คำจำกัดความ
circuit breaker หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำงาน เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า แบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่าน เกินกว่าค่าที่กำหนด โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
Circuit Breaker แรงดันต่ำ
หมายถึง breaker ที่ใช้กับแรงดันน้อยกว่า 1000 volt แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
Mold case circuit breaker
หมายถึง breaker ที่ถูกห่อหุ้มมิดชิดโดย mold 2 ส่วน มักทำด้วย phenolic ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถทนแรงดันใช้งานได้ breaker แบบนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือทำหน้าที่เป็นสวิทซ์เปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดลัดวงจร โดย breaker จะอยู่ในภาวะ trip ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างตำแหน่ง ON และ OFF เราสามารถ reset ใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ ในตำแหน่ง OFF เสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่ง ON การทำงานแบบนี้เรียกว่า quick make , quick break ลักษณะของ breaker แบบนี้ที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ
molded case circuit breaker ที่พบบ่อยในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือ Thermal magnetic CB. และ Solid state trip CB.
Thermal magnetic molded case circuit breaker
breaker แบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ molded case circuit breaker ที่พบบ่อยในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือ Thermal magnetic CB. และ Solid state trip CB.
Thermal magnetic molded case circuit breaker
breaker แบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ
Thermal unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อมีกระแสไหลเกินอันเนื่องมาจากการใช้โหลดมากเกินไป ลักษณะการทำงานดูได้จากรูป
เมื่อมีกระแสเกินไหลผ่านโลหะ bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์ ทางความร้อน ไม่เท่ากัน) จะทำให้ bimetal โก่งตัว ไปปลดอุปกรณ์ทางกล และทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ trip การปลดวงจรแบบนี้ ต้องอาศัย เวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับ กระแสขณะนั้น และความร้อน ที่เกิดขึ้นจนทำให้ bimetal โก่งตัว
Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแสค่าสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไป ไหลผ่าน กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมาก โอกาสที่ breaker จะชำรุดจากการตัดวงจรจึงมีน้อยกว่า
Solid state trip or Electronic trip molded case circuit breaker เป็น breaker ชนิดหนึ่งที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่วิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร
จาก diagram จะเห็นว่ามี CT อยู่ภายในตัว breaker ทำหน้าที่ แปลงกระแส ให้ต่ำลง ตามอัตราส่วนของ CT และมี microprocessor คอยวิเคราะห์กระแส หากมีค่าเกินกว่าที่กำหนด จะสั่งให้ tripping coil ซึ่งหมายถึง soliniod coil ดึงอุปกรณ์ทางกลให้ CB. ปลดวงจร
ที่ด้านหน้าของ breaker ชนิดนี้จะมีปุ่มปรับค่ากระแสปลดวงจร , เวลาปลดวงจร และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง อุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า amp meter & fault indicator ซึ่งสามารถแสดงสาเหตุการ fault ของวงจรและค่ากระแสได้ ทำให้ทราบสาเหตุของการปลดวงจรได้
โครงสร้างและส่วนประกอบของเบรคเกอร์
name plate ปรากฏที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของเบรคเกอร์ โดยมักกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเบรคเกอร์นั้นๆ เช่น จำนวนขั้ว, แรงดัน, กระแส ในส่วนของกระแสจะระบุ 3 จำนวน ประกอบด้วย ampere trip , ampere frame และ interrupting capacity arcing chamber บางครั้งเรียกว่า arc chute มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่เหนือหน้าสัมผัส (contact) ของเบรคเกอร์ ทำหน้าที่ช่วยดับอาร์ก หน้าสัมผัส (contact) นิยมทำด้วยทองแดงเคลือบผิวหน้าด้วยเงินเพื่อให้ทนต่อเปลวอาร์กได้ดี ประกอบด้วย fixed contact และ movable contact กลไกตัดวงจร สำหรับเบรคเกอร์ขนาดเล็กทั่วไป แบ่งเป็นอาศัยความร้อนและอาศัยอำนาจแม่เหล็ก แบบอาศัยความร้อน ใช้หลักการโก่งตัวของโลหะ bimetal เพื่อปลดกลไก ส่วนแบบอาศัยอำนาจแม่เหล็ก ใช้แรงดึงดูดของแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวด ที่กระทำต่อแผ่นโลหะ เพื่อปลดกลไก
การวิเคราะห์กระแสของ Electronic trip CB. มี 2 วิธีคือ
Peak sensing เป็นการบันทึกค่ากระแสสูงสุด ( Ipk) ที่ไหลผ่านเบรคเกอร์แล้วนำมาคำนวณหากระแส RMS แต่วิธีนี้จะวัดได้ถูกต้อง เมื่อสัญญาณคลื่นกระแสเป็น sinusoidal เท่านั้น True RMS sensing วิธีนี้ใช้การ sampling สัญญาณของกระแสที่ไหลผ่านเบรคเกอร์เป็นช่วงๆ เพื่อหาค่า RMS ในแต่ละช่วงแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เป็นกระแส RMS ดังรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้กับรูปคลื่นกระแสที่ไม่เป็น sinusoidal เช่นอุปกรณ์ที่ให้กำเนิด harmonic จำพวกเครื่องเชื่อมไฟฟ้า , มอเตอร์ , converter เป็นต้น
ตัวอย่างเปรียบเทียบการทำงานของเบรคเกอร์ที่วิเคราะห์กระแสแบบ True RMS sensing กับ Peak sensing
ถ้ารูปคลื่นมีลักษณะดังรูป และหากใช้ CB. ชนิด Peak sensing จะอ่านค่าได้มากกว่า ความเป็นจริง ทำให้ CB. ตัดวงจรเร็วเกินไป
ถ้ารูปคลื่นมีลักษณะดังรูป และหากใช้ CB. ชนิด Peak sensing จะมองเห็นกระแสต่ำกว่า ความเป็นจริง ทำให้เบรคเกอร์ตัดวงจรช้า หรือไม่ตัดวงจร
!!!-------------------------------------------!!!
Air CB. แบบ Drawout type
ป็นเบรคเกอร์ชนิดชักออก ซึ่งติดตั้งบนฐานรางเลื่อน สามารถถอดเปลี่ยน/ซ่อม ได้สะดวกรวดเร็ว เบรคเกอร์อีกชนิดหนึ่ง คือ direct current breaker มีใช้กับชนิด draw out เท่านั้น เพื่อขยายความสามารถการทนกระแสของเบรคเกอร์ มีลักษณะดังรูป
Air CB. แบบ Fixed type เป็นเบรคเกอร์ชนิดยึดติดกับที่ ซึ่งที่จริงแล้วก็คือส่วนที่เคลื่อนที่ ของเบรคเกอร์แบบ drawout โดยเพิ่มปีกโลหะ (fixing bracket) ประกบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะดังรูป ส่วนประกอบของ Air CB ส่วนประกอบที่สำคัญของ Air CB. ได้แก่ ภาพแสดงส่วนประกอบของ Air CB. (click to enlarge)
!!!-------------------------------------------!!!
Miniature circuit breaker
เป็นเบรคเกอร์ขนาดเล็ก ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับ แผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือ แผงจ่ายไฟฟ้าประจำห้องพักอาศัย (consumer unit) เบรคเกอร์ชนิดนี้ไม่สามารถปรับตั้ง ค่ากระแสตัดวงจรได้ มีทั้งแบบ 1 pole , 2 pole และ 3 pole อาศัยกลไกการปลดวงจรทั้งแบบ thermal และ magnetic มีรูปร่างทั่วไปดังรูป
พิกัดแรงดันของเบรคเกอร์ชนิดนี้จะอยู่ที่ 240/415 Vac. มี Ampere trip สูงสุด 100 A. และมี interrupting capacity ตั้งแต่ 5 KA. ขึ้นไป และเนื่องจากเป็นเบรคเกอร์ขนาดเล็กจึงมักใช้ป้องกันวงจรย่อยเช่น วงจรแสงสว่าง วงจรเต้ารับ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กทั่วไป นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่สามารถป้องกันไฟฟ้าดูดได้ด้วย เรียกว่า Earth leakage circuit breaker (ELCB)
Earth leakage circuit breaker (ELCB)
เป็น miniature CB. ชนิดหนึ่งซึ่งมีอุปกรณ์เสริม สำหรับตรวจจับกระแสว่า รั่วออกจากวงจรเกินกว่าค่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าเกินค่าที่ตั้งไว้ ก็จะสั่งปลดวงจร โดยกระแสรั่วไหลจะกำหนดตายตัว ไม่สามารถปรับตั้งได้เช่น 10 mA. , 15 mA. , 30 mA. เป็นต้น ตัวอย่างของ ELCB คือ
วงจรการทำงานของ ELCB แสดงดังรูป
พิกัดกระแสและผลกระทบ มีหลายกรณีประกอบด้วย
ผลกระทบจากความถี่
พิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ
กรณี Thermal Unit
ความถี่ไม่เกิน 50/60 Hz. ไม่จำเป็นต้องพิจารณา เนื่องจากมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่ากระแสน้อยมาก
ความถี่เกินกว่า 50/60 Hz. จำเป็นต้องคิด โดยเฉพาะการใช้งานที่ความถี่สูงๆ หลายร้อย Hz. ซึ่งความถี่สูง จะมีผลให้ความสามารถ ในการนำกระแสลดลงกรณีของ Magnetic Unit
เมื่อความถี่สูงเกินกว่า 50/60 Hz. กระแสที่ทำให้ magnetic unit ทำงานจะมีค่าสูงกว่าปกติทั้งสองกรณี สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คู่มือหรือ catalog ของบริษัทนั้นๆ
ผลกระทบจากอุณหภูมิ
พิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ
กรณี Thermal-Magnetic Trip Molded case circuit breaker
อุณหภูมิระหว่าง -10 - 24 องศาเซลเซียส เบรคเกอร์จะรับกระแสได้มากกว่าค่าที่ระบุบน name plate ทำให้การ trip ผิดพลาด นั่นคือเมื่อมีโหลดเกินพิกัด เบรคเกอร์จะไม่ปลดวงจร การนำเบรคเกอร์ไปใช้งานในที่ ที่มีอุณหภูมิต่ำต้องพิจารณาให้รอบคอบ อุณหภูมิระหว่าง 25 - 40 องศาเซลเซียส กระแสพิกัดจะเป็นไปตามค่าที่ระบุบน name plate ของเบรคเกอร์ อุณหภูมิระหว่าง 41 - 60 องศาเซลเซียส เบรคเกอร์ที่ทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิดังกล่าวจะทำให้กระแสพิกัดลดลงจากค่าที่ระบุ บน name plate ซึ่งทำให้เบรคเกอร์ปลดวงจรก่อนกำหนดกรณีของ Magnetic Trip Molded case circuit breaker
โดยทั่วไปแล้วบรคเกอร์แบบนี้สามารถทำงานได้ระหว่าง -10 - 60 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่างไปจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็อาจเสียหาย และทำให้เบรคเกอร์ตัดวงจรผิดพลาดได้
ทั้งสองกรณีสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือหรือ catalog ของบริษัทนั้นๆ
ผลกระทบจากความสูงของพื้นที่
เมื่อนำเอาเบรคเกอร์แบบ Thermal-Magnetic Trip MCCB. ไปใช้ในพื้นที่ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ จะต้องทำการปรับตั้งค่า กระแสและแรงดันพิกัดใหม่ เนื่องจากพื้นที่ที่มีความสูงมากๆ ทำให้การระบายความร้อนยากขึ้น เพราะเบรคเกอร์แบบนี้ อาศัยอากาศเป็นตัวกลางช่วยดับอาร์ก เมื่อค่าไดอิเล็กตริกของอากาศลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้กระแสและแรงดันพิกัดลดต่ำลงซึ่งสามารถดูได้จากตาราง
Altitude Multiplier Altitude current voltage0 - 6600 ft. 1 1 6600 - 8500 ft .99 .95 8500 - 13000 ft .96 .80 13000 - 30000+ ft. .75 .40 ค่าเหล่านี้อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลของแต่ละบริษัท
ผลกระทบจากการใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง
กรณี Thermal Unit
ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
กรณีของ Magnetic Unit
จะมีผลกระทบเนื่องจาก characteristic curve ของส่วน magnetic ใช้ค่า RMS ของไฟฟ้ากระแสสลับ การนำมาใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง ต้องใช้ตัวคูณเพื่อแก้ค่าให้ถูกต้อง โดยปกติแล้วจะมีค่าสูงขึ้น
!!!-------------------------------------------!!!
พิกัดกระแสของ circuit breaker ที่ควรรู้จักมี 3 ตัวคือ
- Ampere Trip (AT) เป็นพิกัดกระแส handle rating ซึ่งบอกให้รู้ว่าสามารถทนกระแสใช้งานในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด มักแสดงค่าไว้ที่ name plate หรือด้ามโยกของเบรคเกอร์ ซึ่งมาตรฐานของ NEC 1990 paragraph240-6 กำหนดดังนี้ 15 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 , 125 , 150 , 175 , 200 , 225 , 250 , 300 , 350 , 400 , 450 , 600 , 700 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 3000 , 4000 , 5000 , 6000 A.
ในกรณีที่ขนาดอุปกรณ์ของผู้ผลิตบางรายไม่มีค่าตรงกับค่าที่กำหนด ก็สามารถเลือกใช้ค่าที่สูงขึ้นไปแทนได้ สิ่งควรรู้เพิ่มเติมก็คือ พิกัดการทนกระแส ของเบรคเกอร์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- standard circuit breaker ในที่นี้หมายถึงชนิด thermal magnetic ซึ่งถ้านำเอาเบรคเกอร์ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะปลดวงจรที่ 80 % ของพิกัดกระแสเบรคเกอร์
- 100% rated circuit breaker แบบนี้ถ้านำไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะตัดวงจรที่พิกัดกระแสของเบรคเกอร์ แต่จะมีเฉพาะสินค้าของอเมริกาเท่านั้น
- Ampere Frame (AF) พิกัดกระแสโครง ซึ่งหมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรคเกอร์ในรุ่นนั้นๆ Ampere Frame มีประโยชน์คือ สามารถเปลี่ยนพิกัด Ampere Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรคเกอร์ยังคงเท่าเดิม ค่า AF ตามมาตรฐาน NEMA มีดังนี้ 50 , 100 , 225 , 250 , 400 , 600 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 , 2000 , 2500 , 4000 , 5000 AF
- Interrupting Capacity (IC) เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์นั้นๆ โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเป็น KA. ค่า IC จะบอกให้รู้ว่าเบรคเกอร์ที่ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร ณ. จุดนั้นๆ เสียก่อน ตามมาตรฐาน IEC947-2 แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
Accessories
คืออุปกรณ์เสริมที่ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์ เพื่อให้มีขีดความสามารถ ในการทำงานเพิ่มขึ้น ที่นิยมใช้ทั่วไปประกอบด้วย
1. Shunt Trip ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์เพื่อควบคุมการปลดเบรคเกอร์จากระยะไกล เป็นการควบคุมแบบ remote โดยไม่ต้องเดินมาปลดวงจรที่ตัวเบรคเกอร์ ซึ่งจะทำงานเมื่อ coil shunt trip ได้รับแรงดันกระตุ้นจากระบบอื่น
2. Undervoltage Release (Undervoltage Trip) ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์เพื่อตรวจจับแรงดัน ที่จ่ายเข้ามายังเบรคเกอร์ ถ้าต่ำกว่าที่กำหนดก็จะสั่งปลดเบรคเกอร์ทันที ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับ under/over voltage relay ( อาจใช้ร่วมกับ phase protector relay ก็ได้ )
3. Auxiliary Contact ใช้เพื่อแสดงสถานะของเบรคเกอร์ขณะนั้นว่า ON หรือ OFF / TRIP
4. Alarm Switch เป็นอุปกรณ์หน้าสัมผัสช่วย ซึ่งจะเปลี่ยนสถานะเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจร (Trip)
5. Ground Fault Shunt Trip เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สั่งปลดวงจรเมื่อมีกระแสรั่วไหลออกจากระบบ เกินค่าที่ตั้งไว้
6. Handle Padlock ใช้ล็อคเบรคเกอร์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON หรือ OFF
7. Cylinder Lock เป็นกุญแจสำหรับล็อคเบรคเกอร์ไว้ในตำแหน่ง OFF เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีกุญแจมา ON เบรคเกอร์