บทความเรื่อง ระวังป้ายถล่ม! อ่าน 10,953

อ้างอิงจาก วสท.
ระวังป้ายถล่ม!
สืบศักดิ์ พรหมบุญ
ชูเลิศ จิตเจือจุน
บ.อินเตอร-คอนซัลท์ จำกัด

      ณ ขณะนี้ก็เริ่มเข้าหน้าฝนกันอีกแล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะคุ้นเคยกันดีกับข่าวที่ ว่า เกิดลมพัดป้ายพัง ถล่มทับคนตายหรืออาจโชคดีแค่บาดเจ็บ ที่มักจะมาพร้อมๆกันกับหน้า ฝนทุกๆปี หลายท่านเมื่อทราบข่าวแล้ว ก็คงเกิดความสงสัยขึ้นในใจว่าสาเหตุที่ป้ายพัง นั้น มาจากสาเหตุใด ลมพายุพัดรุนแรงผิดปกติ? ป้ายเก่าจนชำรุดทรุดโทรมมาก? วิศวกรออกแบบ ผิดพลาด? ป้ายสร้างผิดแบบ? ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักมีแต่คำถามแต่ไม่มีคำตอบ! แต่คำถาม หนึ่งที่ทุกคนคงจะมีเหมือนๆกัน ก็คือ ป้ายที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ มีความปลอดภัยเพียง พอและถูกกฎหมายหรือไม่?
      จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่าปัญหาของการเกิดป้ายพังถล่มลงมานั้น มีเกิดขึ้นบ่อยๆใน ทุกๆปี แต่มักจะพบว่านานๆครั้งจึงจะเป็นข่าว ทั้งนี้ก็เพราะโชคดีที่ป้ายนั้นไม่ได้ล้มลง มาทับคนตาย จึงไม่มีนักข่าวคนใดสนใจมาทำข่าว และก็มักจะมีการปิดข่าวกันเนื่องจากกลัวเสีย ชื่อเสียงหรือกลัวว่าจะมีคดีความกัน
      ท่านผู้อ่านคงเคยเห็นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ตามข้างทางสัญจรอยู่บ่อยๆ โดยที่บางป้ายอาจมีความ ยาวมากกว่า 50 เมตร แต่ท่านทราบหรือไม่ ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ห้ามก่อสร้างป้ายโฆษณาที่มี ความยาวเกิน 32 เมตร!
      คำถามที่ตามมาคือ ป้ายที่มีขนาดมากกว่า 32 เมตร เขาสามารถสร้างกันได้อย่างไร? คำตอบคือ เค้าใช้วิธีเลี่ยงกฎหมายโดยการขอสร้างป้ายหลายๆป้ายใกล้ๆกันแล้วทำการต่อเชื่อมกันในภาย หลัง แต่กระนั้นป้ายดังกล่าวก็ยังเข้าข่ายผิดกฎหมายอยู่ดี เนื่องจากตามกฎหมายป้ายจะต้อง สร้างห่างกันไม่น้อยกว่า 6 เมตร!

จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543)
ข้อ 13 ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติด ตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะ ที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่ เกิน 32 เมตร
ข้อ 48 การก่อสร้างอาคารใกล้อาคารอื่นในที่ดินเจ้าของเดียวกัน พื้นหรือผนังของอาคารสำหรับ อาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร และสำหรับอาคารที่สูง เกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ต้องห่างอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 6 เมตร

      การที่นำป้ายตั้งแต่ 2 ป้าย มาเชื่อมต่อกันนั้น วิศวกรหลายคนอาจคิดว่าสามารถทำได้โดยไม่ ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ โดยที่ป้ายดังกล่าวน่าจะมีพฤติกรรมเสมือนป้ายขนาดใหญ่ที่มีขา 2 ขา เหมือนกับ 1+1 = 2 แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมของป้ายที่รับแรงลมอาจไม่เป็นเช่น นั้น เนื่องจากหน่วยแรงลมมักไม่ได้กระทำสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งป้าย ดังเช่นในกรณีที่ลมไม่ได้ พัดเข้าปะทะป้ายตรงๆ แต่กระทำเป็นมุมเฉียงแทน ในกรณีนี้หน่วยแรงลมที่กระทำบริเวณพื้นที่ใกล้ ขอบด้านหนึ่งของป้าย จะมีค่ามากกว่าพื้นที่บริเวณกลางป้ายและพื้นที่บริเวณขอบด้านตรงกัน ข้าม ซึ่งกรณีดังกล่าวเสาต้นแรกอาจต้องรับแรงลมมากถึง 75% ของแรงลมทั้งหมด ในขณะที่เสาอีก ต้นรับแรงลมเพียง 25% เท่านั้น ซึ่งถ้าวิศวกรมิได้คำนึงถึงและไม่ได้ออกแบบโครงสร้างให้ เตรียมรับสถานการณ์เช่นนี้ไว้ตั้งแต่แรก เสาต้นแรกที่รับแรงลมมากเป็นพิเศษก็อาจถึงกับวิบัติได้


ป้ายโฆษณาอันนี้เกิดจากการนำป้ายเดี่ยว 2 ป้าย มาต่อกันเป็นป้ายเดียว



ป้ายโฆษณาอันนี้เกิดจากการนำป้ายเดี่ยว 5 ป้าย มาต่อกันเป็นป้ายเดียว



ป้ายโฆษณาอันนี้เกิดจากการนำป้ายเดี่ยวจำนวน 6 ป้าย มาต่อกันเป็นป้ายเดียว


      ป้ายหลายแห่งมักทำการก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ เช่น ตามแบบระบุให้ก่อสร้างด้วยวิธีการ เชื่อม แต่ก่อสร้างจริงใช้วิธียึดด้วยน๊อต ซึ่งสาเหตุก็เพราะพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งป้าย นั้นเป็นพื้นที่เช่า เมื่อหมดสัญญาแล้วก็ต้องย้ายป้ายนั้นออกไป ดังนั้นหากใช้วิธียึดด้วย น๊อตแล้ว จะสามารถถอดประกอบโยกย้ายนำไปใช้ที่อื่นได้ง่าย แต่ข้อเสียก็คือ พฤติกรรมของโครง สร้างที่ใช้วิธีเชื่อมกับวิธียึดด้วยน๊อตนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้เมื่อระยะ เวลาผ่านไปนาน น๊อตจะคลายตัว ซึ่งจำเป็นต้องกลับมาขันใหม่เป็นระยะๆ หากเจ้าของป้ายปล่อย ปละละเลยไม่มีการบำรุงรักษา ก็จะทำให้ความมั่นคงแข็งแรงของป้ายลดลงและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

      ประเด็นต่อมาที่น่าจะมีวิศวกรจำนวนไม่น้อยสงสัย ก็คือ มาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ใช้ในการออก แบบโครงสร้างรับแรงลม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น คลอบคลุมและมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่?
เนื่องจากวิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างป้ายให้สามารถต้านทานแรงลมที่สูงที่สุด ที่จะเกิดขึ้นกับป้ายได้อย่างปลอดภัย และเพื่อการนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออก ตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมทั้งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบ คุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ได้อนุญาตให้วิศวกรใช้หน่วยแรงลมดังต่อไปนี้ในการคำนวณหา “แรงลมสูงสุด”:

พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร มีหน่วยแรงลม 50 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร มีหน่วยแรงลม 80 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร มีหน่วยแรงลม 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 40 เมตร มีหน่วยแรงลม 160 กิโลกรัมต่อตารางเมตร


      แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้น ค่าหน่วยแรงลมสูงสุดที่กระทำต่อป้ายอาจมีค่าแตกต่างจากค่าที่ กฎหมายกำหนด โดยถ้ามีค่าน้อยกว่า ป้ายก็ควรจะตั้งอยู่ได้อย่างปลอดภัย หรือแม้แต่ในกรณีที่ มีค่ามากกว่าที่กฎหมายกำหนดเล็กน้อย ป้ายก็ควรที่จะสามารถต้านทานได้ เพราะมาตรฐานการออก แบบทางวิศวกรรมได้กำหนดให้มีการเผื่อไว้สำหรับความไม่แน่นอนของกำลังวัสดุโครงสร้างในระดับ หนึ่ง แต่ถ้าแรงลมสูงสุดมีค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปมาก โครงสร้างป้ายก็อาจต่านทานไม่ไหว จนอาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้

ตารางที่ 1 แสดงค่าหน่วยแรงลมสูงสุดในแต่ละจังหวัดที่ได้จากผลการตรวจวัด

สถานีตรวจอากาศ

 

 

ความสูง*

 

 

(เมตร)

 

 

ความเร็วลมสูงสุด

 

 

(กม. ต่อชั่วโมง)

 

 

หน่วยแรงลมสูงสุด**

 

 

(กก. ต่อ ตร..)

 

 

 

 

 

กรุงเทพฯ (เอกมัย)

 

 

กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)

 

 

ชลบุรี

 

 

สัตหีบ

 

 

ปราจีนบุรี

 

 

แม่ฮ่องสอน

 

 

แพร่

 

 

พิษณุโลก

 

 

อุดรธานี

 

 

มุกดาหาร

 

 

อุบลราชธานี

 

 

นครสวรรค์

 

 

นครศรีธรรมราช

 

 

สงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

33

 

 

19

 

 

14

 

 

10

 

 

11

 

 

10

 

 

12

 

 

13

 

 

13

 

 

11

 

 

25

 

 

14

 

 

15

 

 

18

 

 

 

 

 

 

 

 

148

 

 

157

 

 

167

 

 

135

 

 

130

 

 

150

 

 

126

 

 

124

 

 

130

 

 

148

 

 

148

 

 

130

 

 

148

 

 

141

 

 

 

 

 

 

 

 

152

 

 

172

 

 

193

 

 

127

 

 

117

 

 

156

 

 

110

 

 

107

 

 

117

 

 

152

 

 

152

 

 

117

 

 

152

 

 

138

 

 

 

 

 


* ความสูงของตำแหน่งอุปกรณ์วัดลมเหนือพื้นดิน
** คำนวณโดยใช้ความหนาแน่นของอากาศเท่ากับ 1.22 กก. ต่อ ลบ.ม. และค่า Aerodynamic Drag Coefficient เท่า กับ 1.45 จากบทความเรื่อง “Wind loads on rectangular signboards and hoardings” เขียน โดย Dr. C.W. Letchford ลงพิมพ์ใน Journal of Wind Engineering and Industrial Aerodynamics ฉบับที่ 89 ค.ศ. 2001

      จากข้อมูลและเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า แม้ป้ายโฆษณา ที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานและข้อกำหนดในกฎหมาย รวมทั้งได้รับอนุญาต อย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็อาจพังทลายล้มคว่ำลงมาได้ถ้าเกิดมีลมพายุที่รุน แรงในระดับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต โดยที่ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นถ้าคุณภาพของ การก่อสร้างป้ายนั้นต่ำกว่ามาตรฐาน




ป้ายโฆษณาแห่งหนึ่งก่อสร้างอยู่บนอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น โดนลมพัดพังลงมา
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 ในขณะฝนตกหนัก โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ


เมื่อประมาณเดือน ตุลาคม 2546 ป้ายโฆษณาอันหนึ่ง โดนลมพัดล้มทับเสาไฟฟ้าทำให้
เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งตัวป้ายตั้งอยู่ใกล้กับถนนใหญ่มาก โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ



      วันที่ 26 มิถุนายน 2545 เกิดเหตุป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สูง 47 เมตร ยาว 82 เมตร บริเวณตลาดสด บางนา หักโค่นลงมาทับอาคารบ้านเรือนในขณะที่เกิดพายุฝน จนเป็นเหตุให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบ คนหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการสอบสวนจนทราบ ว่าป้ายดังกล่าวก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ได้ยื่นขออนุญาตจากทาง กทม. โดยในแบบที่ได้ขออนุญาต ไว้นั้นเป็นป้ายขนาด 22x31.5 เมตร จำนวน 2 ป้าย ห่างกัน 4 เมตร วางอยู่บนดิน ตัวโครงเหล็ก ยึดกันด้วยวิธีการเชื่อม แต่การก่อสร้างจริง ป้ายดังกล่าวมีขนาด 42x82 เมตร ตัวโครงเหล็ก ยึดกันด้วยวิธีใช้น๊อตขัน ดังนั้นเจ้าพนักงานสอบสวนจึงตั้งข้อหากับสถาปนิกและวิศวกรผู้ออก แบบและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่พึงกระทำ และกระทำการโดยประ มาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ซึ่งผลสรุปของกรณีนี้ลงเอยด้วยการที่ วิศวกรผู้ออกแบบถูก ลงโทษตักเตือนและยกข้อกล่าวหาวิศวกรผู้ควบคุมงาน
      ภายหลังจากเหตุการณ์นี้ ทางกทม. ได้จัดตั้งทีมงานพิเศษ 3 ชุดออกตรวจสอบป้ายโฆษณาทั่วทั้ง กรุงเทพฯ เพื่อดูว่าป้ายใดบ้างที่สร้างผิดจากแบบที่ได้รับอนุญาต หรือสร้างโดยไม่ได้ขอ อนุญาต รวมทั้งทำการตรวจสภาพโครงสร้างป้ายในเบื้องต้นเพื่อดูความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งผลจาก ตรวจสอบป้ายโฆษณาจำนวน 1,059 ป้าย ทางกทม.รายงานว่ามีจำนวนถึง 327 ป้ายที่เข้าข่าย “ไม่ ปลอดภัย” โดยที่ป้ายเหล่านี้เกือบทั้งหมดก่อสร้างโดยไม่ทำการขออนุญาตหรือก่อสร้างผิดแบบ และมีป้ายบางส่วนที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีสภาพทรุดโทรมเพราะขาดการบำรุงรักษา


บทสรุป
      เมื่อพิจารณาจากตัวบทกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่าการที่จะก่อสร้างป้ายที่มีขนาดใหญ่กว่า 32 เมตร นั้น กฎหมายในปัจจุบันไม่อนุญาตให้ทำได้ ซึ่งสวนทางกับความต้องการในปัจจุบัน เนื่อง จากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทต้องการที่จะโฆษณาสินค้าของตนเอง ตามจุดต่างๆที่มีผู้คนผ่าน ไปมาเป็นปริมาณมาก และจะต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ง่าย ดังนั้นบริษัทที่รับ สร้างป้ายจึงต้องพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมาย ใช้ช่องทางต่างๆ รวมทั้งอาจติดสินบนเจ้าพนักงาน เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบรับกับความต้องการของลูกค้าเหล่านั้น แต่ทั้ง นี้ป้ายโฆษณายิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งมีอันตรายมากตามไปด้วย
      ผู้เขียนมีความเห็นว่า กฎหมายและมาตรฐานต่างๆ สมควรที่จะต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายและมาตรฐานเดิมได้ร่างไว้เป็นเวลานานแล้ว ซึ่งในขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการด้านผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ได้กำลังแก้ไขมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างรับแรงลมขึ้น ใหม่ โดยใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว
      จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนต้องการที่จะสื่อให้เห็นว่าปัญหาของการก่อสร้าง ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่นั้น ไม่ใช่ปัญหาไกลตัวแต่เป็นปัญหาใกล้ตัวของเราทุกคน ไม่ใช่หน้าที่ของ วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่แห่งรัฐเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย ที่จะต้องคอยดูแลเอาใจ ใส่ สังเกตและตรวจสอบว่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่พบเห็นกันอยู่ทุกวันนั้น ก่อสร้างถูกต้องตาม กฎหมายหรือไม่ มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของส่วนรวม จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นอีก

เอกสารอ้างอิง
ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย, ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่–ถึงออกแบบก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายก็อาจล้มคว่ำได้!
พ.ต.ท. สุวิชัย ศิริกุลวัฒนา, รวมกฎหมายการก่อสร้าง ฉบับมาตราฐาน-ปัจจุบัน
คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)