เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ใช้ทำอะไร มีแบบไหนบ้าง โดยแบบเหล็กและคอนกรีต ต่างอย่างไร อ่าน 805

ว่าด้วยเรื่องเสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ใช้ทำอะไร มีแบบไหนบ้าง โดยแบบเหล็กและคอนกรีต ต่างอย่างไร และแบบไหนที่มีมาตรฐานตาม มอก.



ว่าด้วยเรื่องเสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ใช้ทำอะไร มีแบบไหนบ้าง โดยแบบเหล็กและคอนกรีต ต่างอย่างไร และแบบไหนที่มีมาตรฐานตาม มอก.

.
บ้านทรุด ตึกเอียง ต่อเติม ยกอาคาร ปรับปรุงพื้นโรงงาน พื้นโรงจอดรถ พวกนี้ส่วนใหญ่ใช้ เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile) ทั้งนั้น แต่ว่ามันแบ่งกันยังไง แบบไหนบ้างเราจะเล่าให้ฟัง

สำหรับ เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มขนาดเล็กที่คิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เสาเข็มปรกติทำไม่ได้หรือเพื่อการต่อเติม สามารถรับกำลังได้เหมือนเสาเข็มใหญ่ปรกติ โดยมีการแบ่งวิธีการทำงานเสาเข็มเป็น 2 แบบ คือระบบ Dry Process (ระบบแห้ง) และ ระบบ Wet Process (ระบบเปียก) โดย ระบบ Wet Process จะเป็นลักษณะคล้ายกับเข็มเจาะขนาดเล็ก ทำงานครั้งแรกในประเทศไทย ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ระบบ Dry Process เรียกอีกชื่อนึงว่า Segment Piles หรือเสาเข็มต่อเป็นช่วงๆ โดยจะสามารถแบ่งเนื้อวัสดุเป็น 2 แบบ คือ เหล็กและคอนกรีต โดยในตลาดเมืองไทย จะเรียกชื่อเสาเข็มแบบ ระบบ Dry Process นี้ว่า เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile)


เสาเข็มไมโครไพล์เหล็ก

สำหรับเสาเข็มเหล็ก ได้ระบุหน้าตัดไว้ 2 หน้าตัดเท่านั้น คือ

1. กลม
2. รูปตัว H

.
โดยเนื้อวัสดุที่เป็นเหล็กจะค่อนข้างราคาสูงกว่าคอนกรีต แต่มีข้อดีคือรับแรงดัดได้ดีกว่า มีความเหนียว โดยเสาเข็มไมโครไพล์เหล็ก นิยมใช้ในการเสริมโครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว หรือ ยกอาคารเก่า ดีดอาคาร จะดีกว่าเข็มไมโครไพล์คอนกรีต
.
ส่วนเสาเข็มไมโครไพล์คอนกรีตจะนิยมแพร่หลายกว่า เหมาะสำหรับในงานต่อเติมอาคาร โรงรถ ครัว และทำงานในพื้นที่แคบได้ ราคาถูกกว่าเข็มไมโครไพล์ที่เป็นเหล็ก ประมาณ 3 เท่าตัว และมีความความต้านทานในการกัดกร่อนการเกิดสนิมได้ดีกว่า ซึ่งในบทความนี้เรามาเน้นเรื่องเสาเข็มไมโครไพล์ที่เป็นคอนกรีตกัน มาดูกันเลย
.
เสาเข็มไมโครไพล์คอนกรีต

โดยเสาเข็มไมโครไพล์คอนกรีตนี้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.399-2565) เสาเข็มคอนกรีตขนาดสั้น ได้ระบุหน้าตัดไว้ 7 หน้าตัดเท่านั้น คือ

1. กลมตัน
2. กลมกลวง
3. สี่เหลี่ยมตัน
4. สี่เหลี่ยมกลวง
5. หกเหลี่ยมตัน
6. หกเหลี่ยมกลวง
7. รูปตัวไอ

.

จาก มอก. 399-2565 เสาเข็มไมโครไพล์คอนกรีต คือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดหนึ่งมี 7 หน้าตัด ทั้งแบบ 1. กลมตัน 2. กลมกลวง 3. สี่เหลี่ยมตัน 4. สี่เหลี่ยมกลวง 5. หกเหลี่ยมตัน 6. หกเหลี่ยมกลวง 7. รูปตัวไอ

แต่ที่นิยมใช้กันมากตอนนี้คือ หน้าตัดกลมตัน และ หน้าตัดกลมกลวง หรือที่เรียกว่า “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” (Spun Micropile ผลิตจากคอนกรีตแบบมีแรงเหวี่ยงในแบบหล่อ จึงแข็งแรงกว่าแบบหน้าตัดรูปตัวไอ)
.
เสาเข็มไมโครไพล์ปรกติจะมีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร (อาจจะ 1 - 1.2 เมตร ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการผลิต) ใช้ตอกต่อกันตามความยาวที่ต้องการ ถึงชั้นดินดาน ดินแข็ง โดยเชื่อมเพลทเหล็กที่หัวและท้ายของเสาเข็มเพื่อเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานต่อเติมบ้าน ต่อเติมอาคาร โรงครัว ทำที่จอดรถ หรือใช้ในการทำทำงานในพื้นที่จำกัด โดยใช้คอนกรีตอัดกำลังสูงไม่น้อยกว่า 400 KSC
.
 

โดยสรุปเสาเข็มไมโครไพล์คอนกรีตมีข้อดีอื่นๆอีกดังนี้
.
- ใช้สำหรับต่อเติมบ้านทรุด อาคารทรุด
พื้นที่ดินทั่วไปที่เราสร้างบ้านจะมีชั้นดินอ่อนอยู่ด้านบนและชั้นดินแข็งอยู่ด้านล่าง (ยกเว้นพื้นที่บริเวณใกล้ภูเขา ซึ่งดินชั้นบนเป็นดินแข็ง) เสาเข็มของบ้านปกติแล้วจะลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. จากผิวดิน ในขณะที่ส่วนต่อเติมทั่วไปมักลงเสาเข็มสั้นลึกจากผิวดินแค่ไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งอยู่ในระดับชั้นดินอ่อน จึงทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะสามารถใช้ตอกต่อกันให้ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินแข็งได้ ส่วนต่อเติมก็จะไม่ทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดจึงหมดไป
.
- ใช้ต่อเติมอาคารหรือใช้กับงานก่อสร้างใหม่ ที่ทำงานในพื้นที่แคบได้
การจะลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งในงานต่อเติมบ้าน โดยทั่วไปมี 2 ทางเลือก คือ “เสาเข็มเจาะ” กับ “เสาเข็มไมโครไพล์” ข้อจำกัดของเสาเข็มเจาะคือเครื่องมือที่ใช้มีขนาดใหญ่ พื้นที่หน้างานต้องไม่ต่ำกว่า 5x6 เมตร โดยห้ามมีสิ่งกีดขวางที่ระยะความสูง 5 เมตร และตำแหน่งเสาเข็มต้องไม่อยู่ในจุดมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วย ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์จะใช้เครื่องมือตอกที่มีขนาดเล็ก จึงตอบโจทย์งานต่อเติมบ้านในพื้นที่ขนาดเล็กอย่างบ้านในชุมชนเมือง ในซอยแคบๆ หรือหมู่บ้านจัดสรร สามารถเข้าตอกได้ในที่แคบเข้าทำงานในพื้นที่กว้าง เพียง 1.5 เมตรก็สามารถเข้าตอกได้ และยังสามารถตอกชิดกับโครงสร้างเดิม ระยะประมาณ 50 เซ็นติเมตร ได้ โดยสรุป นี่คือข้อดีและเหมาะสมกับหน้างานที่แคบหรือมีพื้นที่จำกัด ทั้งงานใหม่และงานต่อเติม
.
- ใช้เวลาน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ
การต่อเติมบ้านด้วยเสาเข็มเจาะ ใน 1 วันจะลงเสาเข็มได้ประมาณ 2 ต้น โดยแต่ละต้นจะต้องมีการขุดเจาะดิน ใส่เหล็กเสริม และเทหล่อคอนกรีต ยังไม่รวมเวลาคอนกรีตเซตตัวอีก 48 ชม. ก่อนจะตัดหัวเข็มได้ ในขณะที่เสาเข็มไมโครไพล์ จะอาศัยการตอกและเชื่อมเสาเข็มเพื่อต่อความยาวลงไปเรื่อยๆ โดยใน 1 วัน สามารถลงเข็มได้ประมาณ 3 ต้น และไม่ต้องเสียเวลารอคอนกรีตเซตตัว จึงทำงานได้รวดเร็วกว่าเสาเข็มเจาะมาก
.
- หน้างานเรียบร้อยกว่าเสาเข็มเจาะ
ในการลงเสาเข็มเจาะ จะมีดินโคลนที่ต้องขุดขึ้นมากองอยู่บนพื้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับกองแล้ว ยังเป็นภาระที่จะต้องขนเอาดินปริมาณมากไปหาที่ทิ้งอีกด้วย ส่วนการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ จะมีดินที่ไหลออกมาเป็นจำนวนน้อย หน้างานจึงไม่เลอะเทอะมาก และดูสะอาดเรียบร้อยกว่าการลงเสาเข็มเจาะ
.
- เสียงดังรบกวนน้อยกว่าเสาเข็มชนิดอื่น
การต่อเติมบ้านบริเวณพื้นที่อาศัยที่มีความหนาแน่นอย่างในเมืองนั้น ต้องระวังเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก การลงเสาเข็มไมโครไพล์จึงนับว่าตอบโจทย์ตรงนี้ด้วย เพราะเสียงรบกวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลงเสาเข็มชนิดอื่น
.
- ตอกได้ลึก 16-21 เมตร และ เช็ค Blow Count ได้ทุกต้น
เสาเข็มไมโครไพล์ เมื่อต่อกันแล้ว โดยเชื่อมเพลทเหล็กที่หัวและท้ายของเสาเข็มเพื่อเป็นเนื้อเดียวกัน โดยสามารถเปรียบเสมือนเป็นเสาเข็มแบบต้นเดียวกันที่ความยาวที่กำหนด ซึ่งเราสามารถเช็ค Blow Count ได้ทุกต้น แข็งแรงถึงชั้นดินดานดินแข็ง
.
✅ จะเห็นได้ว่า การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ (คอนกรีต) ในงานต่อเติมบ้านนั้น นอกจากจะมีข้อดีหลักๆ คือ ป้องกันปัญหาต่อเติมบ้านทรุด สามารถใช้ในพื้นที่ต่อเติมที่มีขนาดเล็กได้แล้ว ยังใช้เวลาน้อยกว่าและมีหน้างานที่เรียบร้อยกว่าเมื่อเทียบกับเสาเข็มเจาะ ทั้งยังเกิดเสียงดังรบกวนน้อยกว่าการลงเสาเข็มชนิดอื่นด้วย ถึงแม้เสาเข็มไมโครไพล์จะมีราคาสูงกว่าเสาเข็มทั่วไป แต่หากลองเทียบข้อดีแล้วก็อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าอยู่ไม่น้อยในระยะยาว
.
✅ ดาวน์โหลด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.399-2565) เสาเข็มคอนกรีตขนาดสั้น
https://engfanatic.tumcivil.com/tumcivil_1/media/Micropile/TIS399-2565p-6876.pdf
.
|||||| ------------------------------------------ ||||||
.
PP Micropile - เสาเข็มไมโครไพล์
 รับน้ำหนักได้เสมือนเสาเข็มใหญ่ปกติ
-หน้าตัดกลมตัน 20 ซม. Safeload ได้ 20-25ดัน/ต้น
-หน้าตัดกลมตัน 25 ซม. Safeload ได้ 32-35 ตัน/ต้น
-หน้าตัดกลมกลวง 30 ซม. Safeloadได้ 40-45 ตัน/ต้น
.
บริษัท พีพี ไมโครไพล์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
✅โรงงานเสาเข็มคุณภาพสูง วิศวกรรับรองทุกต้น
✅ รับผลิตเสาเข็ม แข็งแรงได้มาตรฐาน
   มอก. 399-2524 กลมตัน
   มอก. 397-2562 กลมกลวงสปัน
สนใจสอบถามได้ที่ LINE : https://lin.ee/JZ7K3bE
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.ppmicropile.com
  โทร 081- 3572199 คุณเอกรินทร์ พ่วงรับ (CEO)
.
|||||| ------------------------------------------ ||||||

........................................................

ที่มา  : บทสัมภาษณ์ คุณเอกรินทร์ พ่วงรับ CEO ppmicropile
        : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.399-2565
        : ppmicropile.com
        : ppen.co.th
        : PP Micropile - เสาเข็มไมโครไพล์
        : scghome.com
        : บทความใน TumCivil.com

 


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)