ท่อในงานไฟฟ้าที่ควรรู้ อ่าน 108,753

ท่อในงานไฟฟ้า

การใช้ท่อในงานไฟฟ้ามีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับสายไฟ และให้เหมาะสมกับการเดินสายในแต่ละพื้นที่ ท่อที่นิยมใช้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ท่อโลหะและท่ออโลหะ ซึ่งประกอบด้วย

1. ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing)

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้านไม่สามารถทำเกลียวได้ มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิด และขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ EMT ปัจจุบันมีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 2" และยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป

ท่อ EMT ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณ ที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2" , 3/4" , 1" , 1 1/4" , 1 1/2" , 2" การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา ดังรูป

                                                               

ตัวอย่างข้อมูลท่อ EMT แสดงดังตาราง ( ของ NIPPON white conduit )

2. ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit)

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว มีความหนากว่าท่อ EMT ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีส้ม (บางครั้งอาจเห็นเป็นสีแดง) ระบุชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ IMC มีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 4" และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป

ท่อ IMC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2" , 3/4" , 1" , 1 1/4" , 1 1/2" , 2" , 2 1/2" , 3" , 3 1/2" และ 4" การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา ดังรูป

                                                             

ตัวอย่างข้อมูลท่อ IMC แสดงดังตาราง ( ของ NIPPON white conduit )

3. ท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit)

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อนหรือรีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ แต่ผิวจะด้านกว่าและหนากว่าท่อ EMT และ IMC ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำ ระบุชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ RSC มีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 6" และยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร ดังรูป

ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2" , 3/4" , 1" , 1 1/4" , 1 1/2" , 2" , 2 1/2" , 3" , 3 1/2", 4" ,5" และ 6" การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิกที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปคล้ายกับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น ตัวอย่างข้อมูลท่อ RSC แสดงดังตาราง ( ของ NIPPON white conduit )

4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit)

ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 4" ลักษณะของท่อแสดงดังรูป

ท่อโลหะอ่อน ใช้เดินในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ ห้ามใช้เดินในสถานที่เปียก , ในช่องขึ้นลง , ในห้องเก็บแบตเตอรี่ , ในสถานที่อันตราย , ฝังดินหรือฝังในคอนกรีต ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2" , 3/4" , 1" , 1 1/4" , 1 1/2" , 2" , 2 1/2" ,3" และ 4" ท่อโลหะอ่อนที่ใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 1/2" ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟฟ้า และมีความยาวไม่เกิน 180 เซนติเมตร การจับยึดท่อชนิดนี้ต้องมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่เกิน 1.50 เมตร และห่างจากกล่องต่อสาย ไม่เกิน 30 เซนติเมตร และห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำ แทนสายดิน

ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหายมีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 4" การตัดท่อชนิดนี้ใช้เลื่อยตัดเหล็ก ทั่วไปตัดตรงๆ โครงสร้างภายในและข้อมูลของท่อโลหะอ่อนกันน้ำแสดงดังรูปข้างล่าง

Nominal size
Inner diameter
Outside diameter
Vinyl Sheath Thickness
Min Bending Radius
Length of Each Roll
min.
max.
min.
max.
mm
mm
mm
mm
mm
mm
m
3/8"
12.29
12.80
17.5
18.0
0.76
61
60.0
1/2"
15.80
16.31
20.8
21.3
0.76
83
60.0
3/4"
20.83
21.34
26.2
26.7
0.89
108
30.0
1"
26.44
27.08
32.8
33.4
0.89
165
30.0
1 1/4"
35.05
35.81
41.4
42.2
0.89
203
15.0
1 1/2"
40.10
40.64
47.4
48.3
1.02
229
15.0
2"
51.31
51.94
59.4
60.3
1.02
283
15.0
2 1/2"
62.99
63.63
72.1
73.0
1.27
375
7.5
3"
77.98
78.74
87.9
88.9
1.27
445
7.5
4"
101.60
102.62
113.3
114.3
1.52
609
7.5

5. ท่อพีวีซี (PolyVinyl Chloride)

ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ แต่ข้อเสียคือขณะที่ถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนเราออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสงอัลตร้าไวโอเล็ตทำให้ท่อกรอบเมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน ที่ใช้ในงานไฟฟ้ามีสีเหลือง มีขนาดตั้งแต่ 1/2" - 4" และยาวท่อนละ 4 เมตร ดังรูป

ท่อ PVC ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามใช้ใน บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาด คือ 3/8" , 1/2" , 3/4" , 1" , 1 1/4" , 1 1/2" , 2" , 2 1/2" , 3" และ 4" สำหรับท่อ ขนาด 3" และ 4" มีความยาว 2 ขนาดคือ 4 และ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท

 

!!!-------------------------------------------!!!

6. ท่อHDPEี (High Density Polyethylene)

ทำด้วยพลาสติก polyethylene ชนิด high density ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบลูกฟูก ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง, บนฝ้าในอาคาร, เดินสายใต้ดินทั้งแรงดันต่ำและ แรงดันสูงปานกลาง ทนต่อแรงกดอัดได้ดี ข้อได้เปรียบของท่อชนิดนี้ คือความอ่อนตัวจึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2" ขึ้นไป


ท่อ HDPE แบบผิวเรียบ


ท่อ HDPE แบบลูกฟูก

ข้อดีของท่อ HDPE ปัจจุบันนิยมใช้ท่อ HDPE แบบลูกฟูกกันมากเนื่องจากมีข้อดีหลายประการคือ

  • ง่ายต่อการโค้งงอ
  • มีความยาวต่อเนื่องมากระหว่าง 30 - 300 เมตร ทำให้ลดข้อต่อต่างๆ ลงไปได้มาก
  • แข็งแกร่งและน้ำหนักเบา
  • ต้านทานต่อการผุกร่อนและทนทุกสภาพดินฟ้าอากาศ
  • ยืดหยุ่นและทนต่อแรงกดทับได้ดี
  • มีแรงเสียดทานภายในท่อต่ำ จึงร้อยสายในท่อได้ง่ายขึ้น ทำให้กำหนดระยะห่างของบ่อพักสาย (hand hole) ได้ไกลขึ้นกว่าเดิม

ท่อ HDPE แบบลูกฟูกอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ท่อ EFLEX (ข้อมูลจากบริษัทบางกอกเทเลคอม จำกัด) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในผลิตภัณฑ์ ประเภทท่อลูกฟูก การนำท่อชนิดนี้ไปใช้งานต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพงานนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีท่อลูกฟูกแบบอ่อนตัว เรียกว่าท่อ PFLEX ซึ่งมีหลายชนิดทั้งใช้ฝังในคอนกรีต และชนิดผสมสารกันไฟเพื่อใช้ในที่โล่งและวางบนฝ้าเพดาน ดังรูป

ข้อมูลท่อ EFLEX ที่ควรทราบได้แก่...

  • ตารางท่อ EFLEX

ขนาดท่อ (ประมาณ)
เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกท่อ
( มม.) โดยประมาณ
เส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ
( มม.) โดยประมาณ
น้ำหนัก (กก./ม)
ความยาวต่อขด
(เมตร)
นิ้ว
มม.
1
30
40
30
0.23
300
2
50
64
50
0.36
200
3
80
102
80
0.80
100
4
100
130
100
1.10
100
5
125
160
125
1.60
100
6
150
188
150
2.30
50
8
200
250
200
3.60
30

 

        6.1 อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งท่อร้อยสาย EFLEX


ปากแตร

ฝาปิดท่อสำรอง

ปากแตร (Bell Mouth) เป็นอุปกรณ์ ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการร้อยสายเข้าท่อ โดยป้องกันไม่ให้เปลือกสายเคเบิลขูดกับ ปากท่อขณะร้อยสาย

ฝาปิดท่อสำรอง (Spare Cap) เป็นอุปกรณ์ปิดท่อแบบเกลียวใน ใช้กับท่อที่วางอยู่ในบ่อพักสายใต้ดิน แต่ถ้าหากตัดเอาฝาท่อออก อุปกรณ์นี้ จะกลายเป็นปากแตรช่วยในการร้อยสาย


ข้อต่อท่อ EFLEX กับท่ออื่นๆ

อุปกรณ์ยึดท่อกับตู้

ข้อต่อท่อ EFLEX (Adaptor) เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในการต่อท่อ EFLEX กับท่อ พลาสติก หรือท่อโลหะ

อุปกรณ์ยึดท่อกับตู้ (EFLEX Clamp) ประกอบด้วยโลหะกับยาง ใช้ในการ ยึดท่อ EFLEX เข้ากับตู้ควบคุม หรือกล่องร้อยสายเคเบิล


ฝาปิดท่อ

ข้อต่อตรง

ฝาปิดท่อ (End cap) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปิดท่อ EFLEX ใช้ป้องกันดิน,น้ำและสิ่งใดๆ เข้าไปในท่อ ขณะขนส่ง หรือใช้ปิดท่อทุกครั้งที่มีการตัดท่อ และรอการร้อยสาย

ข้อต่อตรง (Straight joint) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ต่อท่อ EFLEX เข้าด้วยกัน


กรวยยางปิดท่อ

หัวลากสายเคเบิล

กรวยยางปิดท่อ (Sand Preventive) เป็นอุปกรณ์ ช่วยในการปิดท่อที่มีการร้อยสายเสร็จแล้ว ซึ่งป้องกันดิน, ฝุ่น, น้ำไม่ให้เข้าไปในท่อได้

หัวลากสายเคเบิล (Pulling eye) เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการ ร้อยสายเคเบิล ซึ่งจะใช้ติดกับหัวสายเคเบิล ที่จะร้อยเข้าท่อ EFLEX ทุกครั้ง

 

 

 

        6.2 การติดตั้งท่อ eflex แบบฝังดินกลบทราย

ขั้นตอนการติดตั้งท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินแบบลูกฟูกฝังดินกลบทราย    มีข้อแนะนำดังนี้

1. ขุดพื้นที่ ที่จะวางท่อให้มีความลึกและกว้างให้สัมพันธ์กับจำนวนแถว และจำนวนชั้นของท่ออีเฟล็คที่จะฝังไว้ใต้ดิน เมื่อขุดแล้ว ให้ใช้แผ่นเหล็กกั้นขอบบริเวณที่ขุดเพื่อป้องกันการทลายของดิน จากนั้นจึงปรับสภาพพื้นภายในบ่อให้เรียบ โดยถมทราย และใช้เครื่องบดอัดทราย
                                    
2. เตรียมท่ออีเฟล็คก่อนใช้งาน  ดังนี้

    2.1 คลายท่ออีเฟล็คโดยใช้วิธีการกลิ้ง ไม่ควรดึงท่อออกจากม้วน เพราะจะทำให้ท่อบิด

                        

    2.2 กรณีที่พื้นที่คับแคบ การคลายท่อควรใช้จานหมุน ตั้งบริเวณจุดเริ่มต้นแล้วจึงดึงท่อออก โดยให้ท่อเคลื่อนที่ไปในช่อง ที่จะวางท่อ
                              

    2.3 พื้นที่ที่เป็นคอนกรีต ควรมีวัสดุรองรับท่อที่คลายออกจากม้วนเพื่อไม่ให้เสียดสีกับพื้น
    2.4 ควรวางท่ออีเฟล็คให้ตรงตลอดแนว และไม่ควรใช้วัสดุรองรับท่อ เพราะจะทำให้ท่อคดเป็นลูกคลื่น
          
3. นำท่ออีเฟล็คที่จัดเตรียมไว้ ลงไปในพื้นที่ตามจำนวนท่อที่จะวางในชั้นแรก โดยมีหวีเป็นตัวจัดแนวท่อ (วัสดุที่ใช้ทำหวีอาจเป็น ไม้อัด ปูนหล่อหรือพลาสติก) ระยะห่างของหวีแต่ละช่วงประมาณ 30 - 50 เซ็นติเมตร

                                                

มาตรฐานระยะ a และ b ของท่ออีเฟล็ค ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดังนี้
เส้นผ่าศูนย์กลาง 30, 50 มม.                        = 50 มม.
เส้นผ่าศูนย์กลาง 80, 100, 125, 150 มม.    = 70 มม.
เส้นผ่าศูนย์กลาง 200 มม.                             = 100 มม.

ระยะ C ต้องไม่ต่ำกว่า 0.60 เมตร โดยไม่คำนึงถึงขนาดท่ออีเฟล็ค หรือมากกว่า 1.20 เมตร ถ้าท่ออีเฟล็คมีแรงกดทับ
ระยะ D คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของท่ออีเฟล็ค

4. เมื่อวางท่ออีเฟล็คในชั้นแรกแล้ว ควรมีไม้หรือเหล็กตอกด้านข้างท่ออีเฟล็คทั้ง 2 ข้างเพื่อเสริมความแข็งแกร่งก่อนถมทราย และเป็นการจัดแนวท่อที่จะวางในชั้นต่อไปเพื่อให้เป็นแนวเดียวกัน
5. เริ่มถมทรายในชั้นแรกโดยค่อยๆ ถมบริเวณหวีทุกๆ อันจนครบ และทำการเกลี่ยทรายกลบบริเวณแนวท่ออีเฟล็คให้ทั่ว บดอัดทรายให้แน่น โดยมีความหนาของทรายตามที่กำหนดไว้ประมาณ 10 - 20 เซ็นติเมตรหรือมากกว่า แล้วดึงหวีออกทุกครั้ง
                 
                            

6. วางท่ออีเฟล็คในชั้นต่อไป โดยทำตามข้อ 3, 4, 5 ตามลำดับ
7. เมื่อวางท่อครบตามจำนวนชั้นที่ต้องการแล้ว จึงถมทรายและบดอัดให้แน่นตามมาตรฐานที่กำหนด
8. นำแผ่นคอนกรีต (Concrete Slab) วางบนชั้นทรายที่ถมท่ออีเฟล็คในชั้นสุดท้ายเพื่อเป็นการป้องกันและบอกให้รู้ว่า บริเวณนี้มีท่อฝังอยู่ โดยมาตรฐานของแผ่นคอนกรีตต้องมีความหนา 20 มม. กว้าง 700 มม. และยาว 1700 มม.

                                                          
9. นำเทปพลาสติกสีส้มหรือสีอื่นๆ มาวางตามแนวยาวของท่อเพื่อบอกว่าบริเวณนี้มีสายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูงหรือสายเคเบิล โทรศัพท์ฝังอยู่ใต้ดิน โดยการใช้เทปสีขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแบบ

                                        
10. กลบดินให้ทั่วบริเวณและปรับสภาพหน้าดินเพื่อเทคอนกรีตในขั้นตอนสุดท้าย

หมายเหตุ   ควรตรวจสอบท่ออีเฟล็คที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ลูกทดสอบท่อ (Test Piece)
         

ข้อควรระวัง

1. การวางท่ออีเฟล็คในลักษณะโค้งงอ เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็สามารถทำได้แต่ควรโค้งงอไม่ต่ำกว่า 15 เท่าของรัศมีภายนอกของสายเคเบิล
2. เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกติดไปกับสายและเข้าไปในท่อ (โดยเฉพาะการดึงสายเคเบิล) ควรทำบ่อพักที่ปลายท่อที่ใช้งานทุกครั้ง

                                   

3. ควรปิดหัวและท้ายของท่ออีเฟล็คด้วยฝาปิดท่อทุกครั้งเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปในท่อ
4. ลวดสายนำ (Pilot Wire) ทางโรงงานผู้ผลิตจะมีให้ในท่ออีเฟล็คตามความยาวท่อทุกท่อ (วัตถุประสงค์ของลวดสายนำ เพื่อใช้ดึงเชือกนำเคเบิลโดยที่ลวดสายนำรับแรงดึงไม่เกิน 50 กิโลกรัม)
5. ทุกครั้งที่มีการร้อยสายเข้าท่ออีเฟล็ค จะต้องมีอุปกรณ์ในการจับยึดหัวสายเคเบิลเช่นตาข่ายจับหัวสายเคเบิล (Pulling Grips) โดยผู้ใช้งานควรใช้ PVC เทปพันรอบหัวสายเคเบิลให้เรียบร้อย หรือใช้หัวลากสายเคเบิลซึ่งจะทำให้การร้อยสาย เป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)