การจัดวางเหล็กคานหลักและคานรองหรือคานซอย (สำหรับวิศวกรหรือผู้รับเหมาหน้างาน) อ่าน 3,453

การจัดวางเหล็กคานหลักและคานรองหรือคานซอย (สำหรับวิศวกรหรือผู้รับเหมาหน้างาน)



การจัดวางเหล็กคานหลักและคานรองหรือคานซอย (สำหรับวิศวกรหรือผู้รับเหมาหน้างาน)

สำหรับบทความนี้เป็นบทความเบาๆ เหมาะกับ วิศวกรคุมงานหรือ ผู้รับเหมา ช่างหน้างาน ซึ่งวิศวกรหลายท่านอาจจะทราบอยู่แล้วในการออกแบบหรือก่อสร้าง แต่ว่าในการทำงานจริงหน้างาน วิศวกรคุมงาน หรือ ผู้รับเหมาบางทีละเลย หรือว่าไม่ได้สนใจในรายละเอียดตรงนี้ เรามาดูกันว่าหน้าที่ของมันเป็นอย่างไร

คานหลัก (Primary Beam or Main Beam) คือ คานที่อยู่ระหว่างเสาถึงเสา และ คานรอง (Secondary Beam) คือ เรียกว่าคานซอย คือคานที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานหลักอีกทอดหนึ่งโดยหลักการแล้วหากคานมีขนาดเท่ากัน เหล็กเสริมบนของคานรอง จะสอดอยู่ใต้เหล็กเสริมบนของคานหลัก และเหล็กเสริมล่างของคานรอง จะสอดอยู่บนเหล็กเสริมของคานหลัก การจัดวางเหล็กคานหลักและคานรองคานหลัก จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งวิศวกรควบคุมงานควรจะต้องเช็คตรงนี้ โดยการออกแบบโดยทั่วไป คานหลักจะมีขนาดใหญ่กว่า หรือเท่ากับคานรองหรือคานซอย

เมื่อเราจะขออนุมัติเทคอนกรีตคานคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว จะต้องมีวิศวกรควบคุมงานหรือหน้างานมาตรวจสอบการจัดวางเหล็กเสริม ก่อนสั่งเทคอนกรีต โดยตรวจสอบการจัดวางเหล็กเสริมคานหลักและคานรอง เพราะถ้าวิศวกรวางเหล็กไม่ถูกต้อง เวลาเทคอนกรีตไปแล้วจะมองไม่เห็นเลย เพราะอาจจะมีฝ้าหรือมองไม่เห็นเหล็กเสริมข้างในเนื่องจากคอนกรีตปิดทับ ซึ่งเวลาใช้งานไปหรือเมื่อมีโหลดมากระทำอันเนื่องจากน้ำหนักจรหรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อาจจะเกิดหน่วยแรง R แรงถีบ หรือแรงที่จะทำให้เหล็กเสริมมีการดึงถีบออกจากคานรองไปสู่คานหลัก ซึ่งอาจจะทำให้คอนกรีตแตกร้าหรือเป็นสาเหตุของการวิบัติได้ ดังนั้นตรงจุดต่อคานรองกับคานหลักจึงต้องมีความสำคัญมาก ซึ่งจะต้องดูแบบการจัดวางเหล็กตรงจุดตัดนี้ให้ดี

ซึ่งแบบรายละเอียดจุดตัดระหว่างคาน-เสา และคานหลัก-คานรอง จะแสดงรายละเอียดในการจัดวางเหล็ก เพื่อให้ผู้ทำการก่อสร้าง วิศวกรคุมงานจัดวางเหล็กตรงตามตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างชัดเจน โดยแสดงรายละเอียดทั้งรูปด้านบนและรูปตัดด้านข้าง ในกรณีของจุดตัดระหว่างคานหลักและคานรอง เหล็กเสริมในคานรองจะวางพาดบนเหล็กเสริมของคานหลักทำให้ระยะหุ้มคอนกรีตด้านบนและด้านล่างของคานรองไม่เท่ากัน นอกจากนั้นควรจัดให้มีเหล็กลูกคักหนุน (Hanger bar) ช่วยรองรับน้ำหนักจากคานรองในกรณีที่น้ำหนักบรรทุกมีมาก

การเสริมเหล็กในจุดต่อระหว่างคานหลักและคานรอง
การเสริมเหล็กในจุดต่อระหว่างคานหลักและคานรองที่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีการลดระดับเหล็กเสริมบนเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันระหว่างเหล็กเสริมในคานทั้งสองทิศทาง (Slope การลดระดับ 1 : 12) โดยจัดให้มีเหล็กเสริมยก (Hanger Reinforcement) ในคานหลัก และเหล็กปลอกที่หนาแน่นบริเวณจุดต่อดังแสดงรายละเอียดในรูปประกอบ หรือ ดูแบบมาตรฐานการเสริมเหล็กในคานรองต่อกับคานหลัก ในภาพประกอบบทความนี้


////////////////////////////////////////////

.......................................................

ที่มา  : ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช
        : ปารเมศวร์ วิศวเรืองตระกูล
        : structville.com
        : บทความ ใน tumcivil.com


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)