MIXTURES USING CEMENT & FLY ASH
โดยคุณคุณทวีพล ตั้งศรีสำเริง
สมมติฐาน : ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีต ได้แก่ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และ ปริมาณ ซิลิกาไดออกไซด์ (SiO2) ดังนั้น การแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยขี้เถ้าจะเป็นการลดปริมาณแคลเซียมออกไซด์ (CaO) แต่เพิ่มปริมาณซิลิกาไดออกไซด์ (SiO2) ซึ่งทำให้กำลังอัดของคอนกรีต ยังมีค่าเท่าเดิม บทความโดยย่อ : คอนกรีตผสมเถ้าถ่านหิน หรือ เถ้าลอย ( Fly Ash) ได้มีการคิดค้นเพื่อลดต้นทุน การผลิตคอนกรีต โดยจัดอยู่ในวิธีพิเศษของงานคอนกรีต ซึ่งผลผลิตที่ได้จะทำให้คอนกรีตมีกำลังสูง ( High Strength Concrete : HSC) นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป เนื่องจากคอนกรีตกำลังสูงที่ผลิตขึ้นนั้นจะใช้การลดปริมาณน้ำเป็นหลัก ทำให้ค่าการยุบตัวอยู่ระหว่าง 4-6 ซ.ม. ในบางกรณีค่าการยุบตัวอาจจะมีค่าน้อยมาก หรือ ไม่มีค่าการยุบตัวเลย ดังนั้นจึงได้มีการนำเถ้าลอยมาใช้ เพื่อให้มีค่าการยุบตัวเพิ่มขึ้น และสามารถลดปริมาณปูนซีเมนต์ได้ด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่นิยมใช้ในงานหล่อชิ้นงานสำเร็จรูป เนื่องจากสามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตได้ง่าย แต่เพื่อให้การใช้เถ้าลอยได้กว้างขวางขึ้นจึงได้มีการพัฒนามาโดยตลอดจนมาตราฐาน ASTM อนุญาติให้ใช้เป็นส่วนผสมหนึ่งของคอนกรีตได้ ข้อเสียของเถ้าลอยที่สำคัญนั้น คือ การพัฒนากำลังอัดในระยะต้น ๆ นั้น จะมีค่าประมาณ 50 % ของคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าลอย สาเหตุเนื่องจากในการทำปฏิกิริยา Hydration ขาดแคลเซียมออกไซด์ ( CaO ) ที่มีอยู่มากในปูนซีเมนต์ ดังสมการข้างล่าง Hydration of Cement2 ( 3Cao.SiO2 ) + 6 H2O => 3 CaO.2 SiO2.3H2O + 3 ( CaO.H2O ) 2 ( 2Cao.SiO2 ) + 4 H2O => 3 CaO.2 SiO2.3H2O + CaO.H2O คุณสมบัติของเถ้าลอย ( FLY ASH )
Table 1 : ตารางเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 กับเถ้าลอย ( Fly Ash)
Table 2 : ชั้นคุณภาพการใช้ Fly Ash ตามมาตราฐาน ASTM
หมายเหตุ : การแบ่งชั้นคุณภาพตามมาตราฐาน ASTM ใช้ค่าความละเอียดเป็นเกณฑ์ Class F จะต้องมีอนุภาค เล็กกว่า 5 ไมครอนร้อยละ 90 Class C จะต้องมีอนุภาค เล็กกว่า 5 ไมครอนร้อยละ 93 ขึ้นไป จากตารางที่ 2 เมื่อพิจารณาดูค่าความละเอียดของอนุภาคจะเห็นได้ว่ายิ่ง Fly Ash มีค่าความละเอียดมากตามมาตราฐาน ASTM ก็อนุญาติให้ใช้ Fly Ash เพิ่มขึ้นได้ ค่าความละเอียดจะมีผลต่อการทำปฏิกิริยา , การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต และ ค่าการยุบตัวของคอนกรีต
การหาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับเถ้าลอย มีหลักการออกแบบอยู่ 2 วิธี1. การคำนวณออกแบบอัตราส่วนผสมโดยวิธีคำนวณซ้ำ ( Iterative Design Method ) 2. การคำนวณออกแบบอัตราส่วนผสมโดยวิธีแบบง่าย ( Simplified Design Method ) ทั้งสองวิธีนี้จะเป็นการคำนวณที่มีความละเอียด สามารถศึกษาการคำนวณได้จากหนังสือเรื่อง “ การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตผสมเถ้าลอย” ของ รศ.ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล การออกแบบสัดส่วนในเบื้องต้นเมื่อพิจารณาจากค่าที่ ASTM ให้มาทำให้คำนวณหาปริมาณเถ้าลอยได้โดยง่าย โดยใช้อัตราส่วนร้อยละแทนที่ปูนซีเมนต์ |
สามารถดูตัวอย่างรายการคำนวณได้ที่นี่ /tumcivil_2/e/zeno/zenobeam.htm