Method Statement of Flat Slab (ภาคปฏิบัติ) อ่าน 25,277

Method Statement of Flat Slab

โดยนายช่างมนัส จันระภู


ขั้นตอนงานก่อสร้างฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก (ภาคปฏิบัติ)

I งานขุดดินและตัดเสาเข็ม
1. ตรวจสอบขนาดของฐานราก และระดับตัดเข็ม Pile cut off ก่อนลงมือขุด
2. ต้องทำระดับไว้ที่เสาเข็มก่อนขุด การขุดดินให้ผนังดินห่างจากขอบฐานราก 50-100 ซม.
3. ในขณะขุดถ้ามีน้ำใต้ดิน ให้ขุดเผื่อหัวกะโหลก สำหรับสูบน้ำ ลงได้ด้วย
4. ในขณะขุดดิน ห้ามกองดินไว้ที่ขอบหลุมโดยเด็ดขาด
5. ในขณะขุดดิน ต้องระวังไม่ให้เครื่องจักรโดนหัวเสาเข็มหัก โดยคอยชี้บอกตำแหน่ง ให้ Operator ทราบด้วย
6. การให้ระดับอ้างอิงบนเสาเข็มเป็นหน้าที่ของ Survey ส่วนระดับ Pile cut off เป็นหน้าที่ของ Foreman
7. เมื่อขุดแล้วเสร็จ รีบปรับดิน บดอัด ลงทราย และเทคอนกรีตหยาบ โดยเร็ว
8. อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานตัดเข็มได้แก่ แว่นตากันสะเก็ด Ear plug ป้องกันเสียง สายพ่วงสำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนสายไฟทั้งหมดพยายามอย่าให้แช่น้ำ
9. ตรวจสอบสภาพหัวเข็ม หลังการตัดเสร็จ เมื่อพบว่าหัวเข็มบิ่น หรือแตก ให้ทำการซ่อมทันทีโดย การ Grount ตามวิธีที่เหมาะสม
10. Dowel bar ควรฝังในเข็มประมาณ 30-50 ซม เป็นอย่างน้อย

II การหาค่า Pile deviation
1. Survey วาง Center line ของ Footing
2. Foreman ทำการตรวจสอบระยะเยื้องศูนย์ ถ้าระยะหนีศูนย์มากกว่าข้อกำหนด ต้องแจ้งผู้ออกแบบ เพื่อทำการแก้ไขต่อไป

III การเข้าแบบและลงเหล็ก
โดยทั่วไป Survey จะเป็นผู้วาง Center line ของ Footing หลังจาก Foreman ผ่านขั้นตอนของ การหาค่า Pile deviation แล้ว ก็ทำการเข้าแบบและลงเหล็กได้

IV การตรวจสอบและเตรียมการ ก่อนการเทคอนกรีต
1. เหล็กของ footing ครบหรือไม่ Covering ได้ตามแบบหรือไม่
2. ตรวจสอบขนาดของแบบ กว้าง ยาว สูง ว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องได้ดิ่ง และแนวที่ถูกต้อง
3. ตรวจสอบจำนวนเหล็กเส้นของเสา ขนาดเหล็กปลอก ว่าถูกต้องหรือไม่
4. Survey ตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาอีกครั้ง ก่อนที่จะตีล็อกเหล้กเสา
5.ตรวจสอบความแข้งแรงของแบบ และค้ำยัน โดยเฉพาะมุมของแบบ
6. ทำระดับ Top of concrete ให้เรียบร้อย
7. ความสะอาด ผ่านหรือไม่
8. เตรียมและตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเทคอนกรีต
9. เตรียมและตรวจสอบ เส้นทางการลำเลียงและวิธีการเทคอนกรีต

V ระหว่างการเทคอนกรีต
เป็นหน้าที่ ที่ Site engineer หรือ Foreman ต้องคอยควบคุม คอยแนะนำ และคอยแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการเทคอนกรีต ถ้ามีการเตรียมการดี ปัญหาก็จะมีน้อยหรือไม่มีเลย
คอยควบคุม เช่น งานเทต้องได้ตามแผน
คอยแนะนำ เช่น การจี้คอนกรีต ต้องจี้อย่างสม่ำเสมอ และถูกวิธี
คอยแก้ไข เช่น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แบบแตก Engineer ต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ตามวิธีการที่เหมาะสม

VI หลังจากเทคอนกรีตเสร็จ
1. ผิวหน้าคอนกรีตที่เทเสร็จแล้ว จะต้องเช็คว่า ต้องเตรียมผิวอย่างไร เช่น footing จะต้องปั่นหยาบ เพื่อไม่ให้ผิวหน้าแตกลายงาน เป็นต้น
2. ตรวจสอบว่าระดับเท ถูกต้องหรือไม่
3. ตรวจสอบว่า ตำแหน่งเหล็กเสาคลาดเคลื่อนหรือไม่ ถ้าใช่ รีบแก้ไขด่วน
4. ทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ในการเท ทุกชนิด
5. เครื่องจักรหนัก จอดให้เรียบร้อย ห้ามจอดหน้างาน
6. เมื่อคอนกรีต set เรียบร้อย และพร้อมจะรื้อแบบข้าง ให้ Foreman คุยกับ Engineer ทุกครั้ง ก่อนรื้อแบบ เมื่อรื้อแบบเสร็จตรวจสภาพผิว ทาน้ำยาบ่มคอนกรีต และกลบดิน

ขั้นตอนงานก่อสร้างงานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

ขั้นตอนการผูกเหล็กและเข้าแบบเสา
1. หลังจากเทฐานรากหรือพื้นแล้ว survey จะเป็นผู้ให้แนวเสา โดยจะให้เป็น center Line ของเสาหรือ ให้เป็น offset ก็ได้
2. การหาตำแหน่งเสาจริง engineer/foreman ผู้รับผิชอบจะเป็นคนหา Line และตีเต๊าเอง แล้วจึงตีกรอบ ไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2" x 3 "
3. การติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกตคือ
- ถ้าเหล็กยื่นออกนอกแนวเสา ให้แจ้งนายช่างผู้รับผิดชอบทันที
- ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้ง จะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่
- ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียง จะต้องใช้สลิงดึงไว้ หรือใช ป๊อปค้ำ
- การโผล่เหล็กต่อเสา เพื่อทาบเหล็กต้องเช็คจากแบบหรือสเป็คว่าต้องต่อ เยื้องระยะทาบ 50 % หรือไม่
- เช็คขนาด จำนวน ของเหล็กยืน และระยะห่าง เหล็กปลอก ให้ตรงตามแบบ
- ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา
4. ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม shop drawing ที่ design by engineer และต้องตรวจสอบ แบบ ตามรายการดังกล่าว ก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่
- จำนวนโครงเคร่า
- ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 ซม. เทานั้น
- ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง
5. ยกแบบเสาขึ้นติดตั้ง
6. ติดตั้งโซ่ หรือสลิง ยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา
เพื่อความสะดวกในการทำงานควรใช้ สลิงขนาด 3 หุน turn buckle 5 หุน เช็คดิ่ง 1/400
7. เช็คดิ่งเสา โดยใช้ลูกดิ่ง2 ด้านๆละ2 ลูก
8. อุดรูบริเวณตีนเสา และรอยต่อแบบ

ขั้นตอนการเทเสาคอนกรีต
1. ช่วงก่อนเทคอนกรีต
- เท มอตาร์ ลงไปในเสา ประมาณ 5-10 ซม.
- หย่อนสายไวเบรเตอร์ ลงไปให้ถึงตีนเสา โดยยังไม่ติดเครื่อง ขนาดหัวไวเบรเตอร์ 1 1/2 "
2.ช่วงระหว่างเทคอนกรีต
- เช็ค slump ก่อนการเทคอนกรีตทุกครั้ง
- การเปิดเทคอนกรีตให้เปิดเทครั้งละ 1/3 ของ bucket กรณีขนาด bucket = 0.5 m3 แล้วจี้ด้วยไวเบรเตอร์ พร้อมกับใชฆ้อนยางเคาะที่ข้างแบบทุกครั้ง
- ไม่ควรสั่งคอนกรีตมากกว่า 2 คิวทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตข้น เมื่อใช้เวลาเทนาน
- พยายามเทคอนกรีตให้ได้ระดับตามที่ต้องการ เพื่อให้เสียเวลาในการแก้ไข
3. ช่วงหลังเทคอนกรีต
- เช็คดิ่งเสา หลังจากเทคอนกรีตเสร็จทันที ถ้าเสาล้ม ฬ 1/400 ต้องรีบปรับดิ่งเสาใหม่
- ทำความสะอาดเหล็กยืนเสา ขั้นต่อไปทุกครั้งก่อนเสร็จงาน

อ้างอิงจาก http://junrapoo.tripod.com/structure.htm

คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)