การคำนวณผนังลงบนพื้น และ น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight) อ่าน 7,399

การคำนวณผนังลงบนพื้น และ น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight)


 

 

 


การคำนวณผนังลงบนพื้น และ น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight)

หากเราจะก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐมวลเบา ผนังเบา หรือ อะไรก็แล้วแต่ ตามหลักที่เรียนมา เราจะต้องก่อบนคาน แต่ถ้าเกิดว่าเราจะต่อเติม หรือ ไม่อยากก่อบนคานหละ ก่อบนพื้นเลยโดยตรง ทำได้ไหม คำตอบคือ ทำได้ แต่ต้องมีน้ำหนักไม่มากไปกว่าน้ำหนักที่วิศวกรคำนวณที่พื้นสามารถรองรับได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้วิศวกรกำหนด โดยปรกติ จะใช้ผนังที่น้ำหนักเบา เช่น ผนังเบา แต่ในกรณี โครงสร้างที่พื้นเป็นโพสเทนชั่น พื้นไร้คาน วิศวกรอาจจะคำนวณออกแบบมาแล้วว่าผนังสามารถก่อลงบนพื้นได้ (พื้นหนาตามกำหนด) ซึ่งการคำนวณน้ำหนักผนังลงบนพื้นนี้ เราสามารถคำนวณโดยใช้หลักการ ของน้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight) การยาร่อง (Grouting) พื้นสำเร็จรูป Hollow Core

ลองนึกภาพ ในการออกแบบที่ผนังที่เราอาจจะไม่ก่อผนังบนคานโดยตรง เช่น เราอาจจะกั้นห้องเอง หรือ ก่อผนังบนพื้นไร้คาน พื้นโพส ผนังเหล่านี้ เราจะคิดน้ำหนักผนังลงพื้นได้อย่างไร นั่นก็คือหลักการของการหา น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight) อีกในหนึ่งคือ SUPERIMPOSED DEAD LOAD ได้แก่ น้ำหนักคงที่ ซึ่งเป็น น้ำหนักคงที่ใช้งาน และ ถือว่าเป็นส่วนเพิ่มเติมภายหลังการทำงานโครงสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จ เขาคำนวณเผื่อกำแพงที่อาจจะมีเพิ่มภายหลังยังไง ซึ่งเราต้องแปลงน้ำหนักที่คาดว่าจะเพิ่มเหล่านั้นมาเป็น น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight) นั่นเอง

โดย น้ำหนักผนังเทียบเท่า (Equivalent Partition Weight) คือ น้ำหนักของผนังทั้งหมด ซึ่งคือ น้ำหนักต่อเมตรของผนังคูนด้วย จำนวนผนังที่วางบนพื้น หารด้วย พื้นที่ของพื้น เช่น

จากในรูปตัวอย่าง น้ำหนักผนังสูง 3 ม. เป็นผนังอิฐมอญครึ่งแผ่น = 180 กก./ม2 จะเป็น 540 กก./ม. โดย ความยาวผนังทั้งชั้น = 134 ม. และ เราสามารถหาพื้นที่ทั้งชั้นได้ = 210 ม2

ดังนั้น น้ำหนักผนังเทียบเท่าต่อพื้นที่ = 540 x 134 / 210 = 345 กก./ม2 เป็นต้น ซึ่งเราจะได้ค่านี้เพื่อนำไปออกแบบพื้นต่อไป

หมายเหตุ - การก่อผนังบนพื้นสามารถทำได้หากปรึกษาวิศวกรออกแบบโครงสร้าง และ สำหรับบ้านอาคารปรกติต้องใช้ผนังเบา เช่น ฝาไม้, ไม้อัด, ยิปซั่ม รวมโครงคร่าว น้ำหนักต่อหน่วย ( 30-50 กก./ม2)

////////////////////////////////////////////
.
ดาวน์โหลด Spreadsheets แปลงน้ำหนักลงพื้น Equivalent Load
https://etraining.tumcivil.com/courses/free-spreadsheet/lectures/45718665
.
////////////////////////////////////////////

.......................................................

ที่มา : หนังสือการออกแบบ ค.ส.ล. ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช
       
: adheseal.com
       : tnpshoponline.com
       : บทความ ใน tumcivil.com


TumCivil.com Article and Media Section for Education

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)