"สรุปการเตรียมความพร้อมส่วนที่ขอเลื่อนเป็น สย. / สามัญวิศวกร" อ่าน 20,664

"สรุปการเตรียมความพร้อมส่วนที่ขอเลื่อนเป็น สย. / สามัญวิศวกร"

โดย รศ.เอนก ศิริพานิชกร  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

+++ สามารถเข้าพูดคุยกับ อ.เอนก ได้ที่นี่  https://www.facebook.com/groups/engebook/ +++



รศ.เอนก ศิริพานิชกร วันนี้มีอะไรมาแนะนำ "สรุปการเตรียมความพร้อมส่วนที่ขอเลื่อนเป็น สย."

วันนี้มาสรุปการเตรียมความพร้อมส่วนที่ขอเลื่อนเป็น สย. ในส่วนของผู้คำนวณออกแบบโครงสร้าง ดังนี้
1. ผู้สอบควรมีงานออกแบบที่มีขอบเขตการทำงานที่ใกล้เคียงกับ 

สย. โดยอาจเป็นผู้ออกแบบร่วม

2. ผู้สอบควรมีความรู้พื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามประสพการณ์ที่ทำการออกแบบ เช่น ออกแบบอาคาร คสล. ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งระหว่าง working stress design และ strength design

3. ตอบคำถามที่มักเริ่มต้นด้วย concept ของวิธีที่ใช้ในการออกแบบ เช่น (ยกตัวอย่างให้) วิธี WSD ใช้การพิจารณาจาก ความเข้ากันได้ของความเครียด (strain compatibility) โดย strain นั้นเป็น linear และทำให้เกิดหน่วยแรงไม่เกินที่กำหนดไว้ในวิธี working stress อย่างไรก็ตามหน่วยแรงใช้งานของคอนกรีตที่ตามกฏกระทรวงใช้มีค่าเท่ากับเท่าไหร่? หลายคนตอบไม่ได้ และบางคนตอบว่าเท่ากับ 0.45fc' ซึ่งถูกหรือไม่ ? และวิธีกำลัง ใช้พื้นฐานจากการคำนวณกำลังที่ออกแบบที่ได้จากกำลังระบุที่พิจารณาจากหน้าตัดและกำลังขอวัสดุที่ใช้ไปลดด้วยตัวคูณลดกำลัง และต้องมากกว่าและเท่ากับกำลังที่ต้องการที่ได้จากน้ำหนักบรรทุกที่ปรับค่าแล้ว (factored load)

4. ตามวิธีกำลัง กรรมการอาจถามถึงตัวคูณลดกำลัง และตัวคูณนั้นกำหนดขึ้นจากอะไร

5. Load combination ตามกฏหมายกำหนดไว้เท่าไหร่ ต่างจากที่กำหนดในกฏกระทรวงอย่างไร และตามการกำหนดใหม่ล่าสุดตาม ASCE-05 กำหนด Load Combination ของ DL และ LL ไว้อย่างไร

6. ทั้งสองวิธีกำหนดการจัดวางน้ำหนักบรรทุก (Placement load) อย่างไร ? เพื่อให้ได้ค่าแรงสูงสุด

7. ใครที่ทำ steel structures ควรทราบรายละเอียดขอการออกแบบวิธีใดวิธีหนึ่ง ระหว่าง allowable stress design vs. Load resistance factored design 

8. นอกจากนั้นอาจมีคำถามว่าปัจจุบัน AISC กำหนดวิธีการออกแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว ระหว่าง allowable strength (ไม่ใช่ stress) design และ LRFD มี concept อย่างไร?

9. ในการออกแบบ steel truss เรากำหนดรูปทรง (truss configuration) อย่างไร ? N-truss มีจุดเด่นอย่างไร ? ใช้กับการออกแบบ truss ที่มีลักษณะใด เกณฑ์ในการออกแบบมีอะไรบ้าง ? เราตรวจสอบ deflection ของ truss ว่ามีค่าไม่เกินเท่าใด (เกือบทั้งหมดตอบว่าเท่ากับ L/360 ถูกต้องหรือไม่)

10. คนที่ออกแบบโดยใช้ computer อาจได้คำถามว่าเราใส่ข้อมูลอะไรเข้าไป และจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ถูกต้อแล้ว

11.ต้องรู้เรื่องการออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหว อย่างน้อยที่สุดกฏกระทรวง 2550 และมาตรฐาน มยผ. 1301 

12. ตามวิธี Equivalent Static Load มีพื้นฐานมาจากสมการง่ายๆ ของ Newton สมการนั้นคืออะไร? (แนะนำ F = ma) /// การกำหนด base shear force ทำอย่างไร ? ตัวแปรที่สำคัญๆ เช่น ค่า K มีผลต่อการคิดแรงเฉือนที่ฐานอย่างไร ?

13. การให้รายะเอียด (detailing) ให้โครงสร้างมีความเหนียวเพื่อรับแรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. มีอะไรบ้าง (เสา คาน พื้น)

14. แผ่นพื้นท้องเรียบกับแผ่นดินไหว จะต้องพิจารณาอะไรเพิ่มเติม

15. ใครที่ออกแบบอาคารรับแรงลม ตาม มยผ. ควรรู้ว่าคิดแรงลมอย่างไร ? wind speed ที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ เท่ากันหรือไม่ ? และเขตแถวกรุงเทพ มีความเร็วเท่าไหร่? และใช่ความเร็วลมที่กี่ปี return period ?

เท่าที่คร่าวๆ จะมีคำถามประมาณนี้ สุดท้ายที่สำคัญคือต้องทำให้กรรมการเชื่อว่าเรามีความสามารถที่จะออกแบบอาคารได้ด้วยตนเอง 

ใครมีคำถาม ถามมาได้ครับ โชคดีทุกท่าน :)

+++ สามารถเข้าพูดคุยกับ อ.เอนก ได้ที่นี่  https://www.facebook.com/groups/engebook/ +++

 


เพื่อนๆทั่วไปหรือสมาชิกสามารถค้นหาบทความ + VDO และ สื่อต่างๆของ รศ.เอนก ศิริพานิชกร ซึ่งมีมากมายได้ที่นี่


TumCivil.com Article and Media Section for Education

กลุ่ม แบ่งปัน E-Book วิศวกรร

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)