water, available น้ำที่พืชนำไปใช้ได้ : น้ำในรูปของความชื้นในดินที่พืชนำไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตเป็นน้ำดูดซึม (capillary water) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่างความชื้นชลประทาน (field capacity) กับความชื้นที่จุดเหี่ยวเฉาถาวร (permanent wilting point) โดยแสดงอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ของน้ำต่อน้ำหนักดินแห้ง หรือปริมาณน้ำต่อหน่วยความลึกของดิน บางทีเรียกว่า available soilmoisture
water, free น้ำอิสระ : น้ำในดินส่วนที่สามารถระบายออกไปจากช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่ได้ ด้วยแรงดึงดูดของโลก แล้วไหลลงสู่ชั้นดินที่ลึกกว่าเมื่อดินนั้นอยู่ในสภาพอิ่มตัวหรือเกือบจะอิ่มตัว
water, hygroscopic น้ำที่หุ้มเม็ดดิน : น้ำหรือความชื้นในดินซึ่งจับยึดติดแน่นเป็นเยื่อบาง ๆ รอบเม็ดดิน แรงจับยึดนี้มีมากจนพืชไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้ และน้ำไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงดึงดูดของโลกและแรงดูดซึม (capillary force) บางทีเรียกว่า hygroscopic moisture
waterlogging สภาพน้ำขังใต้ผิวดิน : สภาพของดินที่มีน้ำใต้ดินอยู่ในระดับสูงเกือบถึงผิวดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตลดลงต่ำกว่าปกติ
weir, broad-crested ฝายสันกว้าง : ฝายที่มีสันแบนราบและมีความกว้างของสัน (วัดตามทิศทางของกระแสน้ำ)ยาวกว่าความสูงของแผ่นน้ำที่ไหลข้ามฝาย
weir, diagonal ฝายสันยาวทแยงมุม : ฝายสันยาวคือมีความยาวของสันฝายตามการออกแบบยาวกว่าความกว้างของทางน้ำมาก จึงต้องสร้างให้แนวสันฝายทแยงมุมกับทิศทางการไหลของน้ำ
weir, masonary ฝายหินก่อ : ฝายที่ทำจากหินก่อหรือคอนกรีต มีน้ำหนักมากเพื่อต้านกระแสน้ำด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง บางทีเรียกว่า gravity weir
weir, submerged ฝายจม : ฝายซึ่งมีระดับน้ำด้านท้ายน้ำสูงกว่าหรือเท่ากับระดับสันฝาย
weir, trapezoidal ฝายสี่เหลี่ยมคางหมู : ฝายวัดน้ำสันคมซึ่งมีช่องให้น้ำผ่านที่สันฝายเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ถ้ามีลาดด้านข้าง 4:1 เรียกว่า cipolletti weir
zone, aeration เขตอิ่มอากาศ : เขตหรือส่วนชั้นใต้ดินที่มีน้ำบรรจุอยู่ แรงดันของน้ำในเขตนี้จะน้อยกว่าแรงดัน ของบรรยากาศเพราะน้ำในส่วนของชั้นใต้ดินบรรจุอยู่ในช่องว่างเล็ก ๆ ซึ่งมีอากาศหรือก๊าซอยู่ด้วยภายใต้ความกดบรรยากาศ เขตอิ่มอากาศจะอยู่ระหว่างเขตอิ่มน้ำกับผิวดินตอนบน บางครั้งเรียกว่า zone of aeration
Browse Dictionary
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z