มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า โดย ท่านผู้เชียวชาญ 3 ท่าน อ่าน 41,758

ที่มา. วิศวกรรมสถาน วสท.


 

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า โดย คุณลือชัย ทองนิล

ถาม
1. กรณีการคิด Voltage Drop โดยคิด 5% จาก Transformer Set ถึง load ค่าสุดท้ายใช่หรือไม่?
2. ในกรณีที่เราออกแบบระบบไฟฟ้า โดยใช้ Voltage ที่ทางการไฟฟ้ากำหนดในสภาออกแบบ แต่เมื่อติดตั้งจริงทางการไฟฟ้าไม่สามารถจ่าย Voltage ให้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กรณีนี้จะเป็นความรับผิดชอบของใครและจะดำเนินอย่างไร
ตอบ
ขอตอบรวมกันไปเลยว่า การคิดแรงดันตก ปกติจะคิดตั้งแต่หม้อแปลงไฟฟ้าไปจนถึงโหลดตัวที่คาดว่าจะมีแรงดันตกสูงที่สุด ซึ่งปกติจะเป็นตัวที่อยู่ไกลที่สุด ในการออกแบบที่การไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้ตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด ถือเป็นความรับผิดชอบของการไฟฟ้าที่ต้องแก้ไข ขอให้แจ้งไปที่การไฟฟ้าเพื่อทำการแก้ไข

ถาม
1. ขอมาตรฐานการ Meggerohm ฉนวน เช่น สายไฟฟ้าหรือฉนวนอื่น ๆ ค่ามาตราฐานควรจะไม่ต่ำกว่าเท่าไร?
2. ท่อ IMC ที่ฝังดิน มักจะมีการป้องกันสนิมด้วยฟิลท์โค้ตควรดูตารางกระแสของสายอย่างไร
3. การเดินสายดับเบิ้ลในกรณีที่กระแสใช้งานสูง และต้องเบิ้ลสายค่าของกระแสของสายไฟฟ้า ควรจะพิจารณาที่กี่%
4. การกำหนดขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้า หลังจากคำนวณ load ได้ควรคิดเป็นกี่%-ของหม้อแปลงไฟฟ้า
ตอบ
1. การวัดค่าความต้านทานฉนวนของสายไฟฟ้าปัจจุบันไม่มีมาตรฐานกำหนดค่าไว้ แต่ที่การไฟฟ้าเคยใช้คือไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกกะโอห์ม สำหรับระบบสายแรงต่ำ ฉนวนอื่น ๆ จะต้องดูตากมาตรฐานการทดสอบเป็นเรื่อง ๆ ไปเนื่องจากอาจมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน
2. ท่อ IMC ถึงแม้จะทากันสนิมแล้วก็ใช้ตารางเดิมครับ
3. ในการเดินสายควบไม่มีกำหนดว่าใช้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ หมายความว่ามาตรฐานยอมให้ใช้ได้ 100%
4. การกำหนดขนาดหม้อแปลงสำหรับโหลดทั่วไปมาตรฐานไม่ได้กำหนดไว้ว่าควรเผื่อไว้เท่าไร แต่ในเรื่องอาคารชุดจะเผื่อไว้ที่ 25%

ถาม
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จำเป็นต้องใช้สายทนไฟหรือไม่ ในส่วนใดบ้าง (เพราะในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ตัวตรวจจับยังคงได้รับความเสียหาย ซึ่งในกรณีนี้ชุดแสดงสัญญาณที่ตู้ควบคุม ควรที่จะแสดงได้อย่างถูกต้อง)
ตอบ
ในมาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้กำหนดให้วงจรที่ต้องใช้สายทนไฟคือ สายช่วงที่เดินในช่องเปิดแนวดิ่ง สายระหว่างแผงควบคุมกับอุปกรณ์แจ้งเหตุ และสายระหว่างแผงควบคุมกับอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้(เช่นพัดลมอัดอากาศ ลิฟต์ดับเพลิง ระบบควบคุมควัน) ส่วนอื่น ๆ ของวงจรไม่บังคับแต่จะใช้ก็ได้

ถาม
การวางสายไฟใน WIREWAY ไม่เกิน 20% 20%ในที่นี้หมายถึง มีการเปิดฝาครอบ หากไม่มีฝาครอบจะคิดที่เท่าไร หรืออย่างไร
ตอบ
มาตรฐานกำหนดให้รางเดินสายต้องปิดฝา กรณีไม่ปิดฝาจึงเป็นการติดตั้งที่ผิดมาตรฐาน

ถาม
สายไฟฟ้า มอก. 11-2531 T.4 ที่แสดงในตาราง 5-12 แสดง Ampacity ของสายที่ติดตรึงบน CABLE TRAY ชนิดต่าง ๆ อยากจะถามว่า ถ้าเราใช้สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวน XLPEติดตรึงบน CABLETRAY จะใช้สำหรับตาราง Ampacity จากตารางใด หรือคำนวณได้จากไหนมีกำหนดไว้ในวสท หรือไม่
ตอบ
มีกำหนดไว้ในมาตรฐานข้อ 5.15.6.3 ถึง 5.25.6.4

ถาม
การเดินสายด้วยที่รัดสาย จะดูขนาดกระแสจากตารางใด? ช่องไหน?
ตอบ
ตารางที่ 5-11 ช่อง ข

ถาม
1. วสท. ได้จัดทำมาตรฐานการเดินสายภายในห้องเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส หรือไม่?
2. พิกัดกระแสของสายไฟขนาดต่าง ๆ ภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศามีค่าเท่าใดและคุณสมบัติของฉนวนหรือประเภทของสายต้องใช้แบบใด
ตอบ
การเดินสายในห้องเย็นยังไม่มีมาตรฐานฯ ถ้าจะใช้คงต้องอ้างอิงมาตรฐานต่างประเทศไปก่อนเช่น NEC

ถาม
เนื่องจากกระผมเคยออกแบบงานห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งตามร้านค้าจะติดมิเตอร์ 15 A , CB ขนาด 50 A ผมเลือกใช้สายขนาด 16 mm ร้อยท่อ ซึ่งทางห้างไม่ยอม ทางห้างให้ใช้สายขนาด 25 mm ซึ่งให้เหตุผลว่าเป็นกฎของห้าง อยากทราบว่าทางกฎมาตรฐานทางไฟฟ้าว่าจริง ๆ แล้วมีกรณีพิเศษหรือมีข้อคิดอย่างไร ต้องใช้สายขนาดเท่าใดจึงถูกต้องตามมาตรฐาน?
ตอบ
สายไฟฟ้าต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ สาย THW เดินร้อยท่อโลหะเดินเกาะผนังมีขนาดกระแสเท่ากับ 56 แอมแปร์ ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาด 50 แอมแปร์ จะใช้ได้ ไม่มีข้อกำหนดพิเศษอื่น ๆ นอกจากเป็นความต้องการของเจ้าของงาน

 


 

ตอบคำถามการสัมมนามาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย  โดย คุณกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว

ถาม
จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสรั่ว สำหรับวงจรไฟฟ้าและเต้ารับภายในอาคารหรือไม่ อย่างไร
ตอบ
จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสรั่ว สำหรับวงจรไฟฟ้าและเต้ารับภายในอาคาร ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่โครงเป็นโลหะหรือเต้ารับที่อยู่ในบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสน้ำ ซึ่งเป็นมีโอกาส ที่จะเกิดกระแสรั่วได้ง่าย เช่น วงจรไฟฟ้าและเต้ารับในห้องน้ำ ห้องครัว ห้องใต้ดิน

ถาม
1) ในมาตราฐานมีข้อยกเว้น ซึ่งวิทยากรไม่ได้กล่าวถึง ไม่ทราบว่าสามารถใช้ได้หรือไม่?
2)ปัจจุบัน PEA ห้ามใช้สายPIC ภายในโรงงานที่อยู่ในนิคม หรือนอกนิคม เหตุผลคือเรื่อง PARTIAL DISCHARGE ซึ่งเหมาะสมกับโรงงานใหม่แต่ถ้าเป็นโรงงานเก่าแล้วมีการขยายระบบจำหน่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็น PIC อยู่แล้ว ห้ามต่อเป็น PIC ให้ใช้ ACSR คิดว่ากฎระเบียบนี้ถูกต้อง? ควรแก้ไข?
ตอบ
1. ข้อยกเว้นที่วิทยากรไม่ได้พูดถึง แต่อยู่ในมาตรฐานผู้นำไปใช้งานต้องปฏิบัติตามทุกข้อ
2. ปัจจุบันสาย PIC มีปัญหาในการใช้งานมาก เช่น PARTIAL DISCHARGE สายขาด ทำให้ กฟภ. เลิกจัดซื้อสายดังกล่าวมาใช้งาน ถ้าหากผู้ใช้ไฟต้องการขยายระบบจำหน่ายเพิ่มเติม สามารถเลือกใช้สายเปลือย(ACSR) หรือ เคเบิลอากาศ ได้ ไม่ผิดมาตรฐาน แต่สายเปลือยเหมาะสำหรับบริเวณที่เป็นที่โล่งแจ้ง ไม่มีต้นไม้หนาแน่น เพื่อป้องกันกิ่งไม้แตะสายไฟ ทำให้เกิดไฟฟ้าดับได้ ดังนั้นพื้นที่ที่มีต้นไม้หนาแน่นมากจึงควรเลือกใช้เคเบิลอากาศ

 


 

 ตอบคำถามการสัมมนามาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย  โดย คุณสุธี ปิ่นไพสิฐ

 เรื่องกฎกระทรวงเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร
ถาม
1) ขอข้อมูลจาก SLIDE PROJECTER ที่ PRESENT ให้เป็นเอกสารทบทวนให้อ้างอิงด้วย (จะให้เข้าไปดูใน WEB ก็ได้ช่วยระบุด้วย)
2) จะหาซื้อกฎกระทรวงเกี่ยวกับหัวข้อบรรยายนี้ได้ที่ไหน? บรรยายโดยคุณ สุธี
3) มีบทลงโทษอย่างไรกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายตรวจสอบอาคารกับเจ้าของโครงการและผู้ตรวจที่ตรวจงานเจตนาไม่ถูกต้อง
4) การตรวจอาคารรวมถึงโรงงานหรือไม่
ตอบ
1) ขอให้เป็นความเห็นของกรรมการ
2) รายละเอียดเนื้อหากฎกระทรวงติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการ ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน พญาไท กรงเทพฯ 10400 โทร 0-2299-4000 หรือที่ http://www.pwd.go.th/building
3) บทลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎตรวจสอบอาคารมีโทษตามมาตรา 65 ทวิ ของ พรบ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 คือต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังต้อง ระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
4) การตรวจสอบอาคารรวมถึงอาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 50,000 ต.ร.ม. ขึ้นไป

เรื่องการตรวจสอบอาคาร
ถาม
1) หลังจากการตรวจสอบเชื่อว่า มีอาคารเก่าที่ไม่ได้สร้างตาม มาตราฐานที่เพิ่งบังคับใช้ซึ่งจะผลการการตรวจสอบจะพบว่า ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน วิธีปฏิบัติในสนามจะเป็นไปในทาง ใด เช่น
- ย่อมใช้ในงานบางส่วนที่เห็นว่ามีวิกฤติมาก และ ให้แก้ไขเฉพาะส่วนวิกฤติ ถ้าเป็นเช่นนี้ใครจะเป็นคนตัดสินใจ
- การระงับการใช้อาคาร ซึ่งจะสร้างปัญหาความขัดแย้งมาก
- ปัญหานี้จะปรับปรุงอย่างไร
2) ในกรณีถูกจำกัดขนาดห้องไฟฟ้า ทำให้ระยะห่าง ไม่เป็นไปตามมาตราฐาน ควรทำอย่างไรให้ปลอดภัย มากที่สุด
ตอบ
1) ในกรณีการตรวจสอบอาคารบางส่วน หรือบางรายการไม่ผ่านเกณฑ์ ให้ผู้ตรวจสอบสภาพอาคารจัดทำรายการพร้อมกับมีข้อเสนอแนะแนวทาง แก้ไขหรือปรับปรุงให้ได้มาตรฐานเสนอแก่เจ้าของอาคาร และ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามใช้หรือแก้ไขอาคาร และอุปกรณ์ ตามมาตรา 46 ทวิ ของ พรบ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
2) ในการติดตั้งอุปกรณ์ที่ถูกจำกัดขนาดห้องไฟฟ้าทำให้ระยะห่างไม่เป็นไป ตามมาตรฐาน ถือได้ว่าไม่มีความปลอดภัย จะให้ปลอดภัยมากที่สุดก็ต้อง ปรับปรุงแก้ไขโดยยึดถือมาตรฐานเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำหรือทำให้ดีกว่า มาตรฐาน

เรื่องสำหรับระบบแรงสูง
ถาม
ตารางที่ 1-2 (หน้า1-20) กรณีแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดิน สูงกว่า 75,000 โวลต์ ไม่ได้กำหนดไว้ว่าความลึกต่ำสุดของ ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานกับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า ตามกรณีที่ 1-3 จึง ใคร่ขอทราบว่าถ้าแรงดันสูงกว่า 75,000 โวลต์ จะปฏิบัติ อย่างไร
ตอบ
ความลึกต่ำสุดของที่ว่างปฏิบัติงานแรงสูงที่มีแรงดันสูงกว่า 75,000 โวลต์ ให้ยึดถือตาม NATIONAL ELECTRICAL CODE ฉบับล่าสุด คือ กรณีที่ 1, 2, 3 มีความลึกไม่ต่ำกว่า 2.40 เมตร, 3.00 เมตร และ 3.60 เมตร ตามลำดับ

เรื่องระยะห่างการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
ถาม
ตามค่านิยามของระดับแรงดันนั้น แรงดันที่ว่านี้รวมถึง แรงดันกระแสสลับ (Vac) และแรงดันกระแสตรง (VDC) ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ระดับแรงดันกระแสตรงควรเป็นเท่าไรใน ในระดับ LOW VOLTAGE OR HIGH VOLTAGE
ตอบ
ตามค่านิยามของระดับแรงดันโดยทั่วไป หมายถึง แรงดันกระแสสลับ สำหรับแรงดันกระแสตรงในมาตรฐานนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง

เรื่องที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้า
ถาม
วิทยากรพูดถึงระบบแรงต่ำว่าไม่เกิน 600V แต่ในเอกสาร (1-8)ระบุไม่เกิน 1000V อยากให้ยืนยันความถูกต้องด้วย
ตอบ
ระบบแรงต่ำแรงดันไม่เกิน 600V เป็นแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบดิน สำหรับแรงดัน หน้า 1-8 ที่ระบุไม่เกิน 1000V เป็นแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟ ซึ่ง ทั้ง 2 ระดับแรงดันนี้เป็นแรงดันเดียวกัน


 

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)