เข็มยาวเท่าไหร่ บ้านจึงไม่ทรุด (สำหรับดินกรุงเทพฯ) อ่าน 3,478

ดินกรุงเทพฯนั้นเป็นดินอ่อนในชั้นบนๆ และค่อยๆแน่นขึ้นตามความลึก ปัจจุบันเนื่องจากการสูบน้ำบาดาลทำให้ชั้นดินต่างๆหดตัวลง โดยเฉพาะดินชั้นบนซึ่งอ่อนและมีน้ำอยู่มากก็จะหดตัวลงมาก ทำให้ผิวดินทรุด เกิดการแตกร้าวในสิ่งก่อสร้างที่พบเห็นได้ทั่วไป
การทรุดตัวของอาคารจึงเกิดจากดินทรุดเป็นหลัก โดยเสาเข็มจะทรุดตัวไปพร้อมๆกับผิวดิน เสาเข็มที่ลึกมากขึ้นจะทรุดน้อยกว่าเข็มสั้นๆ โดยเฉพาะเสาเข็มยาวประมาณ 21 เมตรที่ปลายเข็มฝังอยู่ในชั้นทรายแน่นจะทรุดตัวน้อยกว่าผิวดินอย่างเห็นได้ชัด จนหลายคนเข้าใจว่าเข็มยาว(หมายถึงปลายอยู่ในชั้นทรายแน่น)ไม่ทรุด
ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ทีอาคารทรุดหรือไม่ เพราะหากเราใช้เข็มขนาดเท่ากันความยาวเท่ากัน (หรือความยาวปลายเข็มที่จมอยู่ในชั้นทรายเท่ากันกรณีปลายเข็มวางในชั้นทรายแน่น) ในอาคารทั้งหลัง การทรุดตัวจะใกล้เคียงกัน ไม่เกิดปัญหาอาคารร้าว โดยถ้าใช้เข็มยาวการทรุดตัวน้อยจะมีความแน่นอนมากกว่า ปัญหาการแตกร้าวของสิ่งก่อสร้างในกรุงเทพฯเกิดจากการสร้างสิ่งก่อสร้างที่วางบนฐานรากที่ใช้เข็มยาวไม่เท่ากันมาเกาะกัน ไม่ใช่เกิดจากการทรุดตัว

 

อ้างอิงจาก Stonebase

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)