soil moisture ความชื้นในดิน
soil moisture tension แรงดึงความชื้นในดิน : แรงที่ต้องใช้เพื่อจะดูดน้ำออกจากดินต่อหนึ่งหน่ยวพื้นท
soil profile รูปตัดของชั้นดิน : รูปตัดที่เรียงกันในแนวดิ่งของชั้นดินที่อยู่ตามธรรมชาติ
soil separates อนุภาคดินแบ่งตามขนาด : อนุภาคของดินที่พิจารณาตามขนาดของมัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ทราย (sand) ตะกอนดิน (silt) และดินเหนียว (clay) ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ 2.00 ถึง 0.02 มม. ,0.02 ถึง 0.002 มม. และ 0.002 มม. ลงไป ตามลำดับ
soil structure โครงสร้างของดิน : ลักษณะการเรียงตัวและการเกาะกันระหว่างเม็ดดิน
soil texture ลักษณะเนื้อดิน : ขนาดของอนุภาคดินที่รวมตัวกันเป็นก้อนดิน
soil, alkaline ดินด่าง : ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง คือ อ่านค่า pH ของดินที่ผสมน้ำอิ่มตัวได้มากกว่า 7
soil, alluvial ดินตะกอนลุ่มน้ำ : ดินที่เกิดในที่ราบลุ่ม มีตะกอนมาทับถมทุกปี เช่น 1. alluvial cone เนินตะกอนรูปกรวย : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มี การเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบและตะกอนสะสมกันพูนเป็นรูปกรวย 2. alluvial fan เนินตะกอนรูปพัด : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการ เปลี่ยนแปลงระดับของน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบ ซึ่งจะทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลงไม่สามารถพาตะกอนบางส่วนไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมในลักษณะแยกกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด 3. alluvial plain ที่ราบตะกอนน้ำพา : ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลล้นสองฝั่งแม่น้ำท่วมบริเวณดังกล่าว และนำตะกอนมาสะสม ถ้าเป็นที่ราบขนาดเล็กเรียกว่า ที่ลุ่มราบตะกอนน้ำพา หรือคำโบราณเรียกว่า ที่น้ำไหลทรายมูล (alluvial flat)
unsaturated soil ดินชื้นไม่อิ่มตัว
water, available น้ำที่พืชนำไปใช้ได้ : น้ำในรูปของความชื้นในดินที่พืชนำไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตเป็นน้ำดูดซึม (capillary water) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่างความชื้นชลประทาน (field capacity) กับความชื้นที่จุดเหี่ยวเฉาถาวร (permanent wilting point) โดยแสดงอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ของน้ำต่อน้ำหนักดินแห้ง หรือปริมาณน้ำต่อหน่วยความลึกของดิน บางทีเรียกว่า available soilmoisture
Browse Dictionary
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z