แนะนำวิธีการทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง ตามบ้านเรือน อ่าน 47,775

แนะนำวิธีการทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง ตามบ้านเรือน

อ้างอิงจาก วารสารข่าวและความรู้ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทความนี้จะขอเสนอแนวทาง การผลิตน้ำสะอาดสำหรับ อุปโภค (น้ำใช้) และบริโภค (น้ำ ดื่ม) ตามบ้านเรือนในสภาวะที่การช่วย เหลือจากภาครัฐ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ สามารถเข้าไปได้ถึง รวมถึงในสภาวะที่ คุณภาพน้ำประปาต่ำลง โดยอาศัยอุปกรณ์ ที่สามารถหาได้ตามบ้านเรือน รวมถึงหา ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยมีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

แหล่งน้ำ

1. ควรเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่า เสีย ห่างไกลจากแหล่งสุขา กองขยะ และ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และไม่ผ่าน การปนเปื้อนของสารเคมี นอกจากนี้เรายัง อาจเลือกแหล่งน้ำได้จากการสังเกตความ ใส (มีความขุ่นต่ำ) ควรมีการไหลของแหล่ง น้ำในบริเวณดังกล่าว (ลดการสะสมสิ่ง สกปรก รวมถึงปัญหาเรื่องกลิ่น) หรือ
2. ใช้น้ำประปา (ที่อาจมีสี ความขุ่น หรือ คุณภาพลดลงในภาวะน้ำท่วม)

อุปกรณ์ที่จำเป็น

1. ถังน้ำ 2 ใบ
2. เก้าอี้
3. สายยางสำหรับทำกาลักน้ำ
4. หนังยาง (หนังสติ๊ก) 2 เส้น
5. สำลี หรือ ผ้าสำลี หรือ ผ้ายืด หรือ ผ้าขาวบาง
6. ไฟฉาย
7. สารส้ม
8. น้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) หรือ ด่างทับทิมละลายน้ำ (ละลายผงด่าง ทับทิม 2 ช้อนชาลงในน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร หรือให้เป็นดังสัดส่วน ข้างต้น)
9. กาต้มน้ำ

ขั้นตอนการผลิต

1. วางถังน้ำใบที่ 1 ลงบนเก้าอี้
2. เติมน้ำจากแหล่งน้ำที่เลือกแล้วว่า สะอาดที่สุดลงในถังใบที่ 1
3. แกว่งสารส้มจนกระทั่งมองเห็นก้อน ตะกอนเกิดขึ้น (ใช้ไฟฉายส่องดู) ซึ่งอาจ ใช้เวลา 5-20 นาที ขึ้นกับปริมาณน้ำ และลักษณะความขุ่นของน้ำ ในกรณีที่ มีก้อนสารส้มขนาดเล็ก เราสามารถใช้ ผ้าขาวบางมัดสารส้มขนาดเล็ก ๆ ด้วย กัน เพื่อทำการแกว่งสารส้ม
4. ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนในถังใบที่ 1 (ประมาณ 20–30 นาที) เมื่อใช้ไฟฉายส่องดู อาจ เห็น 1) ตะกอนด้านล่าง 2) ตะกอนลอย (ฝ้า) ด้านบน และ 3) น้ำใส (ด้านบน หรือกลางของถังใบที่ 1)

แนะนำวิธีการทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง ตามบ้านเรือน

5. ใช้สายยางเพื่อทำกาลักน้ำ (ถ่ายส่วน น้ำใสจากถังใบที่ 1 ไปสู่ถังใบที่ 2) โดย ที่ปลายด้านที่น้ำจะไหลออกไปสู่ถังใบที่ 2 นั้น อาจใช้การอุดสายยางด้วยสำลี และมัดด้วยหนังยาง หรือพันหุ้มปลาย สายยางด้วยผ้าสำลี/ผ้ายืด/ผ้าขาวบาง ด้วยยางหนังสติ๊ก 2 เส้น เพื่อทำการ กรองให้ได้น้ำใสอีกครั้งหนึ่ง (ไม่ควรใช้ ผ้าหนา หรือซ้อนหลายชั้นเกินไป อาจ ทำให้น้ำไม่สามารถไหลได้) หากไม่มี อุปกรณ์สายยางทำกาลักน้ำ อาจใช้ขัน ตักน้ำส่วนที่ใสและกรองน้ำผ่านผ้าขาว บางหรือผ้ายืดก่อนเข้าถังใบที่ 2 แทน
6. ทำการฆ่าเชื้อโรคในถังใบที่ 2 (เราควร ทราบปริมาตรน้ำในถังใบที่ 2)
     6.1 เติมน้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) 1 หยดต่อน้ำใส 1 ลิตร หรือ
     6.2 เติมด่างทับทิมละลายน้ำ 3–5 หยด ต่อน้ำใส 1 ลิตร
     6.3 จากนั้นกวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที
7. ได้น้ำใช้สำหรับการอุปโภค (อาบน้ำ ซัก ล้าง หรือกิจกรรมอื่น ๆ) ไม่สามารถนำ ไปดื่มได้ (บริโภคไม่ได้) หากท่านไม่สามารถหาอุปกรณ์ เช่น สายยาง สำลี หรือผ้า เพื่อทำกาลักน้ำ และกรองอีกชั้นหนึ่งได้ ท่านอาจใช้วิธีการ ทำน้ำใช้ด้วยตนเองซึ่งได้เสนอแนะไปก่อน หน้านี้เพื่อทำน้ำสำหรับอุปโภค (น้ำใช้เท่า นั้น) ได้ การกรองด้วยสำลีหรือผ้าอีกชั้น หนึ่งจะช่วยให้น้ำมีความใสมากขึ้นและช่วย ให้การฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนหรือด่าง ทับทิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

การทำน้ำสำหรับดื่ม

ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำดื่มสะอาด (บรรจุขวด) หรือตู้กดน้ำดื่มสะอาด (ที่ผ่าน การรับรองมาตรฐานน้ำดื่ม) เราอาจใช้วิธี ดังนี้

1. สำหรับน้ำประปาซึ่งสะอาดแต่แรก สามารถนำมาต้มให้เดือด เพื่อฆ่าเชื้อ โรค รวมถึงไล่สารพิษหรือสารเคมี อันตรายที่ระเหยได้ออก เพื่อใช้เป็นน้ำ ดื่ม
2. สำหรับน้ำประปาซึ่งขุ่นและมีสีสามารถ ทำให้ใสขึ้นด้วยวิธีข้างต้นในข้อ 3 และ นำมาต้มให้เดือด เพื่อใช้เป็นน้ำดื่มได้ สำหรับน้ำที่มาจากแหล่งอื่น ไม่แนะนำ ให้ดื่ม เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของสาร เคมีซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีข้างต้น


อ้างอิงจาก วารสารข่าวและความรู้ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)