การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564 อ่าน 1,001

การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564



การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564

.
มีเพื่อนๆในเพจ ถามกันมาเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้าน
.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564
.
กำหนดให้ นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร ทั้งนี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน และค้ำยัน พ.ศ. ๒๕๖๔ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
.
- จุดคราก (yield point) หมายความว่า จุดที่หน่วยแรงดึงที่วัสดุเริ่มยืดโดยไม่ต้องเพิ่มแรงดึง ขึ้นอีก
- น้ำหนักบรรทุกใช้งาน (working load) หมายความว่า ผลรวมของน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด ที่กระทำต่อโครงสร้าง
- น้ำหนักบรรทุกคงที่ (dead load) หมายความว่า น้ำหนักของนั่งร้านที่พิจารณาน้ำหนักรวม ของอุปกรณ์ทั้งหมดของนั่งร้านร่วมด้วย
- น้ำหนักบรรทุกจร (live load) หมายความว่า น้ำหนักบรรทุกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขนาดและตำแหน่ง เช่น น้ำหนักบรรทุกของผู้ปฏิบัติงาน วัสดุ หรือรถเข็นซีเมนต์
.
หมวด ๒ - การคำนวณออกแบบ
.
ข้อ ๒๐ กรณีนายจ้างจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้คำนวณและออกแบบนั่งร้าน หรือนั่งร้านที่มาจาก ผู้ผลิต อย่างน้อยต้องมีกำลังของวัสดุเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
.
(๑) ไม้ที่ใช้สร้างนั่งร้านต้องไม่ผุ เปื่อย หรือชำรุดจนทำให้ขาดความแข็งแรงทนทาน มีหน่วยแรงดัดประลัย (ultimate bending stress) ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๔
(๒) เหล็กที่ใช้สร้างนั่งร้านต้องมีจุดคราก ไม่น้อยกว่า ๒,๔๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๒
(๓) เชือกหรือลวดสลิงต้องสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานสูงสุด ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
(๔) ฐานหรือที่รองรับนั่งร้าน ต้องแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๒ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
(๕) นั่งร้านที่สร้างด้วยเหล็กต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๒ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน กรณีสร้างด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ใช่เหล็กต้องมีเอกสารแสดงผลกำลังวัสดุประกอบด้วย
(๖) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๔ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน กรณีสร้างด้วยไม้ไผ่ต้องมีเอกสารแสดงผลกำลังวัสดุจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบ
.
ข้อ ๒๑ กรณีมีการคำนวณน้ำหนักบรรทุกใช้งานซึ่งกระทำบนโครงสร้างนั่งร้าน อย่างน้อย ต้องสามารถรับน้ำหนักซึ่งเป็นผลรวมของน้ำหนักบรรทุก ดังต่อไปนี้
.
(๑) น้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง ดังนี้
(ก) น้ำหนักบรรทุกคงที่
(ข) น้ำหนักบรรทุกจรของผู้ปฏิบัติงานและวัสดุบนแผ่นพื้นนั่งร้านสำหรับการทำงานจริง แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร
(๒) น้ำหนักบรรทุกจากสภาพแวดล้อม เช่น แรงสั่นสะเทือน แรงลม แรงดันดิน แรงดัน ของกระแสน้ำ น้ำหนักผ้าใบ แผ่นไม้ หรือสิ่งปิดกั้นอื่นที่อาจมีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของนั่งร้านด้วย เป็นต้น
.
ข้อ ๒๒ กรณีที่นายจ้างสร้างนั่งร้าน วัสดุที่ใช้สร้างต้องไม่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
.
(๑) ชำรุด ผุ เปื่อย มีรอยแตกร้าว จนอาจทำให้ขาดความแข็งแรงและปลอดภัย
(๒) วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างนั่งร้านต่างชนิดกัน
(๓) ใช้ตะปูเหล็กหล่อยึดติดโครงสร้างนั่งร้านไม้
(๔) เชือกหรือลวดสลิงสำหรับนั่งร้านแบบห้อยแขวน ต้องไม่มีลักษณะ ดังนี้
(ก) ผุ เปื่อย ถูกกัดกร่อน ชำรุด หรือเป็นสนิม
(ข) มีร่องรอยเนื่องจากถูกความร้อนหรือสารเคมีทำลาย
(ค) เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละห้าของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
(ง) กรณีลวดสลิงขมวด (kink) หรือแตกเกลียว (bird caging)
(จ) กรณีลวดสลิง เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว (lay) ขาดตั้งแต่สามเส้นขึ้นไปในเกลียว (strand) เดียวกัน หรือขาดตั้งแต่หกเส้นขึ้นไปในหลายเกลียว (strands) รวมกัน
.
ข้อ ๒๓ กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างใช้นั่งร้านสำหรับการทำงาน ต้องจัดให้มีการออกแบบนั่งร้าน อย่างน้อยประกอบไปด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้
.
(๑) พื้นนั่งร้านต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร และยึดติดให้มั่นคงแข็งแรงและ ปลอดภัย
(๒) กรณีต้องมีการใช้บันได บันไดภายในนั่งร้าน บันไดไต่ หรือที่มีทางขึ้น - ลงนั่งร้าน ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ชำรุดเสื่อมสภาพ มีสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ตามลักษณะ ดังนี้
(ก) กรณีบันไดภายในนั่งร้าน ขนาดของลูกนอนบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร และระยะห่างของขั้นบันไดต้องเท่ากันโดยห่างกันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร
(ข) กรณีบันไดไต่ ต้องมีระยะห่างของขั้นบันไดเท่ากัน โดยห่างกันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร และติดตรึงกับนั่งร้านให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
(๓) ราวกันตกมีความสูงอย่างน้อย ๙๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๑๐ เมตร และ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยราวบน ราวกลาง หรือสิ่งอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับนั่งร้านนั น ๆ และสามารถป้องกันการตกของผู้ปฏิบัติงานได้
(๔) ขอบกันวัสดุ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์ตกหล่น ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร จากพื นนั่งร้าน หรือสิ่งอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับนั่งร้านนั้น ๆ และสามารถ ป้องกันการตกหล่น
(๕) กรณีสร้างนั่งร้านสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป ต้องออกแบบและสร้างค้ำยันด้วยวิธีการ ยึดตรึงกับอาคารหรือโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อป้องกันการโย้หรือเซ
.
ข้อ ๒๔ กรณีนายจ้างติดตั้งนั่งร้านแบบห้อยแขวน ต้องไม่นำนั่งร้านไปเกาะหรือยึดติดกับ ก าแพงวัสดุก่อ ส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง หรือโครงสร้างที่มิได้กำหนดหรือออกแบบไว้
.
ข้อ ๒๕ กรณีนั่งร้านแบบห้อยแขวน ซึ่งมีด้านที่ชิดกับตัวอาคารหรือบริเวณที่ปฏิบัติงาน นายจ้างต้องดำเนินการยึดโยงกับตัวอาคารมิให้นั่งร้านกระแทกกับตัวอาคาร มีการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ ป้องกันการกระแทก หรือป้องกันการสัมผัสโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ส่วนประกอบของนั่งร้านกับส่วนของ อาคารหรือโครงสร้าง เช่น ยางนิ่ม ยางลม หรือสิ่งอื่นใดที่มีความเหมาะสม เป็นต้น
.

♨ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ประกาศได้ที่ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/293/T_0027.PDF


////////////////////////////////////////////

.......................................................

ที่มา  : kohinter.com
        : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
        : บทความ ใน tumcivil.com

/////////////////////////////////////////////////////
.
บริษัท เค.โอ.เอช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด x TumCivil.com
.
จำหน่ายนั่งร้านมายาวนานกว่า 14 ปี ทั้งคุณภาพและการบริการ
.
บริษัท เค.โอ.เอช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.
45 หมู่ 1 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี 12140
.
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานใหญ่ : เบอร์โทร 02-599-3389
Email : [email protected]
https://www.kohinter.com/
.
------------------------------


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)