การขนส่งลำเลียงและการวางเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Precast Prestressed Concrete Piles) VS ตำแหน่งระยะการยก และ ระยะการวางกองเก็บของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แบบ อ่าน 1,214

การขนส่งลำเลียงและการวางเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Precast Prestressed Concrete Piles)

VS ตำแหน่งระยะการยก และ ระยะการวางกองเก็บของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แบบ 1 2 3 หรือ 4 จุด


 

 

 

 

 

 

 

 

ผศ.ดร.สรกานต์ ศรีตองอ่อน คำนวณ


การขนส่งลำเลียงและการวางเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Precast Prestressed Concrete Piles) VS ตำแหน่งระยะการยก และ ระยะการวางกองเก็บของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง แบบ 1 2 3 หรือ 4 จุด

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปร่างและหน้าตัดเหมือนกับเสาเข็มคอนกรีตธรรมดาได้เปรียบกว่าที่สามารถทำ ได้ยาวกว่า และมีพื้นที่หน้าตัดเล็กกว่า โดยสำหรับเหล็กเสริมตามยาวนั้น เป็นลวดเหล็กรับแรงดึงได้สูง ตาม มอก. 95- 2517 หรืออาจจะใช้ลวดเหล็กตาม ASTM 416-59 T หรือ JIS G 3536-1971 การดึงลวดเหล็กหรือเชือกเหล็กต้องไม่มากกว่า 0.7 f‘s (f‘s คือความเค้นดึงสูงสุดของเชือกหรือลวดเหล็ก) และหลังจากการตัดลวดเหล็ก เมื่อคอนกรีตรับความเค้นอัดได้ .45f’c แล้ว ความเค้นดึงประสิทธิผล ต้องไม่มากกว่า 0.6 f‘s (f’c คือความเค้นอัดสูงสุดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 มม. สูง 300 มม. เมื่อคอนกรีตมีอายุ 28 วัน)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงมีอยู่สองชนิดด้วยกัน คือ ชนิดดึงลวดเหล็กก่อน แล้วค่อยหล่อคอนกรีต กับชนิดหล่อคอนกรีตก่อน แล้วค่อยดึงลวดเหล็ก แต่สำ หรับในบ้านเรา นิยมทำ ชนิดดึงลวดเหล็กก่อนแล้วค่อยหล่อคอนกรีต หรือ Prestressed Concrete Pile

การอัดแรงเข้าไปในคอนกรีตก่อน โดยการดึงเหล็กให้ยืดตัวออก แล้วปล่อยให้หดเข้า ในขณะที่เหล็กหดเข้านั้น มันจะอัดคอนกรีต ทำให้คอนกรีตรับแรงอัดอยู่ก่อนใช้งาน การอัดแรงให้คอนกรีตนี้ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงโมเมนต์ดัดได้มากขึ้น นี้เป็นข้อได้เปรียบของเสาเข็มชนิดคอนกรีตอัดแรง การขนส่ง และยกตอก ต้องยกตามจุดยก ที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะผู้ผลิต ได้คำนวณออกแบบไว้แล้วถ้าผู้ใช้ไม่ปฎิบัติตาม เสาเข็มอาจเสียหายได้

 

การขนส่งลำเลียงและการวางเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

การขนส่งและลำเลียงวางในแนวราบหรือแนวเอียงต้องมีหมอนรองเสาเข็มตรงตามจุดที่ถูกต้อง เพราะเสาเข็มจะเกิดพฤติกรรมแบบคาน คือ "เกิดการแอ่นตัว" ซึ่งค่าการแอ่นตัวของเสาเข็มต้องไม่เกินค่าที่ยอมให้ (L/360) เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวในเสาเข็มคอนกรีต ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความชำรุดและอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือการนำเสาเข็มใหม่เข้ามาอีก และ เช่นกันในการขนส่งและลำเลียง ผู้ขนส่งต้องทราบถึงจุดยกที่เหมาะสม เพื่อหาระยะยกหรือตำแหน่งการยกที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย การบิ่น การแตกร้าว เนื่องจากการยกที่ผิดตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งหรือระยะการยกและการวางกองเก็บ จะเป็นดังนี้

 

ระยะการยก มี 3 แบบ
1. แบบ 1 จุด เพื่อทำการตอกโดยปั้นจั่นหน้าไซต์
2. แบบ 2 จุด เพื่อการขนส่งเคลื่อนย้าย
3. แบบ 3 จุด เพื่อการขนส่ง (กรณีเสาเข็มยาวมาก)

ระยะการวางกองเก็บ มี 3 แบบ
1.ระยะวางเสาเข็มแบบ 2 จุด ด้วยไม้หมอน
2.ระยะวางเสาเข็มแบบ 3 จุด ด้วยไม้หมอน
3.ระยะวางเสาเข็มแบบ 4 จุด ด้วยไม้หมอน (กรณีเสาเข็มยาวมาก)

ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด ที่เกิดขึ้นกับเสาเข็มทุกชนิด ณ จุดยกต่างๆ กัน เพื่อทำให้เรารู้ถึงตำแหน่งของการยก หลักกการคือเวลาเข็มกองวางอยู่จะเกิดแรงเนื่องจากตำแหน่งการวางเข็มจากตำแหน่งต่างๆ (วางแบบ 1 หรือ 2 จุด) ทำเกิดโมเมนต์สูงสุด ของ ณ จุดนั้นๆ พอเวลายกเสาเข็ม ทำให้เกิดการดัดกลับของแรง ค่าโมเมนต์เปลี่ยน จาก - เป็น + หรือ + เป็น - ได้ การยกจะต้องหาจุดตำแหน่งที่มีโมเมนต์เป็น 0 หรือ จุดดัดกลับของ โมเมนต์ M+ = M- จะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการวางหรือยกเข็ม ทำให้เข็มไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการรับแรงของมัน ทำให้เสาเข็มไม่แตกร้าว เพราะการออกแบบเข็มนั้นไม่ได้คำนึงการรับแรงด้านข้าง (ส่วน กรณีการยกหรือวางแบบ 3 - 4 จุด ยกหรือวางตำแหน่งที่ทำให้เกิด M- ทั้ง 3 หรือ 4 จุดเท่ากัน)

สรุปแนวคิด
1. เสาเข็มวางนอนอยู่ (จากการกองเก็บ) รับ DL (Dead Load) ของตัวเสาเข็มเองเป็น Uniform Load
2. วางให้ค่าโมเมนต์ M+ = M- เพราะจะทำให้เกิดแรงดีงที่ขอบเสาเข็มมีค่าเท่ากัน ซึ่งเป็นการเฉลี่ยแรงดึงไม่ให้เทไปที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป ลดการแตกร้าวเนื่องจากการแอ่นตัว ซึ่งค่าการแอ่นตัวของเสาเข็มต้องไม่เกินค่าที่ยอมให้ (L/360)

- กรณี 1 จุด หรือ 2 จุด ยกหรือวางตำแหน่งที่ทำให้เกิด M+ = M-
- กรณี 3 - 4 จุด ยกหรือวางตำแหน่งที่ทำให้เกิด M- ทั้ง 3 หรือ 4 จุดเท่ากัน

 

วันนี้เราได้ทำภาพการบรรยายแบบเข้าใจง่ายๆมาให้เพื่อนได้รับชมกันนะครับ enjoy และยังแนะนำ VDO การอธิบายถึงตำแหน่งการวาง และ การยกเสาเข็ม ว่าทำไมถึงต้องเป็นระยะเท่านี้ รวมทั้งแนะนำโปรแกรมฟรี สำหรับวิเคราะห์คาน (มองระยะความยาวเข็มเป็นแบบลักษณะแบบคาน) แบบง่ายๆ มาให้เพื่อน ได้ลองหา โมเมนต์ และ แรงเฉือนกันแบบง่ายๆให้เพื่อนๆได้ลองดูนะครับ อ่อ ขอเอาโปรแกรม + Spreadsheets ฟรี สำหรับออกแบบเสาเข็มอัดแรงมาแนะนำอีกที

 

////////////////////////////////////////////
.
VDO การอธิบาย ตำแหน่งระยะการยกของเสาเข็มอัดแรง
.
VDO ทำไมการยกเสาเข็มแบบจุดเดียว ถึงต้องยกที่ระยะ 0.29L
https://www.youtube.com/watch?v=MK13FaYTYys&list=PLtamm_dx4RRZxllEWHwkgTjBcS0r39whv&index=9
.
VDO ทำไมการยกเสาเข็มแบบ 2 จุด ถึงต้องยกที่ระยะ 0.207L
https://www.youtube.com/watch?v=7YthDfdOPmo&list=PLtamm_dx4RRZxllEWHwkgTjBcS0r39whv&index=10
.
VDO ทำไมการยกเสาเข็มแบบ 3 จุด ถึงต้องยกที่ระยะ 0.145L
https://www.youtube.com/watch?v=SRhF_gXUXCE&list=PLtamm_dx4RRZxllEWHwkgTjBcS0r39whv&index=11
.
////////////////////////////////////////////
.
โปรแกรมฟรี สำหรับวิเคราะห์คาน (มองระยะความยาวเข็มเป็นแบบลักษณะแบบคาน) แบบง่ายๆ
.
โปรแกรม BBT Beam Full (บางบัวทองบีมตัวเต็ม) วิเคราะห์คานต่อเนื่องอย่างรวดเร็วและง่าย
https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/software/536-BBT-Beam-Full-บางบัวทองบีมตัวเต็ม-วิเคราะห์คานต่อเนื่องอย่างรวดเร็วและง่าย
.
โปรแกรม CvET_Beam version 1.10 ซอฟต์แวร์วิเคราะห์คานต่อเนื่อง
https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/software/538-โปรแกรม-CvET_Beam-version-1.10-ซอฟต์แวร์วิเคราะห์คานต่อเนื่อง
.
โปรแกรม NECTECBEAM 1.2
https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/software/504-NECTECBEAM-1.2
.
โปรแกรม SUTStructor Portable 3.50
https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/software/14-SUTStructor-Portable-3.50-วิเคราะห์โครงสร้าง-2-มิติ
.
////////////////////////////////////////////
.
โปรแกรม + Spreadsheets ฟรี สำหรับออกแบบเสาเข็มอัดแรง
.
เว็บช่วยคำนวณออกแบบเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ (DRMK on Web)
https://engfanatic.tumcivil.com/DRMK/PC/PCPile/PCPile.html
.
Spreadsheets คำนวณ ออกแบบเสาเข็ม คอร. Prestress Pile Design
https://etraining.tumcivil.com/courses/free-spreadsheet/lectures/45720676
.
Spreadsheets ออกแบบ Prestressed Pile
https://etraining.tumcivil.com/courses/free-spreadsheet/lectures/45720682
.
////////////////////////////////////////////

.......................................................

ที่มา  : กรมโยธาธิการและผังเมือง
        : ผศ.ดร.สรกานต์ ศรีตองอ่อน
        : ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช
        : ปุ๊ ธรรมนูญ มงคลละ
        : ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
        : vulcanhammer.info
        : Spreadsheet + โปรแกรม ใน tumcivil.com
        : บทความ ใน tumcivil.com


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)