irrigation structure |
อาคารชลประทาน : สิ่งก่อสร้างหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในงานชลประทาน ใช้เพื่อการจัดการน้ำชลประทานในด้านต่างๆ เช่น การควบคุม การวัด การส่งและการระบายน้ำ เป็นต้น |
irrigation, flood |
การให้น้ำแบบปล่อยท่วม : วิธีให้น้ำชลประทานแบบหนึ่งโดยปล่อยท่วมไปบนผิวดิน |
irrigation, furrow |
การให้น้ำแบบร่องคู : วิธีให้น้ำชลประทานแบบหนึ่งทางผิวดิน โดยปล่อยให้น้ำไหลในร่องคูถ้าเป็นร่องคูเล็กแค้ ตื้น เรียกว่า corrugation irrigation ถ้าร่องคูมีแนวยาวไปตามส่วนลาดเทของพื้นที่ เรียกว่า level furrow ถ้าร่องคูมีแนวขวางกับส่วนลาดเทของพื้นที่ เรียกว่า contour furrow |
irrigation, surface |
การให้น้ำบนผิวดิน : วิธีการให้น้ำชลประทานโดยให้ไหลไปบนผิวดิม เช่น การให้น้ำแบบ ปล่อยท่วม (flood irrigation) หรือ การให้น้ำแบบร่องคู (furrow irrigation) |
irrigation, tank |
การชลประทานแบบอ่างเก็บน้ำ : ระบบชลประทานที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นโดยทำคันดินปิดกั้นที่ด้านท้ายน้ำของพื้นที่รับน้ำและส่งน้ำที่เก็บกักไว้ไปตามคลองสู่พื้นที่เพาะปลูก |
land, arable |
ที่ดินที่สามารถทำการเพาะปลูกได้ : ที่ดินที่มีเนื้อที่มากพอควร และสามารถใช้ในการเพาะปลูกได้ โดยให้ผลตอบแทนคุ้มค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลงทุนสร้างการชลประทานลงไป |
land, non-arable |
ที่ดินที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก : ที่ดินซึ่งเมื่อลงทุนทำการชลประทานในที่ดินนั้น จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนคุ้มค่า |
land, productive |
ที่ดินที่ใช้เพาะปลูก : พื้นที่ในเขตชลประทานที่สามารถใช้เพาะปลูกได้มากที่สุด ซึ่งจะมีประมาณ 94% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเรียกว่า non-productive land ซึ่งจะเป็นถนน คันคูน้ำ บ้าน คอกสัตว์ ฯลฯ |
maintenance (1) |
การบำรุงรักษา : กิจกรรมใด ๆ ที่ดำเนินการเพื่อรักษาระบบชลประทาน เช่น คลองส่งน้ำคลองระบายน้ำ อาคารชลประทานต่าง ๆ รวมทั้งถนน ทางลำเลียงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา |
maintenance, preventive |
การบำรุงรักษาแบบป้องกัน : การบำรุงรักษาระบบชลประทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขนาดใหญ่ หรือเกิดการพังทลาย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณสูงในการซ่อมแซมหรือปรับปรุง |