได้ทั้งสองด้าน |
runoff, ground water |
น้ำท่าใต้ดิน : ส่วนของน้ำที่ไหลซึมลงไปในดินกลายเป็นน้ำใต้ดิน แล้วไหลลงสู่ทางน้ำธรรมชาติในลักษณะน้ำพุธรรมชาติ (spring) |
runoff, overland |
น้ำท่าบนผิวดิน : สวนหนึ่งของน้ำฝนที่ตกลงมาเหนือพื้นที่รับน้ำฝนแล้วไหลบนผิวดินไปลงลำน้ำ |
scraper (1) |
เครื่องจักรกลงานดินชนิดหนึ่งใช้ในการขุด และขนย้ายดิน |
sediment (1) |
ตะกอน : วัตถุต่าง ๆ ที่กระแสน้ำพัดพามา เช่น ดิน หิน ทราย และตกจมลงสู่ต้องน้ำ เมื่อกระแสน้ำลดความเร็ว |
sedimentation (1) |
การตกตะกอน : การที่ตะกอนในน้ำจมลงสู่ท้องน้ำเมื่อกระแสน้ำลดความเร็ว |
seed bedding |
แปลงตกกล้า |
siphon, inverted |
ท่อเชื่อมโค้งลง : อาคารที่เป็นท่อโค้งลงให้น้ำในคลองไหลผ่านลอดสิ่งกีดขวาง เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางน้ำต่าง ๆ เป็นต้น |
soil separates |
อนุภาคดินแบ่งตามขนาด : อนุภาคของดินที่พิจารณาตามขนาดของมัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ทราย (sand) ตะกอนดิน (silt) และดินเหนียว (clay) ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ 2.00 ถึง 0.02 มม. ,0.02 ถึง 0.002 มม. และ 0.002 มม. ลงไป ตามลำดับ |
soil, alluvial |
ดินตะกอนลุ่มน้ำ : ดินที่เกิดในที่ราบลุ่ม มีตะกอนมาทับถมทุกปี เช่น 1. alluvial cone เนินตะกอนรูปกรวย : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มี การเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบและตะกอนสะสมกันพูนเป็นรูปกรวย 2. alluvial fan เนินตะกอนรูปพัด : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการ เปลี่ยนแปลงระดับของน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบ ซึ่งจะทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลงไม่สามารถพาตะกอนบางส่วนไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมในลักษณะแยกกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด 3. alluvial plain ที่ราบตะกอนน้ำพา : ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลล้นสองฝั่งแม่น้ำท่วมบริเวณดังกล่าว และนำตะกอนมาสะสม ถ้าเป็นที่ราบขนาดเล็กเรียกว่า ที่ลุ่มราบตะกอนน้ำพา หรือคำโบราณเรียกว่า ที่น้ำไหลทรายมูล (alluvial flat) |