คุณ วิชิต ปัทมินทร์ ปัทมินทร์ ผู้เขียน RC-Thai อันโด่งดัง อ่าน 5,476

 

 บุคคลทางวิศวกรรมและก่อสร้าง

คุณ วิชิต ปัทมินทร์


ชื่อ : คุณวิชิต ปัทมินทร์ (ผู้เขียนโปรแกรม RC-Thai ,Truss และอีกหลายๆตัว)
ตำแหน่ง :
ผู้ช่วยผังเมืองจังหวัดฝ่ายวิศวกรรม จังหวัดหนองบัวลำภู
องค์กร,บริษัท : สำนักงานผังเมืองจำหวัดหนองบัวลำภู
email : [email protected] , [email protected] 
เบอร์โทร :
06-762-1790 , 01-544-2773

สัมภาษณ์ คุณวิชิต ปัทมินทร์

     ผมเริ่มรู้จัก  Computer  และใช้งานอย่างจริงจังเมื่อประมาณ ปี พ.. 2527   ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องประเภท  Pocket  PC หรือ Programable  calculator  ซึ่งใช้งานอยู่ในวงจำกัด เช่น การคำนวณหาค่าต่าง ๆ ทางด้านการสำรวจ และทางวิศวกรรม โปรแกรมแรกที่เขียนเพื่อใช้งานอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คือ โปรแกรมด้านการสำรวจจัดทำแผนที่เพื่อการวางผังเมืองรวม ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ (เป็นข้าราชการสังกัดสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น กรมการผังเมือง อย่างในปัจจุบันโดยมากส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจภาคสนาม  สำรวจเก็บข้อมูล สภาพภูมิประเทศของเมือง และงานสำรวจปรับแก้หมุดหลักฐานแผนที่ รวมทั้งเขียนแผนที่ด้วย ความยุ่งยากและซับซ้อน   จะอยู่ที่การคำนวณปรับแก้  เดิมเราจะใช้เจ้าหน้าที่ (คน)    และเครื่องคิดเลขแบบที่มี Function ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  ถ้าเมืองมีขนาดใหญ่ พื้นที่ของการวางผัง มีอาณาเขตกว้างมากครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร  จำนวนหมุด Ground Control  (หมุดบังคับแผนที่จะมีจำนวนมากตามไปด้วย รวมทั้งระยะรวม (Total Dirt) ของวงรอบ (Traverse) บางแห่งจะต้องเดินวงรอบเป็นระยะทางกว่า 100  กิโลเมตร ปัญหาที่จะตามมา คือ  การปรับแก้วงรอบเมื่อมีการเข้าบรรจบ (Closed) ซึ่งเสียเวลาไปในการดำเนินการส่วนนี้มากพอสมควร เพราะเมื่อค่าความผิดพลาด หรือค่าความละเอียดของงาน  ยังไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ทางกรมกำหนด ก็จะต้องมีการปรับแก้ หรือหาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากจุดใด (เรื่องของมุม, ระยะ, ค่าระดับ) (อ้อลืมบอกไปว่าการคำนวณหมุดโครงแผนที่จะคำนวณเป็นระบบพิกัดจาก UTM Grid ซึ่งเป็นระบบสากลซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในการบริหารจัดการด้านเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานราชการ  รวมไปถึงเงื่องไขด้านงบประมาณด้วย  จากปัญหา เงื่อนไข และข้อจำกัดดังกล่าวรวมทั้งนิสัยส่วนตัวที่ไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ (ขี้เกียจทำให้เกิดแนวความคิดว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างมาจัดการแทนคน ในส่วนนี้   จึงเป็นมูลเหตุ เบื้องต้นในการศึกษาการเขียนโปรแกรม  เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องแรกที่ใช้ในการศึกษาก็คือ  เครื่อง Sharp PC 1500 (Pocket PC , Ram 8 kb) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องครูก็ว่าได้ ภาษาที่ใช้คือ ภาษา Basic โปรแกรมนี้พัฒนาบน PC 1500  สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง  เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องหน่วยความจำไม่สามารถคำนวณงานที่มีขนาดใหญ่หรือข้อมูลจำนวนมากได้ (สามารถคำนวณปริมาณหมุดโครงแผนที่ได้เพียง 256 หมุด เท่านั้นเรื่องของปัญหาข้อมูล เรื่องของการแสดงผล ไม่สามารถพิมพ์รายงานได้จะต้องจดบันทึกจากจอภาพเอง  เมื่อผลการคำนวณออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะลดขั้นตอนการคำนวณ ลงได้อย่างมาก จากต้องทำเป็น 2 - 3  อาทิตย์จะเหลือเพียง 1 - 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดกำลังใจในความพยายามค้นคว้าและพัฒนาต่อไป ประจวบกับได้ซื้อ Computer PC เครื่องใหม่ชึ่งความสามารถมากขึ้น เป็นเครื่องที่มี CPU 8088  ความเร็ว 4.7 MHz ปัจจุบันโปรแกรมดังกล่าว (Serveying) ได้หยุดการพัฒนาแล้ว เนื่องจากมี Technology  ด้านการสำรวจด้วยดาวเทียมเข้ามาแทนที่ ทั้งโปรแกรมต่าง ๆ ด้านการสำรวจ, ระบบหาพิกัดด้วยดาวเทียม (GPS)  ทำให้การสำรวจด้านพื้นดินลดบทบาทลงประกอบกับการสำรวจจัดทำแผนที่ หรือการวางผังเมือง จะใช้ระบบการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินการ

     ในส่วนของทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับการก่อสร้างได้พัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ  ด้วยโปรแกรมภาษา Basic และพัฒนาขึ้นมาเป็นภาษาที่มีโครงสร้างมากขึ้น (MS Quick  Basic 4.5) โดยโปรแกรมส่วนใหญ่ที่เขียนจะเขียนขึ้นเพื่อใช้เอง  ทั้งการคำนวณ   และออกแบบซึ่งเป็นการพัฒนา, ค้นคว้า, ประสบการณ์  จากการใช้โปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ท่านอื่นทั้งไทยและต่างประเทศมักจะพบปัญหาข้อจำกัดและอุปสรรคมากมายในการใช้งาน  จึงได้รวบรวมข้อดีและส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือไม่สะดวกสบายในการใช้งาน  เป็นข้อมูลในการวางโครงงาน  การจัดทำโปรแกรมต่าง ๆ ใน Style ของตัวเองไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม  RC - Design  (Thai / Eng) , 2D - Plantruss , 2D - Plane Frame , โปรแกรมออกแบบ(Purlin)เป็นต้น

     ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว   การใช้โปรแกรม Computer  ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือต่างประเทศ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ แค่ไหนก็ตามการใช้งานจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้ และรู้จริงในงานนั้น ๆ และอีกประการหนึ่งโปรแกรมเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่ช่วยให้เราทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้นเท่านั้น ความถูกต้อง  ความละเอียดแม่นยำ และความรับผิดชอบต่องานนั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของวิศวกร จะเป็นผู้เลือกว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อผลที่ได้จากการ  Run โปรแกรมนั้น ๆ

     อยากเห็น ความร่วมมือของบรรดาโปรแกรมเมอร์ ที่มีความรู้ความสามารถในด้านงานวิศวกรรมหรืองานสาขาอื่น ๆ ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมในลักษณะการทำงานเป็นทีม มากกว่าการทำงานหรือพัฒนาโปรแกรมตามลำพังคนเดียว  เพราะการร่วมมือ ร่วมความคิด ร่วมกำหนดเป้าหมาย แนวทางการทำงานจะเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดพลังในการดึงเอาศักยภาพของโปรแกรมเมอร์แต่ละท่านออกมา สร้างสรรค์พัฒนาเพื่อสังคมส่วนรวมต่อไป

     การดำเนินชีวิตในภาวะเศรษฐกิจเวลานี้  เป็นเรื่องยากและค่อนข้างลำบากในการประคองตัวให้รอดพ้น จากภาวะอันเลวร้ายนี้ไปได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆและน้อง ๆวิศวกรที่ทำงานในภาคเอกชนคงประสบปัญหาหนักเอาการทีเดียว  ในส่วนของผู้ที่อยู่ในภาครัฐก็คงมีผลกระทบบ้างแต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากอย่างน้อยก็ไม่ต้องตกงาน     จะมีก็แต่รายได้พิเศษจากการทำงาน  Part time  อาจขาดหายไปบ้าง การมีสติ, ความรอบคอบ, ความไม่ประมาท, อดทน, การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่น่าจะดีและเหมาะกับสถานการณ์ที่สุด  จะทำให้ผ่านพ้นภาวะการณ์อันนี้ไปได้  ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ ท่าน ค้นหาและพบแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างที่ท่านอยากเป็น และประสบกับความสำเร็จ, ความสุข, ความเจริญทุกท่าน


ดูผลงาน โปรแกรมที่คุณวิชิตเขียนได้ที่ /tumcivil_2/software/search.php?keyword=วิชิต

ร่วมตอบปัญหาๆได้ที่ บอร์ดคุณวิชิต ปัทมินทร์

 

ผู้สัมภาษณ์ : Tumcivil.com 
สถานที่ : สำนักงานผังเมืองจำหวัดหนองบัวลำภู
วันที่สัมภาษณ์ : 22 ก.ค. 2545
คะแนน:
ร่วมแสดงความคิดเห็น (Post Comment)