water duty ชลภาระ : ปริมาณน้ำชลประทานที่ต้องส่งให้พื้นที่เพาะปลูกต่อหนึ่งหน่วยเวลาต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
water master หัวหน้างานส่งน้ำและบำรุงรักษา เดิมเรียกนายตรวจชลประทาน
water requirement ความต้องการน้ำของพื้นที่เพาะปลูก : ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ส่งให้พื้นที่เพาะปลูกในช่วงเวลาที่กำหนด
water table, perched ระดับน้ำใต้ดินเทียม : ระดับของผิวหน้าของน้ำใต้ดินที่อยู่เหนือชั้นดินซึ่งน้ำซึมผ่านไม่ได้
water year ปีน้ำ : ช่วงระยะเวลาต่อเนื่องกัน 12 เดือน ซึ่งมีช่วงที่มีน้ำสูงสุดอยู่ตรงกลาง สำหรับประเทศไทยจะเริ่มจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคมของปีถัดไป
water, available น้ำที่พืชนำไปใช้ได้ : น้ำในรูปของความชื้นในดินที่พืชนำไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตเป็นน้ำดูดซึม (capillary water) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่างความชื้นชลประทาน (field capacity) กับความชื้นที่จุดเหี่ยวเฉาถาวร (permanent wilting point) โดยแสดงอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ของน้ำต่อน้ำหนักดินแห้ง หรือปริมาณน้ำต่อหน่วยความลึกของดิน บางทีเรียกว่า available soilmoisture
water capillary น้ำดูดซึม : น้ำในดินที่ถูกจับยึดไว้ด้วยแรงดูดซึม (capillary force) ของช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดเล็ก เป็นน้ำส่วนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
water, free น้ำอิสระ : น้ำในดินส่วนที่สามารถระบายออกไปจากช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่ได้ ด้วยแรงดึงดูดของโลก แล้วไหลลงสู่ชั้นดินที่ลึกกว่าเมื่อดินนั้นอยู่ในสภาพอิ่มตัวหรือเกือบจะอิ่มตัว
water, hygroscopic น้ำที่หุ้มเม็ดดิน : น้ำหรือความชื้นในดินซึ่งจับยึดติดแน่นเป็นเยื่อบาง ๆ รอบเม็ดดิน แรงจับยึดนี้มีมากจนพืชไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้ และน้ำไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงดึงดูดของโลกและแรงดูดซึม (capillary force) บางทีเรียกว่า hygroscopic moisture
waterlogging สภาพน้ำขังใต้ผิวดิน : สภาพของดินที่มีน้ำใต้ดินอยู่ในระดับสูงเกือบถึงผิวดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตลดลงต่ำกว่าปกติ
Browse Dictionary
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z