Method Statement of RC. Road
โดยนายช่างมนัส จันระภู
1. การเตรียมการ
1.1 ชั้น Sub Base ถึงลูกรัง Test Field Density ความหนาแน่นอย่างน้อย 95 % Modify Standard Proetor ขุดลึกตัวอย่างละ 20 cm.
1.2 ชั้นทรายรองพื้น ใช้ทรายหยาบ หรือทรายถม
2. ขั้นตอนการทำงาน
2.1 งาน Cleaning เอาต้นไม้, รากไม้, เศษวัสดุ และส่วนที่เป็นโคลนเลนออก แล้วทำการบดอัดดินเดิม
2.2 ตรวจสอบความหนาในสนาม (Test Field Density ) โดยวิธี Sand Cone Method กำหนดประมาณ 1500 m2 ต่อจุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหน้างาน
2.3 การตั้งแบบเทคอนกรีต ปกติการเทคอนกรีต ควรเทให้เต็มความยาวของ Expansion Joint
- ตั้งแบบโดยใช้แบบไม้เนื้อแข็งให้ได้แนวและระดับ ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน + 2 mm. ทำการค้ำยันให้แข็งแรง
- ลงทรายความหนาตามแบบ ปรับระดับและบดอัดด้วยเครื่องตบดิน ( Vibroplate )
- วาง Wire Mesh, วางตำแหน่ง Dowel Bar, Tie Bar ตามแบบ
- เทคอนกรีต และปาดหน้าด้วยเหล็กกล่อง 2” x 4”
- Finishing ผิวคอนกรีตด้วยการขัดหยาบ โดยเครื่องขัดใส่ถาด
- การขูดหน้าลายด้วยลวด หรือไม้กวาด
2.4 การถอดแบบ และเทคอนกรีตครั้งต่อไป ควรให้คอนกรีตที่เทไปแล้วมีอายุอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อไม่ให้ขอบคอนกรีตบิ่นเสียหาย
2.5 การตัด joint โดยใช้ Saw Cut Machine ความลึกและความหนาตามแบบบนพื้นถนนที่เทไปแล้วแนวนอนและแนวขวาง โดยเริ่มตัด เมื่อคอนกรีตมีอายุ 3 วัน โดยเฉพาะแนว Construction Joint
2.6 หยอดยาง Asphalt เมื่อตัด Joint แล้วควรหยอด Joint โดยเร็ว หากทิ้งไว้นานจะเกิดรอยบิ่นที่ริม Joint
อ้างอิงจาก http://junrapoo.tripod.com/structure.htm