report, reconnaissance |
รายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น |
roughness coefficient |
สัมประสิทธิ์ของความขรุขระ |
salinity control |
การควบคุมความเค็ม : การควบคูมไม่ให้น้ำเค็มเข้ามามีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการประปา หรือการลดปริมาณเกลือเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของดินในพื้นที่เพาะปลูก |
scour (1) |
การพัดพา : การที่กระแสน้ำที่รุนแรงกัดเซาะที่พื้นท้องน้ำและตลิ่ง แล้วพัดพาไปอย่างรวดเร็ว |
secondary canal |
คลองซอย : ดู canal, distributary |
sediment control |
การควบคุมตะกอน : การลดปริมาณตะกอนในลำน้ำเพื่อป้องกันหรือลดอัตราการตกตะกอนในระบบส่งน้ำ แหล่งเก็บกักน้ำ และแหล่งน้ำอื่น ๆ |
soil, alluvial |
ดินตะกอนลุ่มน้ำ : ดินที่เกิดในที่ราบลุ่ม มีตะกอนมาทับถมทุกปี เช่น 1. alluvial cone เนินตะกอนรูปกรวย : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มี การเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบและตะกอนสะสมกันพูนเป็นรูปกรวย 2. alluvial fan เนินตะกอนรูปพัด : เนินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการ เปลี่ยนแปลงระดับของน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบ ซึ่งจะทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลงไม่สามารถพาตะกอนบางส่วนไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมในลักษณะแยกกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด 3. alluvial plain ที่ราบตะกอนน้ำพา : ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลล้นสองฝั่งแม่น้ำท่วมบริเวณดังกล่าว และนำตะกอนมาสะสม ถ้าเป็นที่ราบขนาดเล็กเรียกว่า ที่ลุ่มราบตะกอนน้ำพา หรือคำโบราณเรียกว่า ที่น้ำไหลทรายมูล (alluvial flat) |
time of concentration (Tc) |
เวลาที่น้ำไหลจากจุดที่ไกลที่สุดของพื้นที่รับน้ำมาถึงจุดที่กำหนด |
upstream control |
การควบคุมระดับน้ำด้านเหนือน้ำ : การควบคุมปริมาณน้ำโดยใช้ระดับน้ำด้านเหนือน้ำเป็นเกณฑ์ |
water, hygroscopic |
น้ำที่หุ้มเม็ดดิน : น้ำหรือความชื้นในดินซึ่งจับยึดติดแน่นเป็นเยื่อบาง ๆ รอบเม็ดดิน แรงจับยึดนี้มีมากจนพืชไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้ และน้ำไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงดึงดูดของโลกและแรงดูดซึม (capillary force) บางทีเรียกว่า hygroscopic moisture |