เสาถ่ายลงคาน เสาวางบนคาน (Hanging Column or Floating Column) และ คานรองรับเสา หรือ Transfer Beam
เสาถ่ายลงคาน เสาวางบนคาน (Hanging Column or Floating Column) และ คานรองรับเสา หรือ Transfer Beam
สำหรับบทความนี้มีช่างก่อสร้างถามมา อยากเข้าใจการเสริมเหล็กและพฤติกรรมของมันมากขึ้น
เสาถ่ายลงคาน (Hanging Column or Floating Column)
เป็นเสาที่ถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างโดยที่ถ่ายน้ำหนักลงคานแทนที่จะเป็นฐานราก คุณสมบัติของเสาไม่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นเสาปรกติหรือเสาถ่ายลงคาน แต่สิ่งที่แตกต่างคือสิ่งที่รองรับมัน ดังนั้นสิ่งที่เสาถ่ายลงมาเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา โดยเฉพาะเสาถ่ายลงคาน ซึ่งเราจะเรียกคานที่เสาตั้งอยู่นั้นว่า คานรองรับเสา หรือ Transfer Beam
คานรองรับเสา หรือ Transfer Beam
สำหรับ คานรองรับเสา (Transfer Beam) สิ่งสำคัญมันทำหน้าที่รองรับโหลดที่ถ่ายลงมาจากเสาและถ่ายส่งต่อลงไปยังฐานราก มันจะทำหน้าหน้าที่รองรับโหลด คล้ายๆกับฐานราก
ในกรณีน้ำหนักที่ถ่ายลงมาค่อนข้างมาก ให้ยื่นเหล็กเสริมในเสาลงมาจนถึงเหล็กเสริมล่างของคาน โดยจัดให้มีเหล็กปลอกอย่างหนาแน่น เพื่อให้มีการโอบอุ้มอย่างเพียงพอที่จะส่งผ่านแรงไปยังส่วนบนของคาน ถ้าน้ำหนักบรรทุกมีขนาดใหญ่อาจใช้เหล็กรูปคอม้าหรือทำ Bent up Bar เข้ามาช่วยเสริมดังในรูป หลักการคล้ายกับการรับแรงจากเสาลงสู่ฐานราก และเหล็กปลอกในคานให้ระยะถี่ขึ้น โดยปลอกแรกที่ระยะ s/2 หรือ น้อยกว่า 5 ซม.จากผิวขอบเสา (ระยะปลอกคานปรกติ = s) ดังรูปประกอบ
ในกรณีน้ำหนักที่ถ่ายลงไม่มาก เช่น เสารับโหลดหลังคา ในส่วนเสาตั้งบนคานให้ใช้เหล็กปลอกของเสาจะต้องเข้าไปในคานโดยใช้ระยะห่างของเหล็กปลอกเท่ากันตลอด และระยะเหล็กเสาที่เข้าไปในคาน ซึ่งจะต้องงอที่ปลายดังรูปเป็นระยะ 4D (ระยะ 4 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กปลอก) ดังรูปประกอบ
โดยสรุปคือการเสริมเหล็กในคานรองรับเสา หรือ Transfer Beam ตรงบริเวณรองรับหรือจุดต่อที่เสาวางบนคาน หรือ Hanging Column วางอยู่จะต้องเน้นรายละเอียดการเสริมเหล็กตามที่ได้กล่าวไป รูปประกอบ
////////////////////////////////////////////
.......................................................
ที่มา : ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช
: Civil Engineer Deepak Kumar
: kochimetro.org
: civiltej.com
: บทความ ใน tumcivil.com