ลวดเหล็ก VS ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) อ่าน 6,487

ลวดเหล็ก VS ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh)

และ แนะนำโปรแกรมแปลงเหล็กเส้นเป็น เหล็กตะแกรง Wire Mesh


 


ลวดเหล็ก VS ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) และ แนะนำโปรแกรมแปลงเหล็กเส้นเป็น เหล็กตะแกรง Wire Mesh

สมัยก่อนที่ยังไม่มี ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) เราใช้ลวดผูกเหล็กเส้นกัน (ทุกวันนี้ช่างหลายที่ก็ยังใช้อยู่) และรู้ไหมว่า

เหล็กที่ใช้มาทำเป็นเหล็กตะแกรงสำหรับใช้งาน จะต้องมีลวดผูกเหล็ก หรือลวดเหล็ก โดยลวดเหล็ก คือ ลวดที่มีภาคตัวขวางเป็นรูปวงกลม ลวดเหล็กชนิดนี้ตามมาตรฐาน มอก. 95-2540 ทำจากเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนสูง (High Carbon Steel Wire) ด้วยกรรมวิธีดีงเย็น (Cold Drawn) จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทคลายแรง (Stress-Relieved) กับประเภทไม่คลายแรง (Non Stress - Relieved)

ลวดเหล็กดึงเย็นเสริมคอนกรีต (Cold Drawn Steel Wire) ตามมาตรฐาน มอก. 747- 2531 จะหมายถึงลวดเหล็กที่ทาขึ้นโดยการรีดเย็นเหล็กลวดซึ่งได้จากการรีดร้อนเหล็กแท่งที่ได้จากเตาหลอมแบบโอเพนฮาร์ท (open-hearth) หรืออิเล็คทริกอาร์คเฟอร์เนซ (electric arc furnace) หรือเบสิก ออกซิเจน (basic-oxygen) มีคุณสมบัติในการดึง ตามตาราง

ลวดผูกเหล็ก คือลวดเหล็กที่อบด้วยกรรมวิธีอบอ่อน (Annealing) ไม่เคลือบสังกะสีมีขนาดเดียวคือเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 มิลลิเมตร แล้วนามาอบด้วยเตาไฟที่มีอุณหภูมิคงที่ ที่ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ทำให้ได้ลวดผูกเหล็กที่มีความนิ่มได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับผูกเหล็กคาน หรือเหล็กเสริมคอนกรีต หรือตามจุดเชื่อมต่างๆ ลวดเหล็กชนิดนี้จะมีคุณสมบัติต้านทานต่อแรงดึงไม่น้อยกว่า 26.5 กิโลกรัมต่อ ตร.มิลลิเมตร (260 นิวตัน ต่อตร. มิลลิเมตร) สามารถทนการบิดได้ตํ่าสุด 75 รอบ ลวดชนิดนี้นิยมใช้กับงานผูกเหล็กเสริมคอนกรีต เช่น เหล็กเสริมพื้น เหล็กปลอกคาน หรือ ปลอกเสาเป็นต้น

 

ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh)

ในปัจจุบัน เนื่องจากความสะดวก และ เทคโนโลยีที่มากขึ้น ทำให้มีการทำเป็นตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) โดยใช้การเชื่อมไฟฟ้าในลวด เพื่อทำเป็นตะแกรงไวร์เมชสำหรับงานพื้นคอนกรีต พื้นจอดรถพื้นโรงงาน และ ถนน ซึ่งได้รับความนิยมมากเพราะทำให้การสะดวกรวดเร็ว ตามมาตรฐาน มอก. 737-2549 ตะแกรงไวร์เมชนี้ หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต (Wire Mesh) หมายถึง ตะแกรงลักษณะเป็นผืนหรือม้วน ทำขึ้นโดยนำลวดเหล็กดึงเย็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 4 ถึง 16 ม.ม. มาเชื่อมแบบความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance Welding) หรือ การอาร์ค ติดกันเป็นตะแกรง โดยที่ตาตะแกรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ ระยะทาบตะแกรงเป็นดังในรูปประกอบ

และเนื่องจากการเชื่อมแบบอาร์คนั้น จะทำให้จุดตัดเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ง่ายต่อการนำไปใช้งาน โดยตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) นั้นถูกผลิตมาเพื่อใช้งานได้สะดวกกว่าการวางตะแกรงเหล็กแบบเดิมที่ต้องตัดและผูกลวดด้วยมือที่ต้องใช้เวลาและคนงานมากเกินความจำเป็นนั้นเอง

ตะแกรงลวดเหล็กสำเร็จรูป หรือ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือตะแกรงเหล็กแบบเหล็กเส้นตรง และแบบเหล็กข้ออ้อย ซึ่งจะมีผิวสัมผัสมากกว่าแบบเหล็กเส้นเรียบและช่วยในการยึดเกาะกับงานคอนกรีตได้ดีกว่า โดยขนาดของแผ่นตะแกรงจะมีหน้ากว้างตั้งแต่ 2 – 3 เมตร และมีความยาว 50 เมตร

 

การคำนวณน้ำหนักตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh)

น้ำหนักของตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ก็มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย (ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น) โดยน้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) มากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด

สูตรในการคำนวณ คือ น้ำหนัก (kg.) = หน้ากว้าง x ความยาว x 0.713
.
หรือ
.
น้ำหนัก Wire Mesh (kg.) = (((D^2)/162)x200) / ระยะ@ ( kg./m^2)

เมื่อ @ = ระยะช่องตา
D = เส้นผ่าศูนย์กลางลวด (mm.)

ดังนั้น น้ำหนัก ต่อแผง = หน้ากว้าง x ความยาว x น้ำหนัก Wire Mesh (kg.)

 

ตะแกรงไวร์เมชเส้นเล็ก VS ไวร์เมชเส้นใหญ่ใช้งานต่างกันอย่างไร

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) มีหลากหลายขนาด ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้งานก่อสร้างแบบไหน และ ขนาดของตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ถูกกำหนดจาก ขนาดของลวดเหล็ก หรือ ขนาดของเหล็กเส้น เพราะ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) เกิดจากการนำลวดเหล็ก หรือ เหล็กเส้นกลมมาทำเป็นตะแกรงยิ่งใช้เหล็กเส้นกลมที่มีความหนามาก ขนาดตะแกรงไวร์เมชก็หนาเช่นกัน เช่นเดียวกับขนาดเหล็กเส้นเล็ก ตะแกรง Wire mesh ก็เล็กลงตามลำดับ

 

ขนาดของตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) กับการนำไปใช้

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10×10 ซม. – 25×25 ซม. (เส้นเล็ก หรือ เส้นมาตรฐาน) เหมาะกับงานพื้นที่รับน้ำหนักไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารหอประชุม พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25×25 ซม. หรือ 20×20 ซม. (เส้นเล็ก) ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้านที่รับน้ำหนักขึ้นมา โรงรถ ลานจอดรถ พื้นโรงงาน เป็นต้น

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ตั้งแต่ 6 มม. (เส้นใหญ่ขนาพิเศษ) สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้ ช่วยให้พื้นถนนรับน้ำหนักที่เหมาะสม ป้องกันการแตกร้าวของถนน คอนกรีตยึดเกาะกันดี

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) 9 มม. หรือ 12 มม. (เส้นใหญ่ ขนาดพิเศษ) ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักมาก หรืองานที่ต้องการรับน้ำหนักมาก เช่น โกดังที่เก็บเครื่องจักร ท่าเรือ ที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) ทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักเป็นหลัก ดั้งนั้นการเลือกใช้งานควรคำนึงถึงการรองรับน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกใช้ขนาดของลวดตะแกรง และระยะห่างที่เหมาะสม ซึ่งเรานำตารางระยะห่างของ ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) เทียบตามขนาดเหล็ก เและเมื่อเทียบกับเหล็กเส้นแบบเดิม ว่าสามารถทดแทนกันได้อย่างไร ตามรูปประกอบ

และสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเส้นแบบเดิม เป็น ตะแกรงไวร์เมช (Wire Mesh) นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้โปรแกรมช่วยแปลง ซึ่งวันนี้เรานำเสนอ โปรแกรมแปลงเส้นกลมเป็น Wire Mesh (BARMESH to WIREMESH) โดย ช่างกุ้ง โยธาภูธรคอนหวัน เป็นตัวช่วย

 

////////////////////////////////////////////

✅ โปรแกรมแปลงเส้นกลมเป็น Wire Mesh (BARMESH to WIREMESH) โดย ช่างกุ้ง โยธาภูธรคอนหวัน
https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/software/500-โปรแกรมแปลงเส้นกลมเป็น-Wire-Mesh

✅ ดาวน์โหลด ตารางเหล็กธรรมดา vs เหล็กตะแกรง Wire Mesh PDF = ดาวน์โหลดได้ที่นี่

////////////////////////////////////////////

 

|||||| ------------------------------------------ ||||||
.
บริษัท ยูโลจี กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด
เป็นโรงงานผู้ผลิต ตะแกรงสาน , ตะแกรงตัวหนอน , ตะแกรงข้าวหลามตัด ทั้งเหล็กชุบกัลวาไนซ์ และสแตนเลส โดยทางโรงงานสามารถขึ้นรูปตัวกรองทั้งแบบ ทรงกระบอก ทรงแผ่น กรอบสี่เหลี่ยม กรอบวงกลม ปั๊มขึ้นรูป และผลิตได้ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ ยังสามารถผลิตแผงรั้ว แผงรั้วสำเร็จรูป และรับทำตะแกรงกันนก กันแมลง โดย บริษัท มีเครื่องมือและอุปกรณ์ อาทิเช่น เครื่องตัดเลเซอร์ ที่สามารถตัดได้ทั้งเป็นแบบแผ่นและแบบท่อ สามารถตัดแผ่นเหล็กหนา 16 มม. และท่อขนาด 8″ มีเครื่องตัดแผ่นเหเหล็กหนา 6 มม. เครื่องพับ , เครื่องม้วน , เครื่องกลึง ,เครื่องมิลลิ่ง,เครื่องเชื่อม CO2 และอื่นๆ ทางบริษัทจึงพร้อมบริการ และรับปรึกษาในระบบตัวกรอง , งานแผงรั้ว และขึ้นรูปโลหะ
.
นอกจากนี้บริษัทยังผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง หลายชนิดและขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
https://www.eulogythai.com/
.
98/18 ม.11 แฟคตอรี่แลนด์ 2 ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 ( สำนักงานใหญ่)
โทร 089-1409138
.
|||||| ------------------------------------------ ||||||

.......................................................

ที่มา  : ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช
        : lifecivil.com
        : tsksuphan.com
        : siw.co.th
        : steelexpert.lekkla.com
        : tpkrungrueangkit.com
        : wiremesh9thai.com
        : wiremeshsmd.com
        : eulogythai.com
        : บทความใน TumCivil.com


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)